15 มิ.ย.เป็นต้นไป กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก” ในพื้นที่ 8 จังหวัด ควบคุมการทำประมงในช่วงฤดูปลามีไข่ เผยปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 %

 กลุ่มเผยเเพร่เเละประชาสัมพันธ์


15 มิ.ย.เป็นต้นไป กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก” ในพื้นที่ 8 จังหวัด ควบคุมการทำประมงในช่วงฤดูปลามีไข่ เผยปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 % 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

15 มิ.ย.เป็นต้นไป กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก” ในพื้นที่ 8 จังหวัด ควบคุมการทำประมงในช่วงฤดูปลามีไข่ เผยปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 %..คลิก

กรมประมงประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) ประจำปี 2568 ใน 2 ห้วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 : วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2568 และ ช่วงที่ 2 : วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2568 ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี มั่นใจ มาตรการฯ บังคับใช้ที่ผ่านมา สามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 8,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.1 (ปริมาณการจับสัตว์น้ำจากการทำประมงทะเลปี 2566 และปี 2567 เท่ากับ 194,502 และ 202,538 ตัน ตามลำดับ) ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวไทย จึงขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงของประเทศ
เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

 

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ประจำปี 2568 จำนวน 2 ช่วง ดังนี้

  • ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2568 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน

ฝั่งตะวันตก บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร โดยเริ่มจากอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,350 ตารางกิโลเมตร

  • ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2568 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน

ด้านเหนือบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยเริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และสิ้นสุดที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,650 ตารางกิโลเมตร

 

ทั้งนี้ อนุญาตให้ใช้เฉพาะเครื่องมือประมงบางชนิด ดังนี้

1. อวนลากแผ่นตะเฆ่ที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียว ขนาดต่ำกว่า 20 ตันกรอส ให้สามารถทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืนและบริเวณนอกเขตทะเลชายฝั่ง

2. อวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกล ขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส และมีขนาดช่องตาอวนตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวอวนไม่เกิน 2,000 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทั้งนี้ ห้ามทำการประมงโดยวิธีล้อมติด หรือวิธีอื่นใด
ที่คล้ายคลึงกัน

3. อวนติดตาชนิด อวนปู อวนกุ้ง อวนหมึก

4. อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ให้ทำการประมง
นอกเขตทะเลชายฝั่ง

5. ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป และใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง
1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้

6. ลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบ ตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

7. เครื่องมือลอบหมึกทุกชนิด

8. ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบการทำประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง

9. เครื่องมือคราดหอย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเครื่องมือทำการ

ประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอย ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำร่วมด้วย

10. เครื่องมืออวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด

เงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือ วิธีที่ใช้ บริเวณพื้นที่ และระยะเวลาในการทำการประมงที่ผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนเคยที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติร่วมด้วย

11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก

12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง

13. เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ประกอบกับเครื่องมือประมงที่ไม่ใช่เครื่องมือประมงประเภท
อวนล้อมจับ อวนลากคู่ อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
เรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เรือปั่นไฟ) และเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามประกาศที่ออกตามความ
ในมาตรา
71 (1) แห่งพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558

 

สำหรับการใช้เครื่องมือในข้อ 2 3 4 5 6 และ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯ
ที่ออกตามมาตรา 71 (1) และเครื่องมือที่ใช้ทำการประมงต้องไม่ใช่เครื่องมือที่กำหนดห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 67 มาตรา 69 หรือ มาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าและต้องได้รับโทษทาง
ปกครองอีกด้วย

 

 

จากข้อมูลทางวิชาการ พบว่า ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน หากพิจารณาจากอัตราการจับสัตว์น้ำจากเครื่องมือ
อวนล้อมจับก่อนและหลังมาตรการฯ พบว่า ในช่วงที่
1 อัตราการจับสัตว์น้ำหลังมาตรการฯ เท่ากับ 6,845.89 กิโลกรัม/วัน สูงกว่าก่อนมาตรการฯ 2,152.47 กิโลกรัม/วัน เพิ่มขึ้น 2.18 เท่า ในช่วงที่ 2 อัตราการจับสัตว์น้ำหลังมาตรการฯ เท่ากับ 9,115.99 กิโลกรัม/วัน สูงกว่าก่อนมาตรการฯ 5,054.61 กิโลกรัม/วัน เพิ่มขึ้น 0.8 เท่า ซึ่งโดยภาพรวม การปิดอ่าวฯ
ส่งให้ผลการจับปลาเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มของกลุ่มปลาผิวน้ำ เช่น
ปลาสีกุนเขียว ปลาหลังเขียว และปลามงโกรย

ทั้งนี้ ลูกปลาทูที่เกิดใหม่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี) จะเริ่มเดินทางเข้าหาฝั่ง ซึ่งกรมประมงประกาศปิดต่อเนื่องบริเวณเขตชายฝั่งทะเลของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เพื่ออนุรักษ์ลูกปลาทูที่เกิดใหม่ รวมทั้งประกาศปิดเขตต่อเนื่องบริเวณปลายแหลมเขาตาม่องล่าย ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรักษาปลาทูสาวให้หากินและเลี้ยงตัว จนมีขนาด 10 – 13 ซม. หลังจากนั้นจะเริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก)
ฝั่งตะวันตก ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมในช่วงเวลาดังกล่าวพบปลาทูที่มีขนาด
13 – 14 ซม. ซึ่งเรียกว่า ปลาทูสาว และอยู่หากินในพื้นที่ จนโตเต็มวัย และเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ก้นอ่าว หรือพื้นที่ปิดฝั่งเหนือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ในช่วงเวลาดังกล่าวพบปลาทูมีขนาด 15-17 ซม. ซึ่งเป็นขนาดพ่อแม่พันธุ์ ปลาทูกลุ่มนี้เลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณอ่าวไทยตอนในจนถึงช่วงปลายปี เมื่อมีความพร้อมสืบพันธุ์ วางไข่ จึงเริ่มอพยพเคลื่อนตัวลงสู่แหล่งวางไข่ในอ่าวไทยตอนกลางอีกครั้ง ตามวงจรชีวิตปลาทู

ดังนั้น การดำเนินตามมาตรการจึงต้องมีต่อไป เพื่อคุ้มครองสัตว์น้ำ มิให้ถูกจับก่อนที่จะมีโอกาสได้ผสมพันธุ์และวางไข่ หรือถูกจับก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ และจะเป็นหนทางในการนำปลาทูกลับฟื้นคืนความสมบูรณ์ โดยที่ผ่านมาเกิดจากความร่วมมือของพี่น้องชาวประมงส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติตามมาตรการฯ มาตลอด
เมื่อภาครัฐดำเนินการและภาคประชาชนขานรับให้การสนับสนุนจะนำไปสู่ความสำเร็จ การขับเคลื่อนการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้เกิดความสมดุลกับกำลังการผลิตของธรรมชาติ สัตว์น้ำ และเกิดความยั่งยืนของการประกอบอาชีพประมง ซึ่งกรมประมงต้องขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงทุกคนมา ณ ที่นี้ และในห้วงระยะเวลาประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวตัว ก ประจำปี 2568 จึงขอให้พี่น้องชาวประมงโปรดปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติตามคำแนะนำ
ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม
และระมัดระวังการทำการประมง โดยให้ใช้เฉพาะเครื่องมือที่ประกาศให้สามารถทำการประมงได้เท่านั้น และขอฝากประชาสัมพันธ์มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) ประจำปี พ.ศ. 2568 นี้ เพื่อสร้างความรู้ให้แก่พี่น้องชาวประมงและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์น้ำ ตลอดจนช่วยสร้างจิตสำนึกในการหวงแหนอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน ทั้งนี้ เนื่องจากการกำหนดฤดูปิดอ่าวไทยรูปตัว ก นั้น เป็นหนึ่งในมาตรการที่ใช้ควบคุมการทำการประมงเพื่อลดการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำตามกฎหมายเท่านั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรที่แท้จริงต้องเริ่มที่ประชาชนทุกคน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่รู้จักใช้ ร่วมกันดูแลและรักษาไว้ให้มีอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานของตนต่อไป...อธิบดีกรมประมง กล่าว

 Tags

  •   Hits
  • “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ  กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บังคับใช้ 5 ปี  “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บ... จำนวนผู้อ่าน 3,917  กรมประมงประกาศ “ปิดอ่าวไทย” เริ่ม 15 ก.พ.นี้  คุ้มครองฤดูปลามีไข่ 3 จังหวัด ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ฯ กรมประมงประกาศ “ปิดอ่าวไทย” เริ่ม 15 ก.พ.นี้ คุ้มครองฤดูปลามีไข่ 3 จังหวัด ประจ... จำนวนผู้อ่าน 1,436 กรมประมง...หนุนฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร แนะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 5 ชนิด ติดเทรนด์ตลาด  พลิกวิกฤตเปิดโอกาสในการพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ยั่งยืนและมั่นคง กรมประมง...หนุนฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร แนะเพาะเลี้ยงสัตว์น้... จำนวนผู้อ่าน 766 กรมประมงยืนยันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง อธิบดีบัญชาแจงความคืบหน้า 4 ข้อเรียกร้องเครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของปลาหมอคางดำ 19 จังหวัด กรมประมงยืนยันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง อธิบดีบัญชาแจงความ... จำนวนผู้อ่าน 664 รมช.อัครา...หนุนกรมประมงผลักดันนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลคาร์บอนต่ำ พลิกโฉมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยสู่การเกษตรที่ยั่งยืน รมช.อัครา...หนุนกรมประมงผลักดันนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลคาร์บอนต่ำ พลิกโฉมกา... จำนวนผู้อ่าน 495 กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน 3 เดือน” ควบคุมการทำประมงเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ในพื้นที่ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง เริ่ม 1 เม.ย. 68 นี้ !! กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน 3 เดือน” ควบคุมการทำประมงเพื่อฟื้นฟูท... จำนวนผู้อ่าน 464 รมช.อัครา รับลูกข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มอบกรมประมง..เตรียมชง ครม.พิจารณาแผนปฏิบัติการ เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหากุ้งทะเลเป็นวาระแห่งชาติ วงเงินงบประมาณกว่า 5 พันล้านบาท  หนุนปั้นผลผลิตให้ได้ 4.5 แสนตัน เพื่อดันอุตสาหกรรมกุ้งไทยให้แข็งแกร่งในตลาดโลก รมช.อัครา รับลูกข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มอบกรมประมง..เตรียมชง ครม.พิจารณาแผนปฏิบั... จำนวนผู้อ่าน 463 สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n   อธิบดีบัญชาถือปฐมฤกษ์ ปล่อยทดสอบครั้งแรกวันนี้ สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n อธิบดีบัญชาถือปฐมฤกษ์ ปล่อยท... จำนวนผู้อ่าน 452 อธิบดีบัญชา ชงกรมประมงเปิดทำหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวได้ทั้งปี   ผลักดัน ประกาศสำนักนายกฯ หนังสือคนประจำเรือ มีผลวันนี้ อธิบดีบัญชา ชงกรมประมงเปิดทำหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวได้... จำนวนผู้อ่าน 324 ไทยสร้างประวัติศาสตร์!!...ส่งออกกุ้งทะเลแช่แข็งผ่านรถไฟจีน-ลาว ล็อตแรกผ่านฉลุย  กรมประมงเตรียมดันไทยผงาดสู่ผู้นำด้านการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำคุณภาพของตลาดจีน ไทยสร้างประวัติศาสตร์!!...ส่งออกกุ้งทะเลแช่แข็งผ่านรถไฟจีน-ลาว ล็อตแรกผ่านฉลุย ... จำนวนผู้อ่าน 310 กรมประมง..หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ เร่งรุกโครงการ “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”  ดันดาวเด่น 13 กลุ่มสินค้าประมง ร่วมยกระดับการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ในปี 2568   กรมประมง..หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ เร่งรุกโครงการ “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”... จำนวนผู้อ่าน 258 “อัครา” นำทีมขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนกว่า 6,000 ตัน มูลค่า 450 ล้านบาท และแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ โดยนำร่องปล่อยกุ้งก้ามกราม และสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ ลงอ่างแฝด อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ และเลี้ยงด้วยฟางข้าวอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติ หวังเพิ่มผลผลิต ในแหล่งน้ำชุมชน เพิ่มรายได้ ลดค่าครองชีพ ลดการเผา ลดมลพิษ ตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ “อัครา” นำทีมขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนกว่า 6,000 ตัน มูลค่... จำนวนผู้อ่าน 223 รมช.อัครา สั่งกรมประมง...เร่งเดินหน้า ! จ่ายเงินเยียวยา  หลัง ครม.ไฟเขียว “โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ” จำนวน 923 ลำ  รมช.อัครา สั่งกรมประมง...เร่งเดินหน้า ! จ่ายเงินเยียวยา หลัง ครม.ไฟเขียว “โครงก... จำนวนผู้อ่าน 206 กรมประมง..ร่วมขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” สู่ต้นแบบการพัฒนาภาคประมงที่ยั่งยืน หนุนส่งเสริม “การเลี้ยงปลาในนาข้าว” ยกระดับวิถีเกษตรเมืองเหนือ   สร้างแหล่งอาหารให้ชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหาร กรมประมง..ร่วมขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” สู่ต้นแบบการพัฒนาภาคประมงที่ยั่งยืน หนุนส่... จำนวนผู้อ่าน 206 รมช.อัครา ชูนวัตกรรมใหม่ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมประมง หนุนกรมประมงเปิดตัวแอปพลิเคชันน้องใหม่ “Fisheries Next” อำนวยความสะดวกเจ้าของเรือประมงพาณิชย์ เชื่อมโยงทุกระบบ ครบ จบ ในแอปฯ เดียว พร้อมดาวน์โหลดแล้ว 19 ก.พ. นี้ ! รมช.อัครา ชูนวัตกรรมใหม่ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมประมง หนุนกรมประมงเปิดตัวแอปพลิเ... จำนวนผู้อ่าน 203


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กลุ่มเผยเเพร่เเละประชาสัมพันธ์

    รายละเอียด กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลางบางเขน   ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900    email  prfisheries2563@gmail.com  โทรศัพท์ 025620569  FAX 025620569  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6