กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการจัดการขยะทะเล


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการจัดการขยะทะเล 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการจัดการขยะทะเล (APEC Roadmap on Marine Debris) เสนอโดยสาธารณรัฐชิลีและสาธารณรัฐเกาหลี เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ณ สาธารณรัฐชิลี มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนานโยบายด้านการจัดการขยะทะเล ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับภูมิภาค โดยส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการและนำเสนอวิธีการใหม่ ๆ ในการป้องกัน และลดปริมาณขยะทะเล ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ วิธีปฏิบัติที่ดี และเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ ประกอบด้วยขอบเขตการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่

          1. การพัฒนานโยบายและการประสานงาน (policy development and coordination) โดยการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้านการกำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาขยะทะเล และส่งเสริมความร่วมมือในทุกระดับ รวมถึงเสริมสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือเขตเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในการจัดทำนโยบายและแผนการดำเนินงาน ส่งเสริมการหาเงินทุนเพื่อจัดการขยะและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการจัดการขยะ ส่งเสริมกลไกการประสานงานด้านนโยบายระหว่างหน่วยงานภายในทุกระดับในการบริหารจัดการปัญหาขยะเพื่อลดและป้องกันขยะที่เกิดจากแผ่นดินและทะเล และส่งเสริมการใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในการจัดทำนโยบายขยะทะเล

          2. การเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างคณะทำงาน ในการจัดการขยะพลาสติกทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการตรวจติดตาม และลดปริมาณขยะพลาสติก และส่งเสริมให้เขตเศรษฐกิจนำผลลัพธ์จากการเสริมสร้างขีดความสามารถใช้เป็นแนวทางการจัดการขยะ ส่งเสริมกิจกรรมการรับรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการจัดการขยะผ่านสื่อสาธารณะ

          3. การวิจัยและนวัตกรรม (research and innovation) ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยและการใช้นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาขยะทะเลอย่างครบวงจร โดยนำผลงานวิจัยมาขับเคลื่อนเชิงนโยบายการจัดการขยะทะเล

         4. การสนับสนุนเงินทุนและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน (financing and private sector engagement) โดยส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการขยะระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (Public Private Partnerships: PPPs) สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนขยะทะเลโดยใช้ทุนสนับสนุนจากเอเปค พิจารณาใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) หรือการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่เริ่มต้นการผลิตจนถึงกระบวนการทำลาย ขับเคลื่อนระบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ค้นหานวัตกรรมด้านการจัดการขยะทะเล รวมถึงการหาแหล่งเงินทุนระหว่างประเทศเพื่อการจัดการขยะทะเล

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์เอเปค https://www.apec.org/Meeting-Papers/Annual-Ministerial-Meetings/2019/2019_AMM/Annex-B


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา