ประวัติหน่วยงานกองตรวจสอบฯ

ประวัติหน่วยงานกองตรวจสอบฯ 


กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต
     เป็นหน่วยงานหนึ่งในกรมประมง จัดตั้งตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563 มีประวัติการก่อตั้งหน่วยงาน ดังนี้

 

ปี พ.ศ. 2527 - 2539

    เจ้าหน้าที่จากกรมประมงและเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองปราบปราม กรมตำรวจ ได้จับกุมผู้ครอบครองปลาปิรันย่า 2 ราย มีของกลางเป็นปลาปิรันย่า 48 ตัว จากการตรวจสอบพบว่า มีการลักลอบนำปลาชนิดนี้เข้ามาทางท่าอากาศยานกรุงเทพ ทำให้ประชาชนทั่วไปเกิดความกังวลหากมีการนำปลาชนิดนี้ไปปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้คลายความกังวลจากกรณีดังกล่าว และเพื่อให้การควบคุมการตรวจสอบการนำเข้าสัตว์น้ำมีชีวิตเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด กรมประมงจึงได้จัดตั้ง "งานกักกันสัตว์น้ำ" ขึ้นที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านการควบคุมตรวจสอบการนำเข้าสัตว์น้ำให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

 

ปี พ.ศ. 2539 - 2545

    ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ฝ่ายตรวจสอบสัตว์น้ำ" สังกัด กองอนุรักษ์ทรัพยากรประมงมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการควบคุม ตรวจสอบการนำเข้า ส่งออกหรือนำผ่านสัตว์น้ำ รวมถึงการกำหนดมาตรการกักกันสัตว์น้ำให้เป็นไปตาม ที่กฎหมายกำหนด มีด่านตรวจสัตว์น้ำ 5 แห่ง ประกอบด้วย
    1. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานกรุงเทพ
    2. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานภูเก็ต
    3. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานหาดใหญ่
    4. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานเชียงใหม่
    5. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย

 

ปี พ.ศ. 2545 - 2546

    กรมประมงได้ปรับปรุงบทบาทภารกิจและโครงสร้างตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2545 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ส่วนตรวจการค้าสัตว์น้ำ" สังกัดสำนักบริหารจัดการด้านการประมง มี 1 กลุ่มงาน และด่านตรวจสัตว์น้ำ 7 แห่ง ดังนี้

กลุ่มงาน
     1. กลุ่มงานควบคุมการค้าสัตว์น้ำ

ด่านตรวจสัตว์น้ำ
     1. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานกรุงเทพ
     2. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานภูเก็ต
     3. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานหาดใหญ่
     4. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานเชียงใหม่
     5. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย
     6. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดตาก
     7. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสระแก้ว

 


    ปี พ.ศ. 2546 - 2554

    กรมประมงมีคำสั่ง ที่ 563/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 จัดตั้งด่านตรวจสัตว์น้ำเพิ่มเติมเป็นการภายใน จำนวน 2 แห่ง ดังนี้

ด่านตรวจสัตว์น้ำ
    1. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสตูล
    2. ด่านตรวจสัตว์น้ำปาดังเบซาร์(สงขลา)

    ต่อมาคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีมติเห็นชอบให้กรมประมงปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งงานภายใน สำนักบริหารจัดการด้านการประมง ให้ส่วนตรวจการค้าสัตว์น้ำ มี 1 กลุ่มงาน และด่านตรวจสัตว์น้ำ 22 แห่ง ดังนี้

กลุ่มงาน
    1. กลุ่มงานควบคุมการค้าสัตว์น้ำ

ด่านตรวจสัตว์น้ำ
    1. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
    2. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าเรือกรุงเทพ
    3. ด่านตรวจสัตว์น้ำลาดกระบัง
    4. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา
    5. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา สาขาสะเดา
    6. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา สาขาปาดังเบซาร์
    7. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา สาขาท่าเรือน้ำลึก
    8. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดภูเก็ต
    9. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดเชียงใหม่
    10. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดตาก
    11. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย
    12. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสระแก้ว
    13. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดเชียงราย
    14. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดชลบุรี
    15. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดนราธิวาส
    16. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสตูล
    17. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดจันทบุรี
    18. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดตราด
    19. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสมุทรสาคร
    20. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดระนอง
    21. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดมุกดาหาร
    22. ด่านตรวจสัตว์น้ำช่องเม็ก(อุบลราชธานี)

 

ปี พ.ศ. 2554 - 2555

    เปลี่ยนชื่อเป็น "ส่วนควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต" และเปลี่ยนชื่อหน่วยงานย่อย 6 หน่วยงาน พร้อมทั้งเพิ่มหน่วยงานย่อย 1 หน่วยงาน ดังนี้
    - กลุ่มงานควบคุมการค้าสัตว์น้ำ เปลี่ยนชื่อเป็น >>> กลุ่มงานควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต
    - ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา เปลี่ยนชื่อเป็น >>> ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานหาดใหญ่
    - ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา สาขาสะเดา เปลี่ยนชื่อเป็น >>> ด่านตรวจสัตว์น้ำสะเดา
    - ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา สาขาท่าเรือน้ำลึก เปลี่ยนชื่อเป็น>>>  ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าเรือสงขลา
    - ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา สาขปาดังเบซาร์ เปลี่ยนชื่อเป็น >>> ด่านตรวจสัตว์น้ำปาดังเบซาร์
    - ด่านตรวจสัตว์น้ำช่องเม็ก สาขาสะเดา เปลี่ยนชื่อเป็น >>> ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดอุบลราชธานี
*เพิ่มหน่วยงาน กลุ่มงานบริการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ

 

ปี พ.ศ. 2555 - 2558

    มีการจัดตั้งด่านตรวจสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอีก 1 ด่าน คือ

ด่านตรวจสัตว์น้ำ

    1. ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานดอนเมือง

 

ปี พ.ศ. 2558 - 2559

    มีการจัดตั้งด่านตรวจสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอีก 2 ด่าน คือ

ด่านตรวจสัตว์น้ำ

    1. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดสุรินทร์

    2. ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดกาญจนบุรี

 
 

ปี พ.ศ. 2559 - 2563

    มีการเปลี่ยนโครงสร้างเป็น "กองควบคุมการค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต" โดยแบ่งงานภายในเป็น 1 ฝ่าย 3 กลุ่ม 3 ศูนย์ ดังนี้

ฝ่ายบริหาร

    1. ฝ่ายบริหารทั่วไป

กลุ่มงาน

    1. กลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต

    2. กลุ่มควบคุมเรือประมงและสินค้าประมงต่างประเทศ

    3. กลุ่มสารวัตรและกักกันสัตว์น้ำ

ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำ

    1. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำเขต 1 (เชียงราย)

    2. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำเขต 2 (กรุงเทพมหานคร)

    3. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจสัตว์น้ำเขต 3 (สงขลา)

 

ปี พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

    ด้วยกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนที่ 41 ก เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 ประกอบกับประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจัดตั้งสำนักงานประมงอำเภอ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 198 ง เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 และมติ อ.ก.พ. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563 อนุมัติการจัดโครงสร้างการแบ่งงานภายในและการกำหนดตำแหน่งตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563 เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรประมงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้จัดตั้ง“กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต” ขึ้น โดยมีหน่วยงานในสังกัดเป็น 1 ฝ่าย 5 กลุ่มงาน 10 ศูนย์ฯ 24 ด่านฯ ดังนี้

ฝ่ายบริหาร

    1. ฝ่ายบริหารทั่วไป

กลุ่มงาน

    1. กลุ่มวิเคราะห์และพัฒนาระบบการตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต

    2. กลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ

    3. กลุ่มควบคุมวัตถุอันตรายและการค้าปัจจัยการผลิต

    4. กลุ่มตรวจสอบเรือประมง

    5. กลุ่มตรวจสอบสัตว์น้ำ และท่าเทียบเรือประมง

ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมง

    1. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 1 (เชียงราย)

        1.1 ด่านตรวจประมงเชียงใหม่

        1.2 ด่านตรวจประมงตาก

    2. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 2 (หนองคาย)

        2.1 ด่านตรวจประมงนครพนม

        2.2 ด่านตรวจประมงมุกดาหาร

        2.3 ด่านตรวจประมงอุบลราชธานี

    3. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 3 (กรุงเทพมหานคร)

        3.1 ด่านตรวจประมงท่าอากาศยานดอนเมือง

        3.2 ด่านตรวจประมงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

        3.3 ด่านตรวจประมงลาดกระบัง

        3.4 ด่านตรวจประมงชลบุรี

    4. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 4 (สระแก้ว)

        4.1 ด่านตรวจประมงจันทบุรี

        4.2 ด่านตรวจประมงตราด

        4.3 ด่านตรวจประมงระยอง

        4.4 ด่านตรวจประมงสุรินทร์

    5. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 5 (สมุทรสาคร)

        5.1 ด่านตรวจประมงกาญจนบุรี

        5.2 ด่านตรวจประมงสมุทรสงคราม

     6. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 6 (ประจวบคีรีขันธ์)

         6.1 ด่านตรวจประมงชุมพร

         6.2 ด่านตรวจประมงเพชรบุรี

    7. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี)

        7.1 ด่านตรวจประมงนครศรีธรรมราช

    8. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 8 (สงขลา)

        8.1 ด่านตรวจประมงนราธิวาส

        8.2 ด่านตรวจประมงปัตตานี

    9. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 9 (สตูล)

        9.1 ด่านตรวจประมงกระบี่

        9.2 ด่านตรวจประมงตรัง

    10. ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 10 (พังงา)

       10.1 ด่านตรวจประมงภูเก็ต

       10.2 ด่านตรวจประมงระนอง