เผยเเพร่: 2017-11-14 | อ่าน: 1,468 ครั้ง
ความเป็นมา การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
พ.ศ.2495 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 โดยการบริหารราชการส่วนภูมิภาค (Provincial Administration) เป็นการบริหารราชการแผ่นดินตามหลักการแบ่งอำนาจ (Deconcentration) ราชการบริหารส่วนกลางจะมอบอำนาจหน้าที่ในกิจการบางอย่างไปให้แก่ราชการบริหารส่วนภูมิภาคไปปฏิบัติจัดทำ มีอำนาจตัดสินใจในขอบเขตที่จำกัดบางอย่างตามที่ราชการบริหารส่วนกลางจะได้มอบไว้ให้หน่วยงานที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เป็นกลไกสำคัญทางการเมืองในการแปลงนโยบายการเมืองสู่การปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 51 ได้บัญญัติให้การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคมีสองรูปแบบคือ จังหวัด และอำเภอ
หน้าที่ความรับผิดชอบในราชการบริหารส่วนภูมิภาค
(1) สํานักงานประมงจังหวัด
(2) สํานักงานประมงอําเภอ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด
ที่มา: กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2557 หน้า 38 และหน้า 39
ข้อ 23 สํานักงานประมงจังหวัด มีอํานาจหน้าที่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินเทคโนโลยีด้านการประมงทุกสาขา เพื่อสนับสนุน ให้เกิดธุรกิจและอาชีพการประมงที่เหมาะสม
และกํากับดูแลให้การประกอบธุรกิจและการประกอบอาชีพ การประมงเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) ดําเนินการเกี่ยวกับการควบคุมและกํากับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําและการทําการประมง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ความรู้และถ่ายทอด เทคโนโลยีอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
(3) จัดทําแผนพัฒนาด้านการประมงและฐานข้อมูลด้านการประมง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่งานด้านการประมง
(4) ให้คําปรึกษา แนะนํา และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดําเนินการพัฒนา ด้านการประมง
(5) ให้บริการวิชาการด้านการประมงแก่ผู้ประกอบการ ชาวประมง เกษตรกร และประชาชน รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการผลิต
ให้ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐาน
(6) เร่งรัดและจัดเก็บเงินอากรและค่าธรรมเนียมการประมง
(7) กํากับ ดูแล ให้คําปรึกษา และสนับสนุนการปฏิบัติงานของสํานักงานประมงอําเภอ
(8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมาย
ข้อ 24 สํานักงานประมงอําเภอ มีอํานาจหน้าที่ในพื้นที่ที่รับผิดชอบดังต่อไปนี้
(1) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดธุรกิจและอาชีพการประมงที่เหมาะสม และกํากับดูแล ให้การประกอบธุรกิจและการประกอบ
อาชีพการประมงเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง และ มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
(2) ดําเนินการเกี่ยวกับการควบคุมและกํากับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําและการทําการประมง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย
การประมงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการให้ความรู้และถ่ายทอด เทคโนโลยีการประมงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
และให้บริการทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
(3) จัดทําแผนพัฒนาด้านการประมงและฐานข้อมูลด้านการประมง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่งานด้านการประมง
(4) ให้คําปรึกษา แนะนํา และสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดําเนินการพัฒนา ด้านการประมง
(5) ให้บริการวิชาการด้านการประมงแก่ผู้ประกอบการ ชาวประมง เกษตรกรและประชาชน รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการผลิต
ให้ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐาน
(6) เร่งรัดและจัดเก็บเงินอากรและค่าธรรมเนียมการประมง
(7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับ มอบหมาย
แบ่งออกเป็น 9 อำเภอ ดังนี้
1. อำเภอเมืองหนองคาย 2. อำเภอโพนพิสัย 3. อำเภอท่าบ่อ 4. อำเภอรัตนวาปี
5. อำเภอศรีเชียงใหม่ 6. อำเภอเฝ้าไร่ 7. อำเภอโพธิ์ตาก 8. อำเภอสระใคร
9. อำเภอสังคม