กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

 กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

 กลยุทธ์นำทางไปสู่เป้าหมายด้านการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (APEC Roadmap on Combatting Illegal, Unreported and Unregulated (IUU) fishing) เสนอโดยสาธารณรัฐชิลี เมื่อเดือนสิงหาคม 2562 ณ สาธารณรัฐชิลี มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางและแผนการดำเนินงานให้กับเขตเศรษฐกิจเอเปคในการร่วมมือป้องกันและแก้ปัญหาการทำประมง IUU ให้บรรลุเป้าหมายตามแผนฯ ภายในพ.ศ. 2568 ประกอบด้วยขอบเขตการดำเนินงาน 6 ด้าน ได้แก่

1. การดำเนินการตามมาตรการของรัฐเจ้าของท่า (Implementation of Port State Measures: PSM) เพื่อสนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจดำเนินการตามมาตรการรัฐเจ้าของท่า

2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับ การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง กิจกรรมการทำประมง (exchange of information regarding traceability and monitoring, control and surveillance (MCS) of fishing activities)

3. การเสริมสร้างการติดต่อประสานงานระหว่างเขตเศรษฐกิจเอเปค (increase the coordination of APEC economies) โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ในการติดตาม ควบคุม เฝ้าระวัง และการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ประมง

4. การส่งเสริมความร่วมมือด้านการประมงในระดับภูมิภาคและระดับสากล (promote collaboration with relevant regional and international fisheries bodies to identify where APEC can contribute) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดี และการแบ่งปันองค์ความรู้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินความร่วมมือกับองค์การจัดการประมงระดับภูมิภาค (Regional Fisheries Management Organisations:  RFMOs) และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations: FAO) รวมถึงมาตรการทางการตลาดที่เอเปคให้การสนับสนุน

5. การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (strengthen public-private engagement) โดยการแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมมือในการศึกษาวิจัยด้านการดำเนินงานกิจกรรมต่อต้านการทำประมง IUU และผลกระทบจากการทำประมง IUU

6. การเสริมสร้างขีดความสามารถ (capacity building) โดยให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเปคในการต่อต้านการทำประมง IUU ดังนี้

6.1 ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการฝึกอบรมโดยอาศัยการวิเคราะห์ช่องว่าง
ที่ก่อให้เกิดการทำประมงผิดกฎหมาย

6.2 การใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการกำกับดูแลการทำประมง

6.3 กระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางการประมง

6.4 การใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อต้านการทำประมง IUU

6.5 การเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจสอบเรือประมง ณ ท่าเทียบเรือ

6.6 การวิเคราะห์ความพึงพอใจและประเมินการมีส่วนร่วมของชาวประมง ผู้ผลิต และผู้ส่งออก เพื่อจัดทำนโยบายต่อต้านการทำประมง IUU

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์เอเปค https://www.apec.org/meeting-papers/annual-ministerial-meetings/2019/2019_amm/annex-c

 

 

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา