กรมประมง..เข้ม! ตรวจติดตามเฝ้าระวังสารปนเปื้อนสัตว์น้ำในแม่น้ำสาย - แม่น้ำกก ลุยเก็บตัวอย่างตรวจโลหะหนักต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องประชาชน

 กลุ่มเผยเเพร่เเละประชาสัมพันธ์


กรมประมง..เข้ม! ตรวจติดตามเฝ้าระวังสารปนเปื้อนสัตว์น้ำในแม่น้ำสาย - แม่น้ำกก ลุยเก็บตัวอย่างตรวจโลหะหนักต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องประชาชน 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

กรมประมง..เข้ม! ตรวจติดตามเฝ้าระวังสารปนเปื้อนสัตว์น้ำในแม่น้ำสาย - แม่น้ำกก  ลุยเก็บตัวอย่างตรวจโลหะหนักต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องประชาชน..คลิก

กรมประมง..ตั้งแผนเฉพาะกิจตรวจติดตามและเฝ้าระวังสารปนเปื้อนสัตว์น้ำในแม่น้ำสายและแม่น้ำกกข้ามพรมแดนอย่างเข้มข้น ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงทั้ง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย ใน 4 จุดสำคัญ ทุก 2 สัปดาห์ เพื่อประเมินผลกระทบที่อาจส่งผลต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตประจำวันของพี่น้องประชาชนในพื้นที่

นางฐิติพร หลาวประเสริฐ รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากวิกฤตปัญหามลพิษในแม่น้ำกกและแม่น้ำสายในขณะนี้ กรมประมงได้ตระหนักถึงความปลอดภัยในการบริโภคสัตว์น้ำและความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างสูงสุด ซึ่งในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดูแลความปลอดภัยทางด้านอาหาร และการบริหารจัดการทรัพยากรประมง จึงได้กำชับให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง รวมถึงหน่วยงานในระดับพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่ และสำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ร่วมติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2568 ที่พบว่าลำน้ำทั้ง 2 สาย มีความขุ่นมากกว่าปกติ ทั้งในด้านสุขภาพของสัตว์น้ำ และสารปนเปื้อนในสัตว์น้ำพร้อมรายงานผลการตรวจวิเคราะห์เป็นระยะ โดยจากการเก็บตัวอย่างปลาแค้ที่มีตุ่มแดงมาตรวจวินิจฉัยโรค พบมีปรสิตกลุ่มไดจีน และพบเชื้อแบคทีเรียที่ตุ่มเนื้องอก แต่ไม่พบในอวัยวะภายใน และยังไม่พบเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังได้มีการตรวจวิเคราะห์สารปนเปื้อนจากการเก็บตัวอย่างทั้งปลากินพืช เช่น ปลาสร้อย ปลาซ่า และปลากินเนื้อ เช่น ปลาค้าว ปลากด จำนวน 3 ครั้ง พบว่าโลหะหนักซึ่งเป็นสารปนเปื้อนยังอยู่ในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน

อย่างไรก็ตาม กรมประมง ได้เพิ่มความเข้มข้นในการตรวจติดตามและเฝ้าระวังสารปนเปื้อนสัตว์น้ำในแม่น้ำสายและแม่น้ำกกข้ามพรมแดน ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ดังนี้ จุดสำรวจบริเวณจังหวัดเชียงราย ได้แก่ จุดสำรวจที่ 1 บ้านโป่งนาคำขึ้นไปถึงแคววัวดำ ตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง (CR1) จุดสำรวจที่ 2 สะพานแม่ฟ้าหลวงบริเวณหน้าศาลากลางถึงฝายเชียงราย (CR2) จุดสำรวจที่ 3 หลังวัดสันธาตุถึงสบกก ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน (CR3) และจุดสำรวจบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ จุดสำรวจที่ 1 ชายแดนไทย-พม่า หย่อมบ้านแก่งตุ๋ม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย (CM1) ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายน 2568 เดือนละ 2 ครั้ง ทุกสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 3 ต่อเนื่องทุกเดือน โดยจะดำเนินการรวบรวมเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำที่ได้จากชาวประมง แพปลา และเจ้าหน้าที่กรมประมงทำการสุ่มเก็บด้วยตนเอง พร้อมจัดแบ่งประเภทสัตว์น้ำที่เก็บตัวอย่าง ทั้งชนิดที่เป็นปลากินพืช และปลากินเนื้ออย่างน้อยชนิดละ 1 กิโลกรัม ในแต่ละจุดสำรวจ พร้อมทำการบันทึกภาพ บันทึกความยาวและน้ำหนักเป็นรายตัว ทั้งนี้ สัตว์น้ำที่เก็บตัวอย่างมาจะถูกตรวจหาการปนเปื้อนของสารพิษที่สำคัญ4 ชนิด ได้แก่ สารหนู (As), ปรอท (Hg), ตะกั่ว (Pb) และแคดเมียม (Cd) ผ่านบริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย)

นอกจากนี้ ยังมีการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียวิทยา ไวรัสวิทยา และพยาธิวิทยา เพื่อวินิจฉัยโรคเบื้องต้นในห้องปฏิบัติการของกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรมประมง อีกด้วย

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวในตอนท้ายว่า แม้ว่าผลการตรวจวิเคราะห์สัตว์น้ำตัวอย่างในขณะนี้ จะยังอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภค แต่ขอแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการบริโภคสัตว์น้ำที่จับได้จากแม่น้ำสายและแม่น้ำกกในระยะนี้ไปก่อน โดยกรมประมงจะยังคงดำเนินการตรวจสอบและเฝ้าระวังสารปนเปื้อนในสัตว์น้ำตามแผนปฏิบัติการเฉพาะกิจที่วางไว้เพื่อประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สัตว์น้ำที่จำหน่ายเพื่อบริโภคส่วนใหญ่มาจากระบบการเพาะเลี้ยง ซึ่งไม่ได้ใช้น้ำจากแม่น้ำสายและแม่น้ำกก ดังนั้น พี่น้องประชาชนจึงสามารถมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ำได้อย่างปลอดภัย

 Tags

  •   Hits
  • “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ  กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บังคับใช้ 5 ปี  “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บ... จำนวนผู้อ่าน 3,920  กรมประมงประกาศ “ปิดอ่าวไทย” เริ่ม 15 ก.พ.นี้  คุ้มครองฤดูปลามีไข่ 3 จังหวัด ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ฯ กรมประมงประกาศ “ปิดอ่าวไทย” เริ่ม 15 ก.พ.นี้ คุ้มครองฤดูปลามีไข่ 3 จังหวัด ประจ... จำนวนผู้อ่าน 1,442 กรมประมง...หนุนฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร แนะเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 5 ชนิด ติดเทรนด์ตลาด  พลิกวิกฤตเปิดโอกาสในการพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้ยั่งยืนและมั่นคง กรมประมง...หนุนฟื้นฟูบ่อกุ้งร้างสร้างทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร แนะเพาะเลี้ยงสัตว์น้... จำนวนผู้อ่าน 775 กรมประมงยืนยันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง อธิบดีบัญชาแจงความคืบหน้า 4 ข้อเรียกร้องเครือข่ายประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของปลาหมอคางดำ 19 จังหวัด กรมประมงยืนยันแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำอย่างต่อเนื่อง อธิบดีบัญชาแจงความ... จำนวนผู้อ่าน 664 รมช.อัครา...หนุนกรมประมงผลักดันนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลคาร์บอนต่ำ พลิกโฉมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยสู่การเกษตรที่ยั่งยืน รมช.อัครา...หนุนกรมประมงผลักดันนวัตกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลคาร์บอนต่ำ พลิกโฉมกา... จำนวนผู้อ่าน 495 กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน 3 เดือน” ควบคุมการทำประมงเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ในพื้นที่ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง เริ่ม 1 เม.ย. 68 นี้ !! กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวฝั่งทะเลอันดามัน 3 เดือน” ควบคุมการทำประมงเพื่อฟื้นฟูท... จำนวนผู้อ่าน 464 รมช.อัครา รับลูกข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มอบกรมประมง..เตรียมชง ครม.พิจารณาแผนปฏิบัติการ เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหากุ้งทะเลเป็นวาระแห่งชาติ วงเงินงบประมาณกว่า 5 พันล้านบาท  หนุนปั้นผลผลิตให้ได้ 4.5 แสนตัน เพื่อดันอุตสาหกรรมกุ้งไทยให้แข็งแกร่งในตลาดโลก รมช.อัครา รับลูกข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี มอบกรมประมง..เตรียมชง ครม.พิจารณาแผนปฏิบั... จำนวนผู้อ่าน 464 สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n   อธิบดีบัญชาถือปฐมฤกษ์ ปล่อยทดสอบครั้งแรกวันนี้ สำเร็จแล้ว !!! ทีมวิจัยกรมประมงผลิตปลาหมอคางดำ 4n อธิบดีบัญชาถือปฐมฤกษ์ ปล่อยท... จำนวนผู้อ่าน 458 อธิบดีบัญชา ชงกรมประมงเปิดทำหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวได้ทั้งปี   ผลักดัน ประกาศสำนักนายกฯ หนังสือคนประจำเรือ มีผลวันนี้ อธิบดีบัญชา ชงกรมประมงเปิดทำหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวได้... จำนวนผู้อ่าน 330 ไทยสร้างประวัติศาสตร์!!...ส่งออกกุ้งทะเลแช่แข็งผ่านรถไฟจีน-ลาว ล็อตแรกผ่านฉลุย  กรมประมงเตรียมดันไทยผงาดสู่ผู้นำด้านการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำคุณภาพของตลาดจีน ไทยสร้างประวัติศาสตร์!!...ส่งออกกุ้งทะเลแช่แข็งผ่านรถไฟจีน-ลาว ล็อตแรกผ่านฉลุย ... จำนวนผู้อ่าน 310 กรมประมง..หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ เร่งรุกโครงการ “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”  ดันดาวเด่น 13 กลุ่มสินค้าประมง ร่วมยกระดับการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ ในปี 2568   กรมประมง..หนุนนโยบาย ก.เกษตรฯ เร่งรุกโครงการ “1 ท้องถิ่น 1 สินค้าเกษตรมูลค่าสูง”... จำนวนผู้อ่าน 258 “อัครา” นำทีมขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนกว่า 6,000 ตัน มูลค่า 450 ล้านบาท และแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ โดยนำร่องปล่อยกุ้งก้ามกราม และสัตว์น้ำจืดเศรษฐกิจ ลงอ่างแฝด อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ และเลี้ยงด้วยฟางข้าวอาหารสัตว์น้ำธรรมชาติ หวังเพิ่มผลผลิต ในแหล่งน้ำชุมชน เพิ่มรายได้ ลดค่าครองชีพ ลดการเผา ลดมลพิษ ตามนโยบายกระทรวงเกษตรฯ “อัครา” นำทีมขับเคลื่อนเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจืดในแหล่งน้ำชุมชนกว่า 6,000 ตัน มูลค่... จำนวนผู้อ่าน 223 กรมประมง..ร่วมขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” สู่ต้นแบบการพัฒนาภาคประมงที่ยั่งยืน หนุนส่งเสริม “การเลี้ยงปลาในนาข้าว” ยกระดับวิถีเกษตรเมืองเหนือ   สร้างแหล่งอาหารให้ชุมชน สร้างความมั่นคงทางอาหาร กรมประมง..ร่วมขับเคลื่อน “พะเยาโมเดล” สู่ต้นแบบการพัฒนาภาคประมงที่ยั่งยืน หนุนส่... จำนวนผู้อ่าน 207 รมช.อัครา สั่งกรมประมง...เร่งเดินหน้า ! จ่ายเงินเยียวยา  หลัง ครม.ไฟเขียว “โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบ” จำนวน 923 ลำ  รมช.อัครา สั่งกรมประมง...เร่งเดินหน้า ! จ่ายเงินเยียวยา หลัง ครม.ไฟเขียว “โครงก... จำนวนผู้อ่าน 206 รมช.อัครา ชูนวัตกรรมใหม่ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมประมง หนุนกรมประมงเปิดตัวแอปพลิเคชันน้องใหม่ “Fisheries Next” อำนวยความสะดวกเจ้าของเรือประมงพาณิชย์ เชื่อมโยงทุกระบบ ครบ จบ ในแอปฯ เดียว พร้อมดาวน์โหลดแล้ว 19 ก.พ. นี้ ! รมช.อัครา ชูนวัตกรรมใหม่ เดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมประมง หนุนกรมประมงเปิดตัวแอปพลิเ... จำนวนผู้อ่าน 203


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กลุ่มเผยเเพร่เเละประชาสัมพันธ์

    รายละเอียด กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลางบางเขน   ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900    email  prfisheries2563@gmail.com  โทรศัพท์ 025620569  FAX 025620569  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6