“ปลาเรืองแสงจีเอ็มโอ”


[2025-07-01] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2568.. [2025-06-09] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2568.. [2025-05-14] มาตราการคุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ วางไข่ และเลี้ยงตัวอ่อน ประจำปี พ.ศ... [2025-05-02] วันจันทร์ ที่ 28 เมษายน 2568 นายสง่า คำพันธ์ ประมงจังหวัดลพบุรี รับมอ.. [2025-05-02] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน เมษายน พ.ศ.2568.. [2025-04-04] ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.. [2025-04-04] ประกาศกรมประมง.. [2025-04-02] รายงานผลการดำเนินการเพื่อส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน ปร.. [2025-04-02] ผลการวิเคราะห์มาตรการส่งเเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน พ.ศ.2.. [2025-04-01] ข่าวประชาสัมพันธ์ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2568.. อ่านทั้งหมด 

“ปลาเรืองแสงจีเอ็มโอ”  

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนภูมิภาค

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

“ปลาเรืองแสงจีเอ็มโอ” หลังกรมประมง ขีดเส้น 3 เดือนเริ่ม 1 ก.ย.-30 พ.ย.นี้ ห้ามเลี้ยง ห้ามขาย ฝ่าฝืนมีโทษทั้งจำคุก ไม่เกิน 1 - 2 ปี ปรับไม่เกิน 1 - 2 ล้านบาท

ปลาเสือเยอรมัน และปลาม้าลาย ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม (จีเอ็มโอ) จากสารเรืองแสงในแมงกะพรุน เพื่อทำให้ปลามีสีสันสวยงาม ดึงดูดผู้เลี้ยงปลาสวยงาม โดยพบมีทั้ง สีแดง ชมพู ฟ้า เขียว ม่วงอ่อน ถูกรวบรวมไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ (บางขันธ์) จ.ปทุมธานี

โดยปลาทั้ง 2 ชนิดอยู่ในบัญชีชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นประเภทที่ 10 ปลาที่ดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม ซึ่งกรมประมงเพิ่งประกาศให้ผู้ที่ครอบครองต้องนำมาคืนให้กับกรมประมงตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 30 พ.ย.นี้ ห่วงหากหลุดรอดไปในธรรมชาติจะการปนเปื้อนกับปลาพื้นเมือง

นางอรุณี รอดลอย ผู้เชี่ยวชาญด้านสัตว์น้ำและพรรณไม้น้ำสวยงาม กรมประมง กล่าวว่า หลังจากมีการนำเข้าปลาเสือเยอรมันเรืองแสง และปลาม้าลาย และปลากัดสีเขียวจีเอ็มโอ ที่เริ่มพบการเพาะเลี้ยงในไทยมากขึ้น กรมประมงเป็นห่วงเรื่องผลกระทบ เนื่องจากสัตว์จีเอ็มโอสามารถถ่ายทอดยีนไปยังรุ่นลูกได้ หากปล่อยให้มีการเพาะเลี้ยงในอนาคตอาจจะกระทบต่อระบบนิเวศ

โดยเฉพาะที่น่ากังวลคือ ปลากัด ถูกนำมาดัดแปลงพันธุกรรม กลายเป็น ปลากัดเรืองแสงสีเขียว เริ่มนำพ่อแม่พันธุ์เข้ามา ห่วงการปนเปื้อนทางพันธุกรรม เพราะไทยมีปลากัดสวยงามที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งปลากัดพื้นบ้าน พื้นเมือง เช่น ปลากัดป่า มหาชัย ปลากัดกระบี่ ปลากัดลูกทุ่งภาคอีสาน ปลากัดลูกทุ่งภาคใต้ เป็นต้น และเกิดการผสมข้ามพันธุ์ และปนเปื้อนทางพันธุกรรม อาจจะมีผลกระทบในระยะยาว

นางอรุณี กล่าวว่า หลังจากประกาศให้ผู้ที่ครอบครองปลาเรืองแสงจีเอ็มโอส่งคืนกรมประมง พบในช่วงเกือบ 1 สัปดาห์ มีผู้ทยอยนำมาส่งคืนแล้ว บางคนไม่ได้แจ้งนำมาวางไว้เฉย ๆ แอบวางไว้ตรงหน่วยงานของกรมประมง จึงอยากฝากว่า ไม่อยากให้กลัวเพราะยังอยู่ในช่วงที่ประกาศให้นำมาคืน มาส่งมอบให้กรมประมง บางคนกลัวจะมีความผิดซึ่งมีโทษค่อนข้างสูงทั้งจำทั้งปรับ

นางอรุณี กล่าวว่า หากใครมีปลาเรืองแสงจีเอ็มโออย่าไปปล่อยลงแหล่งน้ำ ซึ่งจะมีผลเสียผลกระทบมากกว่า หรือหากใครมีแค่ 1 - 2 ตัวในช่วง 3 เดือนนี้อยากเลี้ยงดูเล่นอยู่ยังทำได้ หลังจาก 3 เดือนแล้วจะทำลายก็ได้

หากเลี้ยงไว้และไม่ใช่เพื่อการค้า ไม่อยากจะมีปัญหาในเรื่องกฎหมาย ก็นำมาคืนที่กรมประมงใน 77 จังหวัด นำมาคืนแล้วแจ้งชื่อไว้เป็นหลักฐานก็ได้ว่าเรานำมาคืนแล้ว ไม่มีความผิด หรือไม่อยากแจ้งชื่อไม่ประสงค์ออกนามก็ได้ สามารถนำมาคืนได้เลยตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. เป็นต้นไปจนถึง 30 พ.ย.นี้


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา