ภารกิจกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด


ภารกิจกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook

ภารกิจ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพระนครศรีอยุธยา

ตามคำสั่งกรมประมง ที่ 825/2563 ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2563
เรื่อง การกำหนดโครงสร้างการแบ่งงานภายในและหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563 

มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้

  1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พันธุ์ไม้น้ำจืด และการจัดการฟาร์ม
  2. ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยการผลิตและการขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืด ตลอดจนผลกระทบและการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  3. ศึกษา วิจัย และส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจและอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และพันธุ์ไม้น้ำจืด
  4. ศึกษา วิจัย และทดลองการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และพันธุ์ไม้น้ำจืดในฟาร์มโดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของเกษตรกร
  5. ผลิตและขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืด
  6. กำกับ ควบคุม ตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังกระบวนการผลิตสัตว์น้ำจืด และพันธุ์ไม้น้ำจืดให้เป็นไปตามกฏหมายหรือมาตรฐานที่กำหนด
  7. ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้คำปรึกษาแนะนำด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืด รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
  8. ให้บริการการตรวจวิเคราะห์คุณภาพดิน น้ำ สัตว์น้ำ โรคสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิตรวมทั้งกำหนดมาตรฐานคุณภาพในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและพันธ์ุไม้น้ำจืด
  9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
     
 

กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประกอบด้วยหน่วยงานภายใน ดังนี้

  1. ฝ่ายบริหารทั่วไป
  2. กลุ่มวิชาการ
  3. กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  4. กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและพัฒนาธุรกิจ
  5. กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดระบบมาตรฐานฟาร์มและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม
  6. กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ
  7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด
     

ตามคำสั่งกรมประมง  ที่ 657/2564 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างการเเบ่งงานภายใน การเปลี่ยนชื่อ และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด

แบ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ออกเป็น 37 ศูนย์ ดังนี้

  1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงใหม่
  2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแม่ฮ่องสอน
  3. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเชียงราย
  4. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแพร่
  5. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพิจิตร
  6. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเพชรบูรณ์
  7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุโขทัย
  8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกำแพงเพชร
  9. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุดรธานี
  10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดหนองคาย
  11. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครพนม
  12. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร
  13. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ
  14. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมุกดาหาร
  15. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดศรีสะเกษ
  16. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดขอนแก่น
  17. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์
  18. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดร้อยเอ็ด
  19. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมหาสารคาม
  20. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดชลบุรี
  21. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสระแก้ว
  22. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตราด
  23. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปราจีนบุรี
  24. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพระนครศรีอยุธยา
  25. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอ่างทอง
  26. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปทุมธานี
  27. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดชัยนาท
  28. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุทัยธานี
  29. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสิงห์บุรี
  30. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรี
  31. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสมุทรปราการ
  32. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตรัง
  33. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช
  34. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสงขลา
  35. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปัตตานี
  36. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนราธิวาส
  37. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุพรรณบุรี