กรมประมง..ดัน “ปลาม้า” ราชาปลาแห่ง จ.สุพรรณบุรี สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ เร่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้เกษตรกร เล็งขยายผลเพิ่มการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์

 กลุ่มเผยเเพร่เเละประชาสัมพันธ์


กรมประมง..ดัน “ปลาม้า” ราชาปลาแห่ง จ.สุพรรณบุรี สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ เร่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้เกษตรกร เล็งขยายผลเพิ่มการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

กรมประมง..ดัน “ปลาม้า” ราชาปลาแห่ง จ.สุพรรณบุรี สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น สู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่  เร่งเสริมศักยภาพการแข่งขันให้เกษตรกร เล็งขยายผลเพิ่มการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์..คลิก

 กรมประมง..เร่งเครื่องดัน “โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น” สานต่อนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ปั้น “ปลาม้า” ราชาปลาประจำจังหวัดสุพรรณบุรี สินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นสู่สัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ หนุนเสริมศักยภาพการแข่งขันด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ พร้อมพัฒนาเครือข่ายเพื่อรองรับการผลิต การแปรรูป และการตลาดอย่างครบวงจร หวังขยายผลให้มีการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง สร้างโอกาส สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เติบโตอย่างยั่งยืน
          นางฐิติพร หลาวประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กรมประมง..ได้เร่งผลักดันโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นในด้านการประมงให้สอดคล้องกับนโยบาย “ภาคเกษตรมั่นคง เกษตรกรมั่งคั่ง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน” และการขับเคลื่อนนโยบายตลาดนำการผลิต ซึ่งนายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาและต่อยอดสินค้าเกษตรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเฉพาะสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะพื้นที่ สินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย รวมถึงสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยการนำจุดเด่นของอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ พร้อมเพิ่มมูลค่าในการจำหน่าย เพื่อผลักดันให้เป็นสินค้าเศรษฐกิจที่มีศักยภาพทางการแข่งขัน
          ปลาม้า  เป็นหนึ่งในสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่นของจังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งกรมประมงได้มอบหมายให้กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุพรรณบุรี ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดสุพรรณบุรี ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าประมงอัตลักษณ์พื้นถิ่นปลาม้า ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 โดยเล็งเห็นว่า เป็นปลาน้ำจืดพื้นเมืองที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง รสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ มีศักยภาพสูงในการต่อยอดเชิงพาณิชย์ อีกทั้งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ปลาม้าสุพรรณบุรี” ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างความแตกต่างและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดระดับประเทศอีกด้วย โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพิ่มศักยภาพการผลิตลูกพันธุ์ปลา ด้วยการพัฒนาเทคนิคการเพาะฟักและอนุบาลลูกพันธุ์ปลาม้าให้ได้ปริมาณมากขึ้น และนำไปปล่อยเพิ่มผลผลิตปลาม้าในแหล่งน้ำธรรมชาติ ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรส่งเสริมการเลี้ยงปลาม้าเป็นอาชีพทางเลือกใหม่ โดยกรมประมงได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นผ่าน 5 กิจกรรมหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบการผลิตลูกพันธุ์ปลาม้า 2) การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีพร้อมสนับสนุนส่งเสริมเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาม้า 3) การสร้างเกษตรกรต้นแบบและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ 4) การจัดตั้งเครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาม้า และ 5) การพัฒนาช่องทางการตลาด
          นางสาวสุวดี พิมพขันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุพรรณบุรี ให้รายละเอียดว่า  สำหรับการพัฒนาระบบการผลิตลูกพันธุ์ปลาม้านั้น ทางศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาอย่างครบวงจรทั้งระบบและเทคนิคการเพาะฟักและอนุบาลลูกพันธุ์ปลาม้า โดยเริ่มจากการพัฒนาปรับปรุงระบบบ่อเพาะฟักแบบน้ำหมุนเวียนที่ทันสมัย การเลี้ยงและจัดการพ่อแม่พันธุ์โดยพัฒนาเทคนิคและวิธีการให้อาหารเพื่อให้มีความสมบูรณ์เพศ คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์คุณภาพดี และปรับปรุงเทคนิคในการเพาะฟักจนช่วยเพิ่มอัตราการฟักตัวของลูกปลาได้มากขึ้น ถึงร้อยละ 80 อีกทั้งยังมีการพัฒนาสูตรอาหารที่เหมาะสมสำหรับการอนุบาลปลาในแต่ละช่วงวัย โดยผสมผสานระหว่างอาหารมีชีวิตและอาหารเม็ดสำเร็จรูป ทำให้ปลาโตไวและมีอัตราการรอดสูง จนสามารถผลิตลูกพันธุ์ปลาม้าได้เพิ่มขึ้นจากปีละประมาณ 15,000- 20,000 ตัว เป็น 80,000 ตัว เพื่อใช้ปล่อยฟื้นฟูในแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีและจำหน่ายให้เกษตรกรได้นำไปเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพ พร้อมได้ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี โดยจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 ราย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การจัดการฟาร์มการป้องกันโรค ไปจนถึงช่องทางการตลาด โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับการสนับสนุนลูกพันธุ์ปลาม้าคุณภาพดี ขนาด 2 - 3 เซนติเมตร จำนวน 500 ตัวต่อราย เพื่อนำไปเลี้ยงในฟาร์มของตนเองโดยมีเจ้าหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำอย่างต่อเนื่อง  นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพาะพันธุ์ปลาม้าขึ้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุพรรณบุรี เพื่อเป็นศูนย์สาธิตการเพาะเลี้ยงและเป็นสถานที่ฝึกอบรมให้แก่เกษตรกรรายใหม่ ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานการเพาะเลี้ยงปลาม้าเป็นจำนวนมาก และมีหลายรายที่นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาฟาร์มของตนเอง และยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างเครือข่ายโดยรวมเป็นกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาม้า ซึ่งสมาชิกภายในกลุ่มจะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ที่สนใจเพาะเลี้ยงปลาม้ารายอื่น ๆ  ในส่วนของการพัฒนาช่องทางการตลาด ยังได้ส่งเสริมให้เกษตรกรได้นำสินค้าร่วมออกร้านในงานเทศกาลต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้จำหน่ายผลผลิตปลาม้าสู่ผู้บริโภคโดยตรง อีกทั้งมีการพัฒนาช่องทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อกระจายสินค้าให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น โดยปัจจุบันได้มีการขยายการเพาะเลี้ยงไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้แก่ อ่างทอง ฉะเชิงเทรา และนครสวรรค์
          คุณนรินทร์ศักดิ์ พัวตระกูล เกษตรกรจากอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ หนึ่งในเกษตรกรผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรการเพาะเลี้ยงปลาม้าจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุพรรณบุรี ให้ข้อมูลว่า ตนเล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้จากปลาม้า ซึ่งถือเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจ จึงได้เข้าร่วมฝึกอบรมหลักสูตรดังกล่าว และนำลูกพันธุ์ปลาม้าที่ได้รับการสนับสนุนมาเพาะเลี้ยงภายในฟาร์ม ซึ่งเดิมได้มีการเลี้ยงปลากะพงอยู่ โดยได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมมาปรับใช้ ซึ่งผลปรากฏว่า ปลาม้าเลี้ยงง่าย โตไว ใช้ระยะเวลาเพียง 1 ปี สามารถจับผลผลิตจำหน่ายได้ในขนาด 1 - 1.5 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 300 – 400 บาท และหากเลี้ยงต่อเนื่องถึง 2 ปี จะได้ขนาด 3 – 4 กิโลกรัม จำหน่ายได้ถึงกิโลกรัมละ 500 บาท ทั้งนี้ ปัจจุบันทางฟาร์มได้มีการจำหน่ายผลผลิตปลาม้าทั้งหน้าร้านและผ่านช่องทางออนไลน์ในชื่อ “นรินทร์ศักดิ์ฟาร์มปลา” ซึ่งผู้บริโภคมีความต้องการผลผลิตเป็นจำนวนมาก และยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของปลาม้าในการก้าวสู่การเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ที่มีอนาคตอย่างแน่นอน 
          สุดท้ายนี้ อยากขอบคุณกรมประมงที่ให้การสนับสนุนทั้งในด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี รวมถึงการจัดสรรลูกพันธุ์ปลาม้าคุณภาพดีให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาอาชีพ และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป
          รองอธิบดีกรมประมง กล่าวสรุปถึงความสำเร็จของโครงการว่า "ปลาม้าสุพรรณบุรี" ถือเป็นต้นแบบความสำเร็จในการบูรณาการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ผ่านการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานราชการ เกษตรกร และผู้ประกอบการ ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ที่ช่วยสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้เกษตรกรในพื้นที่และขยายผลไปยังจังหวัดอื่น ๆ ได้อีกด้วย โดยกรมประมงจะยังคงเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อให้ "ปลาม้า" ก้าวขึ้นเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจทางเลือกใหม่ที่สร้างมูลค่าให้กับประเทศต่อไป

 Tags

  •   Hits
  • “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ  กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บังคับใช้ 5 ปี  “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บ... จำนวนผู้อ่าน 3,917  กรมประมงประกาศ “ปิดอ่าวไทย” เริ่ม 15 ก.พ.นี้  คุ้มครองฤดูปลามีไข่ 3 จังหวัด ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ฯ กรมประมงประกาศ “ปิดอ่าวไทย” เริ่ม 15 ก.พ.นี้ คุ้มครองฤดูปลามีไข่ 3 จังหวัด ประจ... จำนวนผู้อ่าน 1,436 กรมประมง...หนุนฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร แนะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 5 ชนิด ติดเทรนด์ตลาด  พลิกวิกฤตเปิดโอกาสในการพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ยั่งยืนและมั่นคง กรมประมง...หนุนฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร แนะเพาะเลี้ยงสัตว์น้... จำนวนผู้อ่าน 766 กรมประมงยืนยันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง อธิบดีบัญชาแจงความคืบหน้า 4 ข้อเรียกร้องเครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของปลาหมอคางดำ 19 จังหวัด กรมประมงยืนยันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง อธิบดีบัญชาแจงความ... จำนวนผู้อ่าน 664 รมช.อัครา...หนุนกรมประมงผลักดันนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลคาร์บอนต่ำ พลิกโฉมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยสู่การเกษตรที่ยั่งยืน รมช.อัครา...หนุนกรมประมงผลักดันนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลคาร์บอนต่ำ พลิกโฉมกา... จำนวนผู้อ่าน 495 กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน 3 เดือน” ควบคุมการทำประมงเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ในพื้นที่ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง เริ่ม 1 เม.ย. 68 นี้ !! กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน 3 เดือน” ควบคุมการทำประมงเพื่อฟื้นฟูท... จำนวนผู้อ่าน 464 รมช.อัครา รับลูกข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มอบกรมประมง..เตรียมชง ครม.พิจารณาแผนปฏิบัติการ เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหากุ้งทะเลเป็นวาระแห่งชาติ วงเงินงบประมาณกว่า 5 พันล้านบาท  หนุนปั้นผลผลิตให้ได้ 4.5 แสนตัน เพื่อดันอุตสาหกรรมกุ้งไทยให้แข็งแกร่งในตลาดโลก รมช.อัครา รับลูกข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มอบกรมประมง..เตรียมชง ครม.พิจารณาแผนปฏิบั... จำนวนผู้อ่าน 463 สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n   อธิบดีบัญชาถือปฐมฤกษ์ ปล่อยทดสอบครั้งแรกวันนี้ สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n อธิบดีบัญชาถือปฐมฤกษ์ ปล่อยท... จำนวนผู้อ่าน 452 อธิบดีบัญชา ชงกรมประมงเปิดทำหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวได้ทั้งปี   ผลักดัน ประกาศสำนักนายกฯ หนังสือคนประจำเรือ มีผลวันนี้ อธิบดีบัญชา ชงกรมประมงเปิดทำหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวได้... จำนวนผู้อ่าน 324 ไทยสร้างประวัติศาสตร์!!...ส่งออกกุ้งทะเลแช่แข็งผ่านรถไฟจีน-ลาว ล็อตแรกผ่านฉลุย  กรมประมงเตรียมดันไทยผงาดสู่ผู้นำด้านการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำคุณภาพของตลาดจีน ไทยสร้างประวัติศาสตร์!!...ส่งออกกุ้งทะเลแช่แข็งผ่านรถไฟจีน-ลาว ล็อตแรกผ่านฉลุย ... จำนวนผู้อ่าน 310 กรมประมง..หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ เร่งรุกโครงการ “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”  ดันดาวเด่น 13 กลุ่มสินค้าประมง ร่วมยกระดับการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ในปี 2568   กรมประมง..หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ เร่งรุกโครงการ “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”... จำนวนผู้อ่าน 258 “อัครา” นำทีมขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนกว่า 6,000 ตัน มูลค่า 450 ล้านบาท และแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ โดยนำร่องปล่อยกุ้งก้ามกราม และสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ ลงอ่างแฝด อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ และเลี้ยงด้วยฟางข้าวอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติ หวังเพิ่มผลผลิต ในแหล่งน้ำชุมชน เพิ่มรายได้ ลดค่าครองชีพ ลดการเผา ลดมลพิษ ตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ “อัครา” นำทีมขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนกว่า 6,000 ตัน มูลค่... จำนวนผู้อ่าน 223 รมช.อัครา สั่งกรมประมง...เร่งเดินหน้า ! จ่ายเงินเยียวยา  หลัง ครม.ไฟเขียว “โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ” จำนวน 923 ลำ  รมช.อัครา สั่งกรมประมง...เร่งเดินหน้า ! จ่ายเงินเยียวยา หลัง ครม.ไฟเขียว “โครงก... จำนวนผู้อ่าน 206 กรมประมง..ร่วมขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” สู่ต้นแบบการพัฒนาภาคประมงที่ยั่งยืน หนุนส่งเสริม “การเลี้ยงปลาในนาข้าว” ยกระดับวิถีเกษตรเมืองเหนือ   สร้างแหล่งอาหารให้ชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหาร กรมประมง..ร่วมขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” สู่ต้นแบบการพัฒนาภาคประมงที่ยั่งยืน หนุนส่... จำนวนผู้อ่าน 206 รมช.อัครา ชูนวัตกรรมใหม่ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมประมง หนุนกรมประมงเปิดตัวแอปพลิเคชันน้องใหม่ “Fisheries Next” อำนวยความสะดวกเจ้าของเรือประมงพาณิชย์ เชื่อมโยงทุกระบบ ครบ จบ ในแอปฯ เดียว พร้อมดาวน์โหลดแล้ว 19 ก.พ. นี้ ! รมช.อัครา ชูนวัตกรรมใหม่ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมประมง หนุนกรมประมงเปิดตัวแอปพลิเ... จำนวนผู้อ่าน 203


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กลุ่มเผยเเพร่เเละประชาสัมพันธ์

    รายละเอียด กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลางบางเขน   ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900    email  prfisheries2563@gmail.com  โทรศัพท์ 025620569  FAX 025620569  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6