การมีส่วนร่วมของกรมประมงภายใต้กรอบความร่วมมือเอเปค


[2025-04-09] การขอนำชาวต่างประเทศศึกษาดูงานด้านประมงในสาขาต่าง ๆ ที่กรมประมงมีความเชี่ยวชาญ [2025-04-09] ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเข้าเยี่ยมคารวะของชาวต่างประเทศ [2023-02-16] Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 (A.D.2015) And Royal Ordinance on Fisheries (No.2) B.E. 2560 (A.D.2017) [2023-02-01] แผนดำเนินงานระยะ 5 ปี ค.ศ. 2022 – 2026 ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนิเซีย - มาเลเซีย - ไทย [2022-09-16] ข้อควรรู้: ไปราชการต่างประเทศชั่วคราว กรณีไม่มีแผนการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว [2022-03-16] การมีส่วนร่วมของกรมประมงภายใต้กรอบความร่วมมือเอเปค [2021-10-07] ข้อควรรู้เกี่ยวกับการขอรับการตรวจลงตรา (VISA) ของประเทศหรือดินแดนที่ผู้ถือหนังสือเดินทางราชการไทยไม่ได้รับยกเว้นการขอรับการตรวจลงตรา (VISA) [2021-10-07] การขอรับการตรวจลงตราวีซ่าออสเตรเลีย [2021-06-10] การขอรับการตรวจลงตราวีซ่าอเมริกา [2021-03-09] เตรียมพร้อมก่อนเดินทางไปต่างประเทศ คำแนะนำสำหรับมือใหม่หัดบิน อ่านทั้งหมด 

การมีส่วนร่วมของกรมประมงภายใต้กรอบความร่วมมือเอเปค 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

การมีส่วนร่วมของกรมประมงภายใต้กรอบความร่วมมือเอเปค

กรมประมงดำเนินงานภายใต้คณะทำงานด้านมหาสมุทรและการประมง (Ocean and Fisheries Working Group: OFWG) เอเปค ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย ทช. เป็นหน่วยงานหลักในฐานะผู้ประสานงานประเทศ (National Focal Point: NFP) การดำเนินงานภายใต้คณะทำงาน OFWG รับนโยบายการทำงานผ่านคณะกรรมการด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (SOM Steering Committee on ECOTECH: SCE) มีภารกิจเข้าประชุมประจำปีของคณะทำงาน พิจารณาให้ความเห็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและนิเวศวิทยาทางทะเล การทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่เกี่ยวข้องกับไทย รวมถึงการให้ความร่วมมือทางวิชาการโดยจัดทำโครงการความร่วมมือด้านประมงเพื่อขอทุนและการสนับสนุนจากเอเปค รวมถึงการสนับสนุนในหลักการของโครงการ (co-sponsor) ที่สมาชิกเอเปคขอการสนับสนุนจากเอเปค

โครงสร้างคณะทำงาน OFWG ประกอบด้วย

1) ประธานคณะทำงาน (Lead shepherd) ทำหน้าที่เป็นประธานคณะทำงานและประธานในที่ประชุมซึ่งมาจากการคัดเลือกโดยสมาชิกในคณะทำงาน OFWG มีวาระการดำรงตำแหน่งครั้งละ 2 ปี

2) ผู้อำนวยการคณะทำงาน (Program director: PD) ทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะทำงาน OFWG ประสานงานระหว่างสมาชิกคณะทำงานเพื่อแจ้งเวียนข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

3) คณะทำงาน (Working group) ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจด้านการประมงและการจัดการทรัพยากรทางทะเลของสมาชิกเอเปค 21 เขตเศรษฐกิจ

กลไกการดำเนินงานและบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน OFWG ปฏิบัติตามหลักการและแนวปฏิบัติของคณะทำงาน OFWG เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเอเปค ดังนี้

1) ดำเนินงานตามนโยบายที่ได้รับจากที่ประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจ ระดับรัฐมนตรีและที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส โดยคณะทำงานย่อยต่าง ๆ รวมถึงคณะทำงาน OFWG รับมอบนโยบายผ่านคณะกรรมการด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ (SCE)

2) ดำเนินการตามหลักการและแนวทางที่ระบุไว้ในปฏิญญาซึ่งผู้นำเอเปคได้ประกาศร่วมกัน

3) ดำเนินการให้ความร่วมมือสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการประมงและสมุทรศาสตร์

4) ดำเนินการให้ความคิดเห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือด้านการประมงและสมุทรศาสตร์ ทั้งในระดับเขตเศรษฐกิจและระดับภูมิภาค

5) ดำเนินการสนับสนุนด้านวิชาการผ่านการให้ทุนสนับสนุนโครงการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเปค

6) ดำเนินการจัดประชุมประจำปีคณะทำงาน OFWG

การประชุมประจำปีของคณะทำงาน OFWG มีกำหนดจัดประชุม 2 ครั้ง ต่อปี

1) การประชุมประจำปีครั้งที่ 1 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ครั้งที่ 1 ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี

2) การประชุมประจำปีครั้งที่มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) ครั้งที่ 3 ประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี

การดำเนินงานของกรมประมงต่อคณะทำงาน OFWG มีดังนี้

1) เข้าร่วมประชุมประจำปีของคณะทำงาน OFWG ซึ่งมีกำหนดจัด 2 ครั้งต่อปี

2) สนับสนุนโครงการความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคเอเปคและประเทศไทย

3) ประสานหน่วยงานภายในกรมประมงและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเสนอโครงการและขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ภายใต้กรอบคณะทำงาน OFWG

4) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอทราบความคิดเห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องและรวบรวมความเห็น แจ้งคณะทำงาน OFWG ภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

        2. การดำเนินงานของคณะทำงาน OFWG ในปัจจุบันปี พ.ศ. 2565

            2.1 แผนการดำเนินงานของคณะทำงาน OFWG ประจำปี พ.ศ. 2565 (Ocean and Fisheries Working Group (OFWG) Work Plan 2022) ประกอบด้วยขอบเขตการดำเนินงาน 10 ด้าน คลิกที่นี่

2.2 กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมาย (Roadmap) ภายใต้คณะทำงาน OFWG มี 3 กลยุทธ์ฯ ได้แก่

1) กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม คลิกที่นี่

2) กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการจัดการขยะทะเล (APEC Roadmap on Marine Debris) คลิกที่นี่

3) กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านประมงขนาดเล็กและการเพาะเลี้ยง พ.ศ. 2565 – 2570 (Roadmap on small – scale fisheries and aquaculture 2022 - 2027 คลิกที่นี่

 

หน่วยงานอื่น ๆ ภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีส่วนร่วมในกรอบเอเปค

1. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รับผิดชอบดูแล 2 คณะทำงาน ได้แก่ 1) คณะทำงานหุ้นส่วนความมั่นคงทางอาหาร (Policy Partnership on Food Security: PPFS) ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระดับระดับนโยบายโดยรับผิดชอบการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านความมั่นคงอาหาร (Ministerial Meeting) และคณะทำงานความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร (The Agricultural Technical Cooperation Working Group: ATCWG)

2. กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบกรอบการหารือเชิงนโยบายระดับสูงว่าด้วยเทคโนโลยีชีวภาพด้านการเกษตร (High Level Policy Dialogue on Agricultural Biotechnology: HLPDAB) ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระดับคณะทำงาน (Working Group)

3. สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เป็นหน่วยงานสนับสนุน กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นหน่วยงานหลัก รับผิดชอบดูแล คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานและการทําให้ได้มาตรฐาน กรอบความร่วมมือด้านความปลอดภัยอาหาร (Sub-Committee on Standards and Conformance: SCSC) - Food Safety Cooperation Forum (FSCF) ซึ่งเป็นการดำเนินงานในระดับคณะทำงาน (Working Group)

ที่มา: https://www.moac.go.th/news-preview-431891791618

 

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา