[2024-09-27] การทําอาหารปลาลดต้นทุน “ประมงอินทรีย์ วิถีเพชรบูรณ์” [2023-11-25] งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้าการประมงที่โดดเด่น [2023-09-30] ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว [2023-08-15] โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ด้านประมง [2022-11-04] โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มทฤษฎีใหม่ [2022-10-21] การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง [2022-09-13] โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร (คทช.) [2022-03-22] โครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร [2022-02-10] โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) [2022-02-07] โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ อ่านทั้งหมด 

ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว 

 คลังความรู้  ข้อมูลเผยเเพร่  ข้อมูลเผยเเพร่ อื่นๆ

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

          ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว เป็นตราสัญลักษณ์ ที่กรมประมงจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสร้างการรับรู้ให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าได้บริโภคสินค้าประมงมีความสด สะอาด ได้มาตรฐาน ปลอดภัย และใส่ใจสิ่งแวดล้อม เกษตรกร หรือผู้ประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ดังกล่าว สามารถใช้ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด ป้ายของสินค้า หรือเอกสารโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า และเพิ่มโอกาสในการทำยอดการจัดจำหน่ายให้กับเกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

สด วัตถุดิบสด ใหม่ ไม่มีกลิ่นรสไม่พึงประสงค์ สีเป็นไปตามธรรมชาติของสัตว์น้าสด
สะอาด สถานที่ผลิต และกระบวนการผลิตไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนลงในสินค้าประมง บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ป้องกันการปนเปื้อนและไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยง หรือการผลิต หรือผลิตภัณฑ์ เช่น GAP GMP มาตรฐานอย. มผช. ฮาลาล หรือมาตรฐานอื่นใดที่เทียบเท่า หรือสูงกว่า
ปลอดภัย ได้รับการสุ่มตรวจคุณภาพและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยหน่วยงาน ภาครัฐ หรือ หน่วยงานภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ได้มาจากการทำประมงอย่างยั่งยืน การทำประมงที่ถูกกฎหมาย และเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สินค้าที่สามารถขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว

• สินค้าสัตว์น้ำ สินค้าสัตว์น้ำแปรรูป เพื่อการบริโภครวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากเศษเหลือของสัตว์น้ำ ทั้งที่บริโภคได้ (food) และบริโภคไม่ได้ (non food)
• บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม สามารถรักษาคุณภาพของสินค้าไว้ได้ มีสภาพพร้อมจาหน่าย ระบุผู้ผลิต สถานที่ผลิต วัน/เดือน/ปีที่หมดอายุ ปริมาณ/น้ำหนัก บนบรรจุภัณฑ์ให้ชัดเจน ควบคุมอุณหภูมิในการเก็บรักษา และขนส่งอย่างเหมาะสมโดยแบ่งสินค้าประมงออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

สินค้าประเภทที่ 1 สินค้าที่ได้รับมาตรฐาน ได้แก่
- สินค้าที่ผ่านการแปรรูป (อย., มผช., มกษ.,เกษตรอินทรีย์, มอก., Halal)
- สินค้าประมงสดที่เก็บรักษาในสภาพแช่แข็ง (GAP, มกษ., เกษตรอินทรีย์, มอก.)
- มาตรฐานอื่นที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าหรือสูงกว่า
สินค้าประเภทที่ 2 สินค้าที่ยังไม่ได้ยื่นขอมาตรฐาน หรือกาลังยื่นขอมาตรฐาน ซึ่งสินค้าดังกล่าวจะต้องเป็นสินค้าประมงที่เข้าหลักเกณฑ์ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องมี หลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่า อยู่ระหว่างการยื่นขอมาตรฐาน หรือยืนยันได้ ว่าใส่ใจสิ่งแวดล้อม/การทาการประมงอย่างยั่งยืน

คุณสมบัติของเกษตรกรหรือผู้ประกอบการ ที่ยื่นขอใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว

(1) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) หรือ
(2) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ (ทบ.2) หรือ
(3) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนผู้ทำการประมง (ทบ.3) หรือ
(4) เป็นผู้ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น และ
(5) เป็นเจ้าของสถานแปรรูปสินค้าประมง หรือ
(6) เป็นเจ้าของสัตว์น้ำ ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงหรือการประมงของตนเอง แล้วนำไปแปรรูปในสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

ขั้นตอนการยื่นขอใช้ตราสัญลักษณ์

ตัวอย่างฉลากสินค้าและบรรจุภัณฑ์

 

การใช้และแสดงตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว

       ผู้ได้รับตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวจะแสดงตราสัญลักษณ์ ดังกล่าวขนาดเท่าใดก็ได้ ต้องแสดงให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน ไว้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด ป้ายของสินค้า หรือ เอกสารโฆษณา ประชาสัมพันธ์ รูปแบบและวิธีการแสดง ตราสัญลักษณ์ ซึ่งตราสัญลักษณ์มีอายุ 2 ปีนับจากวันที่ ได้รับการรับรอง

 

การตรวจติดตามสินค้าประมงที่ได้รับตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว

การแจ้งเตือนการต่ออายุใบรับรอง
          กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ(กอส.) ทำหนังสือแจ้งเตือนให้ต่ออายุแก่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการ ผ่านสำนักงานประมงจังหวัด ภายใน 120 วัน ก่อนหมดอายุในใบรับรองฯ เกษตรกรหรือผู้ประกอบการ ดำเนินการยื่นขอฯ ตามขั้นตอนการยื่นขอใช้ ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว


การเพิกถอนตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว
         การเพิกถอนการใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) เมื่อตรวจสอบภายหลังพบว่า เอกสารหลักฐานที่ผู้ยื่นคาขอนามายื่นตามระเบียบนี้ เป็นเอกสารปลอม
(2) ผู้ได้รับตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กาหนด
(3) ผู้ได้รับตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียวมีการแก้ไขดัดแปลง หรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทาการแอบอ้าง นาตราสัญลักษณ์ไปใช้โดยมิชอบหรือไม่สุจริต
(4) เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบสินค้าไม่ได้คุณภาพ
(5) เป็นผู้ขาดคุณสมบัติ

        การเพิกถอนตามวรรคหนึ่ง ให้ กองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ รายงานต่อผู้มีอำนาจอนุญาต เพื่อพิจารณาสั่งเพิกถอนการใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว และแจ้งผลการพิจารณาพร้อมแสดงเหตุผล และสิทธิอุทธรณ์ด้วย

การขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลในใบรับรองตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว
         โดยการยื่นขอเปลี่ยนแปลงข้อมูล ตามแบบฟอร์ม (ธข.04-65/1)

ขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์กรณีถูกเพิกถอนตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว

ดาวโหลด : แบบยื่นคำขอใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว


รายชื่อเกษตรกร/ผู้ประกอบการ ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว

  1. บริษัท ไร่นายจุล คุ้นวงศ์ จำกัด ที่อยู่ 442 หมู่ 3 ตำบลวังชมภู อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เลขที่ใบรับรอง กปม.03-046-66/001 ชนิดสินค้าที่ได้รับอนุญาต คือ ปลาส้มเนื้อล้วน รสออริจินัล, ปลาส้มเนื้อล้วน รสสมุนไพร, ปลาส้มเนื้อล้วน รสพริกขี้หนูสวน, ปลาส้มปลานิล, ปลาส้มปลาตะเพียน, ปลาส้มปลานวลจันทร์ และปลาส้มปลาจีน
  2. วิสาหกิจชุมชนแปรรูปอาหารปลอดสารพิษ ที่อยู่ หมู่ 10 ตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เลขที่ใบรับรอง กปม.03-043-66/001 ชนิดสินค้าที่ได้รับอนุญาต คือ ปลาร้าทรงเครื่องรสเด็ด และน้ำพริกตาแดงแมงดา
  3. นางรัชนก ยุทธรักษ์ ที่อยู่ 142 หมู่ 4 ตำบลนาแซง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เลขที่ใบรับรอง กปม.03-049-66/001 ชนิดสินค้าที่ได้รับอนุญาต คือ ปลานิลหมักสมุนไพร

ระเบียบที่เกี่ยวข้อง


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา