ประวัติหน่วยงาน 

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook

ประวัติศูนย์

           สืบเนื่องจากความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นในทะเลอ่าวไทยตอนล่าง และได้ทวีความรุนแรงขึ้นกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น โดยมีชื่อเรียกว่า “เกย์” มีจุดศูนย์กลางของพายุอยู่ห่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 200 กิโลเมตร พายุดังกล่าวมีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อน โดยจุดศูนย์กลางยังอยู่ห่างจากจังหวัดชุมพรมาก ต่อมาพายุนี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ก่อให้เกิดลมพัดอย่างรุนแรงและฝนตกหนักมาก ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.30-15.30 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในท้องที่ อ.ปะทิว อ.ท่าแซะ อ.เมืองชุมพร และ อ.สวี บางส่วน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เรือประมง และหมู่บ้านชาวประมงเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุเกย์ โดยกำหนดแผนการช่วยเหลือออกเป็น 3 ระยะ คือ
           1. แผนการช่วยเหลือระยะสั้น เช่น การช่วยเหลือพันธุ์สัตว์น้ำ อาหาร และอุปกรณ์การเพาะเลี้ยง การช่วยค้นหาเรือประมง และลูกเรือที่สูญหาย และการจัดหาและฝึกอบรมลูกเรือประมง                     
           2. แผนการช่วยเหลือระยะปานกลาง เช่น การปล่อยปลาเพื่อฟื้นฟูสภาวะการประมง การจัดตั้งฟาร์มทะเล การสร้างแนวปะการังเทียม ปรับปรุงสถานีวิทยุชายฝั่ง จัดหาเรือตรวจการประมงขนาดเล็ก
           3. แผนการช่วยเหลือระยะยาว เช่น เสนอให้มี พรบ.แรงงานประมง, จัดตั้งศูนย์ควบคุมปฏิบัติการประมงทะเล  และจัดตั้งสถานีประมงน้ำจืด
          ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร เดิมชื่อสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชุมพร เป็นส่วนบริหารราชการส่วนกลาง สังกัดศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี กองประมงน้ำจืด กรมประมง ตั้งอยู่ที่  12/35 บ้านทุ่งหงษ์ หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งคา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชุมพร ประมาณ 21 กิโลเมตร ทำการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 และเปิดทำการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2537 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง  24,398,305 บาท มีเนื้อที่ประมาณ 189 ไร่ 2 งาน มีบ่อดิน 27 บ่อ และบ่อซีเมนต์ 40 บ่อ ต่อมาเมื่อวันที่ 8  ธันวาคม  2545 มีการปรับโครงสร้างของกรมประมงใหม่  ตามการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล โดยได้ย้าย ‘หน่วยพันธุกรรมสัตว์น้ำสุราษฎร์ธานี’ มาตั้งที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชุมพร แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ‘ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำชุมพร’ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๕  ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร’ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน

ประวัติศูนย์

           สืบเนื่องจากความกดอากาศต่ำที่ก่อตัวขึ้นในทะเลอ่าวไทยตอนล่าง และได้ทวีความรุนแรงขึ้นกลายเป็นพายุดีเปรสชั่น โดยมีชื่อเรียกว่า “เกย์” มีจุดศูนย์กลางของพายุอยู่ห่างจากจังหวัดนครศรีธรรมราช ประมาณ 200 กิโลเมตร พายุดังกล่าวมีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อน โดยจุดศูนย์กลางยังอยู่ห่างจากจังหวัดชุมพรมาก ต่อมาพายุนี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไต้ฝุ่น ก่อให้เกิดลมพัดอย่างรุนแรงและฝนตกหนักมาก ตั้งแต่เวลาประมาณ 08.30-15.30 น. ของวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในท้องที่ อ.ปะทิว อ.ท่าแซะ อ.เมืองชุมพร และ อ.สวี บางส่วน ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เรือประมง และหมู่บ้านชาวประมงเป็นอย่างมาก รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุเกย์ โดยกำหนดแผนการช่วยเหลือออกเป็น 3 ระยะ คือ
           1. แผนการช่วยเหลือระยะสั้น เช่น การช่วยเหลือพันธุ์สัตว์น้ำ อาหาร และอุปกรณ์การเพาะเลี้ยง การช่วยค้นหาเรือประมง และลูกเรือที่สูญหาย และการจัดหาและฝึกอบรมลูกเรือประมง                     
           2. แผนการช่วยเหลือระยะปานกลาง เช่น การปล่อยปลาเพื่อฟื้นฟูสภาวะการประมง การจัดตั้งฟาร์มทะเล การสร้างแนวปะการังเทียม ปรับปรุงสถานีวิทยุชายฝั่ง จัดหาเรือตรวจการประมงขนาดเล็ก
           3. แผนการช่วยเหลือระยะยาว เช่น เสนอให้มี พรบ.แรงงานประมง, จัดตั้งศูนย์ควบคุมปฏิบัติการประมงทะเล  และจัดตั้งสถานีประมงน้ำจืด
          ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร เดิมชื่อสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชุมพร เป็นส่วนบริหารราชการส่วนกลาง สังกัดศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืดสุราษฎร์ธานี กองประมงน้ำจืด กรมประมง ตั้งอยู่ที่  12/35 บ้านทุ่งหงษ์ หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งคา อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดชุมพร ประมาณ 21 กิโลเมตร ทำการก่อสร้างเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2535 และเปิดทำการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2537 ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง  24,398,305 บาท มีเนื้อที่ประมาณ 189 ไร่ 2 งาน มีบ่อดิน 27 บ่อ และบ่อซีเมนต์ 40 บ่อ ต่อมาเมื่อวันที่ 8  ธันวาคม  2545 มีการปรับโครงสร้างของกรมประมงใหม่  ตามการปฏิรูประบบราชการของรัฐบาล โดยได้ย้าย ‘หน่วยพันธุกรรมสัตว์น้ำสุราษฎร์ธานี’ มาตั้งที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชุมพร แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ‘ศูนย์วิจัยและทดสอบพันธุ์สัตว์น้ำชุมพร’ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำ กรมประมง เมื่อวันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๕  ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น ‘ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร’ เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔ จนถึงปัจจุบัน