เผยเเพร่: 2021-01-11 | อ่าน: 68 ครั้ง
สัตว์น้ำประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อสัตว์น้ำ ปลาเทโพ ชื่อสามัญ Black ear catfish
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pangasius larnaudii (Bocourt,1866)
ชื่อท้องถิ่น ปลาปึ่ง (ภาคอีสานตอนล่างแถบแม่น้ำโขง - แม่น้ำมูล)
ปลาหูหมาด (ภาษาอีสานตอนบนแถบแม่น้ำโขง)
เตาะ (ภาคเหนือแถบแม่น้ำโขง - ยม)
ประวัติความเป็นมา ปลาเทโพเป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวาย หน้าสั่นทู่กว่า
ปลาสวาย ลำตัวยาว และด้านข้างแบน ตากลมโต และอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็ก และสั้นอยู่ที่ริมฝีปากบน และมุมปากแห่งละ 1 คู่
กระโดงสันหลังสูง และมีก้านครีบเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลาเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน ปลาครีบหลัง ครีบท้อง ครีบอกและครีบก้นยื่นเป็นเส้นยาวเรียว ครีบก้นมีแถบสีคล้ำทั้งตอนบนและตอนล่าง ลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดแตกต่างจากปลาในสกุลปลาสวายชนิดอื่นๆ คือ มีจุดสีดำขนาดใหญ่บริเวณเหนือครีบหู โดยทั่วไปขนาดที่พบเห็นตามปกติประมาณ 50 เซนติเมตร แต่สามารถพบขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวถึง 1.50 เมตร ในอดีตพบมากในแม่น้ำโขง - แม่น้ำมูลอีกทั้งประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีได้นำปลาเทโพมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร “เค็มบักนัด” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสืบมาจนถึงปัจจุบัน และได้รับการประกาศให้เป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดอุบลราชานี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558