สำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง
กรมประมง ออกมาตรการรับรองการปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจในการป้องกันการปนเปื้อน เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นสินค้าสัตว์น้ำไทย
โดยแบ่งการออกหนังรับรองฯ ให้แก่ผู้ประกอบการ 5 ประเภท ได้แก่
1.ผู้ประกอบการกระบวนการผลิต ได้แก่ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชาวประมง/เรือประมง
2.สะพานปลาท่าเทียบเรือ
3.ผู้ประกอบการร้านค้า Modern Trade
4.ผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก
โดยกรมประมงมีข้อกำหนดสำหรับการรับรองการปฏิบัติตามมาตรการเพิ่มเติมเฉพาะกิจในการป้องกันการปนเปื้อน เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่
มาตรการที่ 1 ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องปฏิบัติตามแนวทางด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของ COVID - 19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการ บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2549 (ฉบับที่ 1) ได้แก่
1) การคัดกรองบุคลากรที่ปฏิบัติงาน
- ตรวจวัดอุณหภูมิไม่ให้เกิน 37 °C
- ตรวจดูอาการเบื้องต้น เช่น มีน้ำมูก จาม ไอ เป็นต้น
2) การปฏิบัติ
- สวมหน้ากากอนามัยชนิด Surgical Maskิ
- ล้างมือให้สะอาด
- ทำความสะอาดอุปกรณ์/ภาชนะที่ใช้ ที่มีการสัมผัสกับสัตว์น้ำ เช่น ถุงมือ เสื้อคลุม กระป๋อง กะละมัง เป็นต้น
- สวมถุงมือและหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
มาตรการที่ 2 ผู้ประกอบการและเกษตรกรต้องปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดเพิ่มเติมโดยกรมประมง เพื่อลดการปนเปื้อนไวรัส COVID - 19 ดังนี้
2.1 ผู้ประกอบการกระบวนการผลิต
2.1.1 เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ฟาร์มต้องขึ้นทะเบียน และได้มาตรฐานจากกรมประมง
- ปฏิบัติตามมาตรการคัดกรอง และการปฏิบัติงาน
- ล้างทำความสะอาดยานพาหนะที่ใช้บรรทุกสัตว์น้ำ ทั้งภายในและภายนอกห้องบรรจุสัตว์น้ำด้วยคลอรีน ขณะเข้าและออกจากฟาร์ม
- ผู้ขับขี่ยานพาหนะบรรทุกสัตว์น้ำ ต้องตรวจคัดกรองและสวมหน้ากากตลอดเวลาเช่นเดียวกับบุคลากรในฟาร์ม
2.1.2 ชาวประมง/เรือประมง
- คนประจำเรือทุกคนต้องผ่านการคัดกรองจากศูนย์แจ้งเข้า-ออก เรือประมงตามมาตรการของกรมประมง
- หมั่นทำความสะอาดส่วนที่สัมผัสกับสัตว์น้ำอยู่เสมอ
- สวมถุงมือและสวมหน้ากากตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน ทั้งการคัดเลือกสัตว์น้ำ และการขนถ่าย สัตว์น้ำขึ้นฝั่ง
- ห้ามออกนอกสะพานปลา ท่าเทียบเรือ ขณะขนถ่ายสัตว์น้ำที่ท่าเทียบเรือหรือสะพานปลา
2.2 ผู้ประกอบการสะพานปลา
- ปฏิบัติตามมาตรฐานสุขอนามัยท่าเทียบเรือ สะพานปลา
- คัดกรองบุคลากรที่ทำงานในพื้นที่ทุกราย เป็นประจำทุกวัน
- ทำความสะอาดสถานที่ด้วยคลอรีนทุกวัน
- พาหนะบรรทุกสัตว์น้ำที่เข้า-ออก ต้องลงทะเบียน และฉีดพ่นด้วยคลอรีน โดยต้องทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอกห้องบรรจุสัตว์น้ำ ก่อนการบรรจุสินค้าสัตว์น้ำ ต้องปิดประตูหรือคลุมด้วยผ้าใบให้มิดชิด
- บุคลากรที่สัมผัสกับสัตว์น้ำต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสวมถุงมือ และต้องใส่หน้ากากอนามัยชนิด Surgical Mask ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
2.3 ผู้ประกอบการร้านค้า Modern Trade
- ปฏิบัติตามข้อกำหนดร้านค้าของสาธารณสุข
- ทำความสะอาดพาหนะที่ขนส่งสินค้า ณ จุดจอด ก่อนมีการขนถ่ายเข้าสู่สถานประกอบการ ด้วยคลอรีน
- แยกสัตว์น้ำแต่ละประเภท ล้างทำความสะอาด และบรรจุในถุงพลาสติกก่อนวางบนน้ำแข็ง เพื่อลดการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์น้ำ
- เตรียมถุงมือหรืออุปกรณ์จับสัตว์น้ำในระหว่างการจำหน่าย
- สุ่มตรวจการปนเปื้อนของไวรัส COVID - 19 เป็นระยะตามความเหมาะสม
2.4 ผู้ประกอบการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อการส่งออก
- ต้องตามมาตรฐาน GMP และ HACCP
- ผ่านการประเมินมาตรการปฏิบัติที่ดีตามมาตรการป้องกัน COVID - 19 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขและกรมประมงร่วมกันกำหนดภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน (MoU) ลงนามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2563
** สำหรับเกษตรกร และผู้ประกอบการที่มีความประสงค์ ขอหนังสือรับรองฯ สามารถยื่นคำขอได้ที่สำนักงานประมงจังหวัดทั่วประเทศ