ประมงอุบล ลงพื้นที่ตรวจประเมินความพร้อม พ่อ-แม่พันธุ์ปลากระแห ก่อนเตรียมเพาะขยายพันธุ์ในเดือนพฤษภาคม 2568


[2025-07-24] ประมงอำเภอเขื่องใน ขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมอาชีพด้านการประมงในพื้น.. [2025-07-24] ประมงอุบลฯ ประชุมศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวง.. [2025-07-24] ประมงอำเภอวารินชำราบ ร่วมถวายเทียนเนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษาประจำปี 25.. [2025-07-24] ประมงอุบลฯ ร่วมให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชนุเคราะห์ ครั้งที.. [2025-07-23] ประมงอุบล ร่วมประชุมแผนปฏิบัติการสนทนากลุ่ม เรื่อง การจัดทำแผนที่นำทาง.. [2025-07-23] ประมงอุบลฯ ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1/256.. [2025-07-23] ประมงอำเภอเขื่องใน ขับเคลื่อนงานโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภ.. [2025-07-23] ประมงอุบลราชธานี ดำเนินงานตามแผนงานโครงการพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาตะ.. [2025-07-23] ประมงอุบลราชธานี ดำเนินงานตามแผนงานโครงการพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาต.. [2025-07-23] ประมงอุบล ร่วมพิธีเปิดอบรมสัมมนาทางวิชาการเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย.. อ่านทั้งหมด 

ประมงอุบล ลงพื้นที่ตรวจประเมินความพร้อม พ่อ-แม่พันธุ์ปลากระแห ก่อนเตรียมเพาะขยายพันธุ์ในเดือนพฤษภาคม 2568 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

             วันที่ 22 เมษายน 2568 ณ บริเวณศูนย์ศพก.เครือข่ายด้านการประมง นายวรรณภา นาคูณ นายสุนทร รุ่งเรือง หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง พร้อมด้วยนางสาวกานต์รวี รักผล ประมงอำเภอสิรินธร และเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง ลงพื้นที่กระชังเยี่ยมชมและประเมิณความพร้อมความสมบูรณ์เพศของพ่อ แม่พันธุ์ปลากระแห บริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ณ ศูนย์ศพก.เครือข่ายด้านการประมง รายนายวรรณภา นาคูณ โดยมีนายชำนาญ พริ้วกลาง ประมงอำเภอโขงเจียม ร่วมสังเกตการณ์ นายวรพจน์ ทิพยกุลานนท์ ประมงอำเภอนาจะหลวย เป็นที่ปรึกษาในการประเมินความสมบูรณ์เพศและความพร้อมพ่อ แม่พันธุ์ ปลากระแห

             จากการลงพื้นที่พบว่าปลากระแหที่นายวรรณภา นาคูณ เลี้ยงไว้ เป็นปลากระแหที่รวบรวมจากธรรมชาติในพื้นที่บริเวณรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิรินธร ปัจจุบันปลากระแหที่เลี้ยงมีอายุประมาณ 2 ปี ขนาด 15-20 ซม. น้ำหนักประมาณ 280 - 350 กรัม ต่อตัว เมื่อเจ้าหน้าที่ใช้มีรีดเบาๆ บริเวณท้องปลากระแหเพศผู้ พบว่ามีความสมบูรณ์เพศ สังเกตุจากการที่มีน้ำเชื่อไหลออกจากบริเวณช่องเพศ และแก้มปลากระแหค่อนข้างสาก และปลาเพศเมียที่จับขึ้นมาตรวจความพร้อมในการเป็นแม่พันธุ์ก็มีความพร้อม ไข่เริ่มฟอร์มสมบูรณ์ 

             นายวรพจน์ ทิพยกุลานนท์ เสริมรายละเอียดว่า "ปลากระแห" เป็นปลาน้ำจืดที่โตได้ดีในธรรมชาติ อยู่ในตระกูลปลาตะเพียนขาว มีความดกไข่เกือบใกล้เคียงกับปลาตะเพียน นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามมากกว่าการเลี้ยงเพื่อบริโภค เนื่องจากครีบหลัง ครีบท้อง ครีบก้น และครีบหาง มีสีแดงสดสลับแดง เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้ทำให้สวยงามและผู้เลี้ยงเกิดความเพลิดเพลิน นอกจากนี้ปลากระแหยังกินอาหารกลุ่มสาหร่าย พืชน้ำ แพลงก์ตอน หากมีการนำมาเพาะพันธุ์เพื่อจำหน่าย ให้ตรงความต้องการของตลาดและผู้บริโภค ก็อาจจะสามารถเพิ่มรายได้ในอาชีพด้านการเพาะเลี้ยง ตลอดจนสร้างความมั่งคั่งให้กับชุมชนในพื้นที่ริมเขื่อนสิรินธร หรือเพาะพันธุ์เพิ่มโอกาสในการขยายพันธุ์ของปลาชนิดนี้ในธรรมชาติต่อไปด้วยก็ได้

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา