ขอบเขตการดำเนินงานของเอเปคและคณะทำงาน OFWG ในปัจจุบันปี พ.ศ. 2565


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

ขอบเขตการดำเนินงานของเอเปคและคณะทำงาน OFWG ในปัจจุบันปี พ.ศ. 2565 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ขอบเขตการดำเนินงานของเอเปคและคณะทำงาน OFWG ในปัจจุบันปี พ.ศ. 2565

        1. การดำเนินงานของเอเปคในปัจจุบันปี พ.ศ. 2565

1.1 เอเปคกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานให้กับสมาชิกเอเปคที่เรียกว่า “วิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. ๒๐๔๐ (APEC Putrajaya Vision 2040)” โดยเอเปคมีความมุ่งมั่นในการเปิดรับ การเปลี่ยนแปลง การฟื้นฟู และความสงบสุข ให้แก่ประชากรในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกภายในปี ค.ศ. 2040 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประชาชนในภูมิภาคและเพื่อประชากรรุ่นต่อไป ผ่านการขับเคลื่อน 3 ด้าน ได้แก่

1) การค้าและการลงทุน (Trade and Investment)

2) นวัตกรรมและดิจิทัจ (Innovation and Digitalisation) และ

3) ความเข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และการเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (Strong, Balanced, Secure, Sustainable and Inclusive Growth) ซึ่งได้กำหนดแผนปฏิบัติงานเอาทีรา (The Aotearoa Plan of Action: APA) เพื่อผลักดันการขับเคลื่อนทั้ง 3 ด้านดังกล่าว โดยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคณะทำงาน OFWG คือ ด้านที่ 3 ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

1.2 ประเด็นหลัก (Theme) ซึ่งถูกกำหนดขึ้นในเป็นบางปีขึ้นกับเขตเศรษฐกิจเจ้าภาพ เช่น ในวาระที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ในปี พ.ศ. 2565 ไทยได้กำหนดประเด็นหลัก Open. Connect. Balance. หรือ “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล”  

1.3 ประเด็นสำคัญ (Priority) ในวาระที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ในปี พ.ศ. 2565ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่

1) การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนโดยใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ (Trade and investment focusing on trade and investment facilitation)

2) การฟื้นฟูความเชื่อมโยงในเอเปคโดยเฉพาะการเดินทางและการท่องเที่ยว (Reconnecting in all dimensions, especially, travel services sector and tourism)

3) การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม (Inclusive and sustainable growth)
โดยให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม

ทั้งนี้ 3 ประเด็นข้างต้นมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

1.4 ในวาระที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ในปี พ.ศ. 2565 ไทยผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ (BCG Economy Model) ผ่านเวทีการประชุมเอเปค ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Curcular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจควบคู่กับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พร้อมไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา