โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)


[2024-09-27] การทําอาหารปลาลดต้นทุน “ประมงอินทรีย์ วิถีเพชรบูรณ์” [2023-11-25] งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพด้าการประมงที่โดดเด่น [2023-09-30] ตราสัญลักษณ์ประมงธงเขียว [2023-08-15] โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน กิจกรรมพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ด้านประมง [2022-11-04] โครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มทฤษฎีใหม่ [2022-10-21] การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง [2022-09-13] โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของเกษตรกร (คทช.) [2022-03-22] โครงการยกระดับมาตรฐานคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร [2022-02-10] โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) [2022-02-07] โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ อ่านทั้งหมด 

โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) 

 บริการประชาชน  เพาะเลี้ยง / ส่งเสริมเกษตรกร

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map)

****************************

          สืบเนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม หรือ “เกษตรโซนนิ่ง” (Zoning by Agri-Map) มอบหมายให้หน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงฯ ดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเข้าสู่กิจกรรมด้านอื่นๆ โดยให้เหมาะสมกับพื้นที่ และเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อมูลให้เกษตรกรใช้ประกอบการตัดสินใจปรับเปลี่ยนพื้นที่ ซึ่งกรมประมงมีแนวคิดที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการทำนาข้าว เพื่อทดลองปรับเปลี่ยนกิจกรรมเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำ เสนอเป็นอาชีพทางเลือกแก่เกษตรกร

          สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร เพื่อเข้ารวมโครงการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 โดยให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่นาข้าวเข้าสู่กิจกรรมด้านการประมง เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเกษตรกร ทั้งนี้สำนักงานประมงจังหวัดเพชรบูรณ์มีแนวคิดที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการทำนาข้าว ปรับเปลี่ยนมาทำการเลี้ยงสัตว์น้ำ และสามารถพัฒนาเป็นจุดสาธิตด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เกษตรกรในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์โครงการ

                   1. เพื่อส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ไม่เหมาะสมในการปลูกข้าวหรือพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ปรับเปลี่ยนกิจกรรมสู่การเลี้ยงสัตว์น้ำ
                   2. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นทางเลือกแก่เกษตรกร ให้มีสัตว์น้ำบริโภค ลดรายจ่าย สร้างรายได้ในครัวเรือน
                   3. เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรต้นแบบในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในชุมชน เป็นจุดกระจายความรู้ด้านการเพาะเลี้ยง

ผลการดำเนินงาน


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา