สำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี
จากข้อมูลการพยากรณ์สภาพอากาศ ๗ วันข้างหน้า ของกรมอุตุวิทยา ระหว่างวันที่ ๔ - ๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ ของภาคตะวันออก ในช่วง ๔ - ๖ กันยายน ๒๕๖๑ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ ๖๐-๗๐ ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วง ๗ - ๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ ๗๐ - ๘๐ ของพื้นที่ กับมีพายุฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว ๑๕ - ๑๖ กิโลเมตร/ชั่วโมง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ ๑ เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง ๑ - ๒ เมตร อุณฆภูมิต่ำสุด ๒๒ - ๒๗ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด ๓๐ - ๓๔ องศาเซลเซียส
ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ ๗ - ๑๐ กันยายน ๒๕๖๑ ขอให้เกษตรกรชาวประมง ติดตามข้อมูลข่าวสาร ระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนตกที่สะสมต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และโคลนถล่น บริเวณเขตพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝน ตามบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนี้
๑.ให้เกษตรกรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากทางราชการอย่างใกล้ชิด
๒.ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ให้มีปริมาณพอเหมาะหรือมีปริมาณ ๒ ใน ๓ ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
๓.จัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้ร่องระบายน้ำตื่นเขินออกเพื่อให้น้ำไหลเข้าออกได้อย่างสะดวก
๔.จัดเตรียมเครื่องเพิ่มออกซิเจนไว้ให้พร้อม เพื่อใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือสัตว์น้ำในบ่อกรณีปริมาณน้ำจากภายนอกไหลเข้าบ่ออย่างสะดวก
๕.เลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับฤดูกาลเพื่อจะได้ขึ้น ใช้ประโยชน์ก่อนการเกิดอุทกภัย
๖.เตรียมทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดมาจำหน่าย หรือปริโภคเพื่อลดปริมาณสัตว์น้ำในบ่อให้น้อยลง
๗.ปรับปรุงคันบ่อและเสริมคันบอให้สูงพอกับปริมาณที่เคยท่วมในปีที่ผ่านๆมา
๘.จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อวน เครื่องสูบน้ำ เครื่องเพิ่มออกซิเจน ยาปฏิชีวนะ สารเคมีไว้ให้พร้อม
๙.จัดเตรียมปูนขาวไว้สำหรับพื้นที่ดินกรด ดินเปรี้ยว เพื่อปรับสภาพน้ำในบ่อหลังน้ำท่วมประมาณ ๕๐ – ๖๐ กิโลกรัมต่อไร่
๑๐.วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และฤดูฝน เพื่อให้สามารถจับได้ก่อนฤดูน้ำหลาก
๑๑. เมื่อเกิดภัยพิบัติให้แจ้งประมงอำเภอในพื้นที่ ประมงจังหวัดชลบุรี หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชลบุรี
สำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงฟาร์มจระเข้ ให้ถือปฏิบัติดังนี้
๑.ระมัดระวังสอดส่องดูแลบ่อเลี้ยงให้มีสภาพแข็งแรง และสามรถป้องกันจระเข้หลุดรอดได้
๒.ให้ติดตามสถานการณ์ภาวะฝนตกหนักตอลดเวลา เพื่อป้องกันเหตุน้ำท่วมขังในฟาร์มและระมัดระวังให้เป็นการล่วงหน้า
๓. อย่างเปิดบ่อ หรือคอกจระเข้ ทิ้งไว้ โดยไม่มีผู้ดูแลเป็นอันขาด
๔. จัดบุคลากร คนงานดูแลเฝ้าระวังช่วงฤดูฝนตกหนัก และในการภาวะเกิดความเสี่ยงตอลดเวลา
๕. กรณีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน มีแนวโน้มที่น้ำจะท่วมบ่อหรือในบริเวณใกล้เคียง ขอให้ประสานสำนักงานประมงอำเภอในพื้นที่ หรือสำนักงานประมงจังหวัด เพื่อจัดเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือต่อไป
๖. กรณีเมื่อมีเหตุจระเข้หลุดออกจากฟาร์ม ขอให้รีบนายงานสำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี ทราบโดยด่วน ที่โทรศัพท์หมายเลข ๐๓๘ – ๓๙๘๐๔๙ หรือ โทรสาร ๐๓๘ – ๓๙๘๐๕๐
ส่วนเกษตรกรชาวประมงที่เลี้ยงหอยบริเวณชายฝั่ง ขอให้เร่งทยอยจับหอยที่ได้ขนาดออกจำหน่าย เพื่อลดผลกระทบหากเกิดภาวะน้ำทะเลเปลี่ยนสี แพลงก์ตอนตาย ปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำ ทำให้สภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำอย่างเฉียบพลัน