เผยเเพร่: 2020-04-21 | อ่าน: 255 ครั้ง
หลักการและเหตุผล
สัตว์น้ำต่างถิ่นคือชนิดพันธุ์ที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ดั้งเดิม (native) หรือมีต้นกำเนิดอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ เป็นชนิดพันธุ์ที่ถูกนำเข้ามาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่น อาจแพร่กระจายลงแหล่งน้ำธรรมชาติด้วยความตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ ซึ่งในปัจจุบันมีการพบสัตว์น้ำต่างถิ่น (สัตว์น้ำจากต่างประเทศ) ในแหล่งน้ำธรรมชาติชองไทย หลายชนิด แต่ยังขาดข้อมูลทางวิชาการในการเฝ้าระวังและศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากสัตว์น้ำต่างถิ่น ปี 2561 กลุ่มวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพสัตว์น้ำจืด กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ดำเนินการกิจกรรม เฝ้าระวังสัตว์น้ำต่างถิ่น เพื่อป้องกัน ควบคุม การแพร่ระบาดของสัตว์น้ำต่างถิ่นที่ส่งผลต่อสัตว์น้ำพื้นเมืองและ ระบบนิเวศในแหล่งน้ำของประเทศไทย โดยการสำรวจการแพร่กระจายของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่งน้ำ การประเมินการคุกคามของสัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกราน และการจัดทำฐานข้อมูลสัตว์น้ำต่างถิ่นที่พบในแหล่งน้ำนำร่อง
วัตถุประสงค์ของโครงการ
๑. เพื่อทราบชนิดสัตว์น้ำต่างถิ่นที่พบในแหล่งน้ำนำร่อง จำนวน 25 แหล่ง
๒. เพื่อประเมินการคุกคามของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่งน้ำนำร่อง
๓. เพื่อติดตามการแพร่กระจายของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทย 4. จัดทำรายการชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่พบในประเทศไทย
การดำเนินงาน
๑. การติดตามการแพร่กระจายของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อวางมาตรการใน การควบคุม ป้องกัน และกำจัด
๑.๑ รวบรวมข้อมูลชนิด ปริมาณ ร้อยละสัดส่วนที่พบและขนาดของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่ง น้ำจากฐานข้อมูลโครงการการติดตามประเมินสถานภาพทรัพยากรสัตว์น้ำในแม่น้ำและแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ของประเทศไทย
๑.๒ สำรวจการแพร่กระจายของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่งน้ำ ตามที่ได้รับแจ้งพบการแพร่ ระบาด
๑.๓ ควบคุม กำจัด สัตว์น้ำต่างถิ่นที่มีการแพร่ระบาดมากในแหล่งน้ำ โดยร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานในพื้นที่
๒. การประเมินการคุกคามของสัตว์น้ำต่างถิ่นในแหล่งน้ำนำร่อง ดำเนินการประเมินการคุกคามของ ปลาหมอสีคางดำในแหล่งน้ำพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรสงคราม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และระยอง ดังนี้
๓. การจัดทำรายชื่อชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นและฐานข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่พบในประเทศ ไทย ดำเนินการโดยรวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และการดำเนินการในข้อ 1 และ 2 มาวิเคราะห์ สรุป และรวบรวมเพื่อใช้จัดทำฐานข้อมูล
๔. การประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักรู้ให้กับชุมชนในการเฝ้าระวังสัตว์น้ำต่างถิ่น