โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มทฤษฎีใหม่ 

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook

โครงการ 1 ตาบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่
(กิจกรรมส่งเสริมองค์ความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตในการทาเกษตรทฤษฎีใหม่ด้านประมง)


หลักการและเหตุผล

          ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดทำโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนำ 2019 บรรเทำปัญหาการว่างงาน ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานภาคการเกษตรกรรมไปสู่ภาคอื่นๆ และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนในท้องถิ่นให้มีความมั่นคงในการเป็นแหล่งผลิตอาหาร มีทางเลือก มีอาหาร มีอาชีพ มีความอุดมสมบูรณ์ มีความอบอุ่นจากครอบครัว แล้วความสุขตามวิถีชีวิตพอเพียง ก็จะเกิดขึ้นกับชุมชน ซึ่งเป็นศาสตร์ที่เป็นทำงรอดของเกษตรกรไทย เพื่อมุ่งสู่ระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

          ในการดำเนินโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ระดมพลังทุกหน่วยงำน ไม่ว่าจะเป็นกรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง เพื่อทำงานประสานสอดคล้องกัน ให้มีประสิทธิภาพที่สุดในการสนับสนุนเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ในทุกๆ ด้าน ในด้านการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านเกษตรทฤษฎีใหม่
           กรมประมงได้น้อมนำหลักการในทฤษฎีใหม่มาขยายผลลงสู่การปฏิบัติเป็นนโยบาย ที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาประเทศไทยเผชิญกับผลกระทบ จากโรคระบาดโควิด 19 อย่างหนักหน่วง โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มทฤษฎีใหม่ จึงเป็นโครงการนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่นำมาช่วยบรรเทาและป้องกันให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตไปได้อย่างมีคุณภาพ โครงการนี้เป้าหมายที่ต้องการให้ประชาชนมีการใช้ชีวิตอย่างมั่นคง มีหลักการในการจัดการอย่างมีเหตุ มีความพอเพียงและมีภูมิคุ้มกันที่จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่มีความแน่นอน ในอนาคต โดยที่โครงการนี้มุ่งหวังให้ผู้ร่วมโครงการ พึ่งพาตัวเองได้และเป็นต้นแบบให้หลักการแห่งการน้อมนำหลักการในทฤษฎีใหม่มาใช้ในชีวิตประจำวัน จึงใช้โอกาสสร้างองค์ความรู้และปัจจัยสาธิต เช่น พืช สัตว์ และประมงในการเรียนรู้และใช้ในชีวิติประจำวันในกระบวนการทำงานของโครงการเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเกษตรกร การขุดปรับพื้นที่ และการปรับปรุงสระเก็บกักน้ำ กรมประมงจึงเข้ามามีบทบาท ในส่วนนี้ ในฐานะผู้สร้างชีวิตให้แหล่งน้ำ ให้เป็นแหล่งอาหารเพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและแบ่งปันต่อชุมชน เริ่มตั้งแต่กระบวนการการให้ความรู้ กระบวนการการเตรียมบ่อ และเตรียมอาหารธรรมชาติ

           จากที่กล่าวมาเบื้องต้น กรมประมงจึงได้นำกิจกรรมด้านประมงมาร่วมบูรณาการกับโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำในการสร้างจุดเริ่มต้นกิจกรรม ด้านประมงในแหล่งน้ำของเกษตรกร เกษตรกรมีปลาสำหรับบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน หรือสร้างรายได้และแบ่งปันต่อชุมชนรวมถึงเกษตรกรได้เรียนรู้การปรับใช้กิจกรรมประมงในหลักการเกษตรกรรมยั่งยืน โดยมอบพันธุ์ปลาตั้งต้นให้ในการสร้างจุดเริ่มต้นพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำของเกษตรกร โครงการนี้จึงเลือกใช้ปลานิล ขนาด 5 - 7 เซนติเมตร จำนวน ไม่น้อยกว่า 700 ตัว โดยให้สนับสนุนอาหารสัตว์น้ำด้วย เนื่องจากบ่อมีนั้นจะเป็นบ่อที่ขุดใหม่ทั้งหมด และให้ปลาปรับตัวในช่วงแรกที่เพิ่งจะมาจำกโรงเพาะฟัก ทั้งนี้ปลาที่เลือกมาให้เกษตรกรนั้น ตรงตามความต้องการของเกษตรกรส่วนใหญ่ ประกอบกับข้อมูลทำงวิชาการ ซึ่งปลานิลเป็นปลาที่สามารถเลี้ยงได้ในทุกสภาพ เลี้ยงง่าย โตไว สามารถขยายพันธุ์ในบ่อเลี้ยงได้ ทนต่อความเป็นกรด – ด่ำง ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ กินอาหารได้แทบทุกชนิด และเป็นปลาที่ประชาชนนิยมเลี้ยงกันมาก เนื้อมีรสชาติดี ตลาดมีความต้องการสูง ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ เพื่อการดำเนินงานโครงการฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดความยั่งยืน กรมประมงคาดว่าเกษตรกรสามารถนำความรู้ด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการสร้างแหล่งอาหารเพื่อลดค่าใช้จ่ายหรือสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและแบ่งปันต่อชุมชน รวมถึงมีความหลากหลายในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมต่อไป

วัตถุประสงค์ของโครงการ
      1 เพื่อสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำในการสร้างจุดเริ่มต้นกิจกรรมด้านประมงในแหล่งน้ำของเกษตรกร
      2 เพื่อให้เกษตรกรมีปลาสำหรับบริโภค ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน หรือสร้างรายได้และแบ่งปันต่อชุมชน
      3 เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การปรับใช้กิจกรรมประมงในหลักการเกษตรกรรมยั่งยืน

ผลการดำเนินการ