ประมงอุบลฯ ร่วมกิจกรรมลงแหจับปลา โครงการธนาคารสอนค้าเกษตร


[2025-07-24] ประมงอำเภอเขื่องใน ขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมอาชีพด้านการประมงในพื้น.. [2025-07-24] ประมงอุบลฯ ประชุมศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวง.. [2025-07-24] ประมงอำเภอวารินชำราบ ร่วมถวายเทียนเนื่องในเทศกาลวันเข้าพรรษาประจำปี 25.. [2025-07-24] ประมงอุบลฯ ร่วมให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชนุเคราะห์ ครั้งที.. [2025-07-23] ประมงอุบล ร่วมประชุมแผนปฏิบัติการสนทนากลุ่ม เรื่อง การจัดทำแผนที่นำทาง.. [2025-07-23] ประมงอุบลฯ ประชุมคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดอุบลราชธานี ครั้งที่ 1/256.. [2025-07-23] ประมงอำเภอเขื่องใน ขับเคลื่อนงานโครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภ.. [2025-07-23] ประมงอุบลราชธานี ดำเนินงานตามแผนงานโครงการพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาตะ.. [2025-07-23] ประมงอุบลราชธานี ดำเนินงานตามแผนงานโครงการพัฒนาอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาต.. [2025-07-23] ประมงอุบล ร่วมพิธีเปิดอบรมสัมมนาทางวิชาการเครือข่ายอุทยานธรณีประเทศไทย.. อ่านทั้งหมด 

ประมงอุบลฯ ร่วมกิจกรรมลงแหจับปลา โครงการธนาคารสอนค้าเกษตร 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

             วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2568 เวลา 08.59 น. ณ แหล่งน้ำหนองควายน้อย หมู่ที่ 10 บ้านนาดู่เหนือ ต.นาดี อ.นาเยีย จ.อุบลราชธานี

             นายสุนทร รุ่งเรือง หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง นายวัชรเกียรติ สวัสดิรักษา หัวหน้ากลุ่มบริหารและยุทธศาสตร์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี นายธงชัย ชาตำแย ประมงอำเภอม่วงสามสิบ นางอัจฉราภรณ์ อมรสิน ประมงอำเภอสว่างวีระวงศ์ (ดูแลงานด้านประมงอำเภอนาเยีย) นายอนุสรณ์ แซ่ต่าง นักวิชาการประมง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด อำนาจเจริญและเจ้าหน้าที่ ผู้แทนนายอำเภอนาเยีย ผู้นำองค์กรส่วนปกครองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมกับคณะกรรมการบริหารจัดการแหล่งน้ำหนองควายน้อย จัดกิจกรรมลงแหจับปลา โครงการธนาคารสินค้าเกษตร (กิจกรรมธนาคารผลผลิตสัตว์น้ำแบบมีส่วนร่วม แหล่งน้ำเก่า ปี 2567) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีนายสุริยันต์ วรรณวงษ์ ประมงจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธาน

             ซึ่งการจัดกิจกรรมขายบัตรจับปลาในครั้งนี้มีเซียนแหสนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 504 คน จำหน่ายบัตรในราคา 300 บาท/คน สร้างรายได้เข้าสู่ชุมชน เป็นจำนวน 151,200 บาท โดยทางคณะกรรมการแหล่งน้ำจะนำรายได้จากกิจกรรมไปพัฒนาชุมชนและบริหารจัดการแหล่งน้ำอย่างยั่งยืนต่อไป

             ปลาที่จับได้ขนาดใหญ่สุดเป็นปลาบึก น้ำหนัก 37 กิโลกรัม ปริมาณปลาที่จับได้เฉลี่ยคนละ 15 กิโลกรัม โดยมี ปลาบึก ปลากระโห้เทศ ปลากราย ปลานิล ปลาตะเพียน เป็นต้น


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา