สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

การแก้ไขปรับปรุงพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

     ปัจจุบันรัฐบาลไทยมีนโยบายในการฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนประมงชายฝั่งทะเลทั้ง 22 จังหวัด ให้สามารถกลับมามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้แก่ประชาชนในประเทศ ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ภายใต้การบริหารจัดการและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงของไทยอย่างยั่งยืน

          การปฏิรูปการประมงของไทยในช่วงปี 2558 จนถึงปัจจุบัน เป็นการเร่งรัดดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการประมง IUU ในขณะนั้น ซึ่งอาจทำให้ไม่ได้รับความเห็นจากผู้มีส่วนร่วมในภาคประชาชนอย่างเพียงพอ ทำให้ภายหลังจากการดำเนินนโยบายภายใต้ พรก.ประมง พ.ศ. 2558 ฉบับนี้เป็นระยะเวลา 8 ปี ประเทศไทยจึงได้ปรับแนวทางหรือกรอบความคิดในนโยบายด้านการประมงทะเลใหม่ โดยวางยุทธศาสตร์และกลไกในการบริหารงานภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

        เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล เพื่อฟื้นฟูการประมงทะเลและอุตสาหกรรมการประมง โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ มีผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย เพื่อศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการประมงและอุตสาหกรรมประมงของไทยจากการดำเนินการตามนโยบายในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะทบทวนการแก้ไขกฎหมายการประมงไทยให้สอดคล้องกับบริบทการประมงของไทยและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งประเด็นดังกล่าวรัฐบาลประสงค์ให้มีการศึกษาทบทวนโดยขอรับความฟังความคิดเห็นให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน จึงมอบหมายให้ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเลฯ พิจารณา ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560 ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมประมง ผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐ และผู้แทนชาวประมง (สมาคมชาวประมง) ร่วมกันพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ประกอบกับนำร่างพระราชบัญญัติฯ ที่เสนอโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประกอบกับข้อเรียกร้องต่าง ๆ ของชาวประมงมาใช้ประกอบในการพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งภายหลังจากการที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. .... ทั้ง 8 ร่าง ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ จำนวน 37 ท่าน เพื่อพิจารณาร่างฯ โดยให้ถือเอาร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรีเป็นหลักในการพิจารณา

          ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมประมง จะยังคงนำเสนอข้อมูลให้เป็นไปตามหลักสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้แก่ UNCLOS, UNFSA, IPOA-IUU, และ ILO C188 เพื่อให้กลไกรัฐสภาหรือคณะกรรมาธิการมีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนประกอบการพิจารณา ซึ่งขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. ....ยังอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาในรายละเอียดของรัฐสภา

         

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ

          การปรับปรุงกฎหมายฉบับใหม่มีผลในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพประมงที่ประพฤติตนโดยสุจริตให้ได้รับความเป็นธรรม และอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะการปรับปรุงบทกำหนดโทษให้สอดคล้องกับสภาพเศษฐกิจและความร้ายแรงของการกระทำความผิด ควบคู่ไปกับการสร้างความมีส่วนร่วมของประชาชน การฟื้นฟูสภาพแวดล้อม รวมทั้งการรักษาทรัพยากรสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์และยั่งยืน ตลอดไป

 

กคม. กองประมงต่างประเทศ กรมประมง

14 มีนาคม 2567

 

The Situation of Fisheries and Fishing Industry of Thailand

The amendments of The amendments of the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 (2015)  and its amendments

               The current Thai government has a policy aimed at revitalizing marine fisheries and the fishing industry to restore its importance as a crucial source of income for the country. Particularly, efforts are directed towards enhancing the economic and social well-being of coastal small-scale fishing communities in 22 provinces, enabling them to improve their living standards and ensure food security for the people in the country. These initiatives are geared towards regional and global levels, under sustainable management and utilization of Thailand’s fishery resources.

            Thailand’s Fisheries Reform from the year 2015 to the present has accelerated the process of addressing the Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing (IUU) problems. During that period,  there might have been insufficient participation from stakeholders in the civil sector. As a result, after the implementation of the Royal Ordinance on Fisheries B.E.2558 (2015) for 8 years, Thailand has adjusted its approach and framework in marine fisheries policy by devising new strategies and mechanisms for management with the participation of stakeholders.

               In order to ensure thorough and efficient implementation of the aforementioned actions, the Prime Minister has appointed the Committee on Reinvigorating the Thai Fisheries Sector. The committee is chaired by Mr. Phumtham Wechayachai, Deputy Prime Minister, and comprises representatives from relevant government agencies and private organizations serving as committee members.

            The Committee is tasked with studying, reviewing, and analyzing problems and impacts on fisheries and fishery industry of Thailand resulting from the implementation of policies in the past, particularly reviewing the amendments of the Royal Ordinance on Fisheries to ensure alignment with the context of Thai fisheries and international laws. To facilitate this process, public opinions covering all sectors are being solicited. In addition, the government has designated the Committee to further consider this issue.

              Thus, the Committee has appointed the Sub-committee for the revision of the Royal Ordinance on Fisheries, B.E. 2558 (2015) and its amendments. The Sub-committee is composed of representatives from the Department of Fisheries, government agencies, and fishers (Fisher’s Associations) to collaboratively draft the Fisheries Act amending the Royal Ordinance on Fisheries B.E.2558 (2015). The draft act proposed by members of the House of Representatives and all suggestions from fishers will be considered for inclusion in the act.

                 After the meeting of the House of Representatives on February 22, 2567, the proposed eight draft Acts amending the Royal Ordinance on Fisheries 2015 were accepted primarily. The House of Representatives then appointed the Joint Members of the Parliament and the Cabinet Representatives Ad Hock Committee to review the amendments of the Royal Ordinance on Fisheries 2015 comprising 37 committee members to consider and review the drafts, with the draft proposed by the Cabinet serving as the main reference for deliberation.

            The Ministry of Agriculture and Cooperatives by the Department of Fisheries remains committed to rendering information in accordance with international principles and obligations, including UNCLOS, UNFSA, IPOA-IUU, and ILO C188. This is to ensure that the parliament mechanism or the Ad-hoc Committee has correct and complete information to support their consideration. Currently, a draft Fisheries Act Amending the Royal Ordinance on Fisheries B.E. 2558 (2015) … is being considered for enactment.

People Benefits

                      The Fisheries Act has contributed to alleviating the hardship faced by honest fishers, ensuring fairness and facilitating their livelihoods. Specifically, the amendments of penalties are tailored to match the economic status, and severity of the offenses concurrently with fostering community participation, environmental rehabilitation, and sustainable management of aquatic resources.

 

    


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา