กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด พันธุ์ไม้น้ำจืด และการจัดการฟาร์ม (2) ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยการผลิตและการขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืด (3) ศึกษา วิจัย และส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจและอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และพันธุ์ไม้น้ำจืด (4) ศึกษา วิจัย และทดลองรูปแบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืดในฟาร์มโดยมุ่งเน้นการมีส่วนรวมของเกษตรกร (5) ดำเนินการผลิตและขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืด (6) กำกับ ควบคุม ตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังกระบวนการผลิตสัตว์น้ำจืด และพันธุ์ไม้น้ำจืดเพื่อการเพาะเลี้ยง ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือมาตรฐานสากล (7) ให้บริการทางวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้คำปรึกษาแนะนำด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืด (8) ให้บริการการตรวจวินิจฉัยคุณภาพดินและน้ำ รวมทั้งกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำ ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืด (9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งงานภายในเป็น 1 ฝ่าย 6 กลุ่ม 12 ศูนย์ ดังนี้ |
1. ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ตรวจสอบ ควบคุม กำกับ งานอำนวยการ งานสารบรรณ งานงบประมาณ งานการเงินและบัญชี งานพัสดุ งานบุคลากร ควบคุมการใช้ การดูแลและบำรุงรักษายานพาหนะ งานการประชุม และงานธุรการทั่วไปของหน่วยงาน (2) วางแผน พัฒนา ติดตาม รวบรวมข้อมูล งานแผนงานและงบประมาณของหน่วยงาน (3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย |
2. กลุ่มวิชาการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ และวิจัยด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดพันธุ์ไม้น้ำ เพื่อพัฒนางานวิชาการ และร่วมศึกษา วิจัย และพัฒนางานวิชาการกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง (2) จัดทำกรอบนโยบายและแผนงานวิจัยของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (3) ร่วมวางแผนและประสานงานวิชาการ ให้คำปรึกษา เสนอแนะแก่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ในการจัดทำและกลั่นกรองงานวิจัยเพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อน และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามแนวนโยบายและแผนงานวิจัยของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรม รวมทั้งการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการศึกษาวิจัย (4) ติดตามประเมินผล และประมวลผลงานวิจัย สำรวจรวบรวมข้อมูล ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารและวางแนวทางงานวิจัย (5) จัดระบบสนเทศและประมวลข้อมูลทางวิชาการเพื่อให้บริการแก่นักวิชาการ และผู้สนใจ (6) ปฏิบัติงานงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย |
3. กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ และร่วมศึกษา วิจัยและพัฒนางานวิชาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพันธุ์สัตว์น้ำจืดชนิดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ชนิดที่มีแนวโน้มจะพัฒนาเป็นสินค้าเกษตรตัวใหม่ ให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและส่งออก (2) ศึกษา วิจัย เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด (3) จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (4) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ (5) เผยแพร่และให้บริการเทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย |
4. กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชุมชน มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำปิด ให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในท้องถิ่น (2) จัดทำแผนงานและรูปแบบของการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในแหล่งน้ำปิดขนาดเล็ก กำหนดแนวทางการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำขนาดเล็ก (3) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการ (4) เผยแพร่และให้บริการเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำปิด (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย |
5. กลุ่มวิจัยการจัดระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย ผลกระทบที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม และชนิดสัตว์น้ำที่มีแนวโน้มจะต้องควบคุม (2) จัดทำแผนการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม กำหนดรูปแบบการเพาะเลี้ยง มาตรการและแนวทางการควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (3) ติดตามประเมินผลมาตรการ และแนวทางการควบคุมให้เป็นไปตามแผน (4) เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม รูปแบบการเพาะเลี้ยง มาตรการและแนวทางการควบคุม (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย |
6. กลุ่มวิจัยระบบและการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษ าค้นคว้า วิจัย และพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และการจัดการฟาร์มเพื่อให้ได้รูปแบบของกระบวนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดที่มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานมีคุณภาพความปลอดภัยต่อผู้บริโภค เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด (2) จัดทำแผนและแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (3) ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผน (4) เผยแพร่และให้บริการข้อมูลทางวิชาการด้านระบบการจัดการฟาร์ม การตรวจสอบและรับรองฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย |
7. กลุ่มวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามเชิงพาณิชย์ ชีววิทยา และการปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำสวยงาม โรคและการผลิตสัตว์น้ำสวยงามปลอดโรค อาหารสัตว์น้ำสวยงามการลำเลียงขนส่ง และการอนุรักษ์สายพันธุ์พื้นเมือง (2) ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงพรรณไม้น้ำเชิงพาณิชย์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ชีววิทยาและการปรับปรุงพันธุ์พรรณไม้น้ำ โรค ศัตรูพรรณไม้น้ำ และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุ์พรรณไม้น้ำในระดับเซลล์และเนื้อเยื่อ การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และเทคโนโลยีด้านการขนส่ง (3) ศึกษา วิจัย ระบบการบริหารจัดการฟาร์ม และการจัดทำมาตรฐานฟาร์มผลิตสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ (4) ศึกษา วิจัย ด้านเศรษฐกิจการผลิต การพัฒนาระบบการตลาด และการส่งออกสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ (5) ควบคุม ตรวจสอบ และออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม และมาตรฐานผลผลิต สัตว์น้ำสวยงาม (6) ให้บริการทางวิชาการด้านสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ ตลอดจนสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต และส่งออกสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ ให้แก่สถาบันต่าง ๆ ผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ เกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป (7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย |
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 12 ศูนย์ มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และพันธุ์ไม้น้ำจืดเพื่อนำเทคโนโลยีมาทดสอบขยายผลภายใต้ข้อจำกัดของสภาพพื้นที่จริง (2) วิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและพันธุ์สัตว์น้ำหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ของแต่ละท้องถิ่นเพื่อพัฒนาให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3) ผลิต และขยายพันธุ์สัตว์ และพันธุ์ไม้น้ำจืดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ (4) ผลิต และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พันธุ์ไม้น้ำจืดโดยเน้นชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมกับแหล่งน้ำปิด เพื่อเพิ่มผลผลิตและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในแหล่งน้ำปิด (5) ให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพันธุ์ไม้น้ำจืด และให้การสนับสนุนทางวิชาการกับหน่วยงานส่วนภูมิภาคในเรื่องการกำกับดูแลด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพันธุ์ไม้น้ำจืด (6) ควบคุม ตรวจสอบ และออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และมาตรฐานผลผลิตสัตว์น้ำสวยงาม ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ (7) เฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคระบาดในสัตว์น้ำจืด (8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย (9) กำกับ ควบคุมดูแลการดำเนินการของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำจืด ในกำกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 30 ศูนย์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้ (1) ศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด และพันธุ์ไม้น้ำจืดเพื่อนำเทคโนโลยีมาทดสอบขยายผลภายใต้ข้อจำกัดของสภาพพื้นที่จริง (2) วิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดและพันธุ์ไม้น้ำจืดที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและพันธุ์สัตว์น้ำหายากหรือใกล้สูญพันธุ์ของแต่ละท้องถิ่นเพื่อพัฒนาให้เป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจ (3) ผลิต และขยายพันธุ์สัตว์ และพันธุ์ไม้น้ำจืดที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ (4) ผลิต และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ พันธุ์ไม้น้ำจืดโดยเน้นชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมกับแหล่งน้ำปิด เพื่อเพิ่มผลผลิตและความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในแหล่งน้ำปิด (5) ให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพันธุ์ไม้น้ำจืด และให้การสนับสนุนทางวิชาการกับหน่วยงานส่วนภูมิภาคในเรื่องการกำกับดูแลด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และพันธุ์ไม้น้ำจืด (6) ควบคุม ตรวจสอบ และออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และมาตรฐานผลผลิตสัตว์น้ำสวยงาม ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ (7) เฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคระบาดในสัตว์น้ำจืด (9) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือ ที่ได้รับมอบหมาย 8. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 1 (เชียงใหม่) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 ศูนย์ 8.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดลำพูน 8.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแม่ฮ่องสอน 9. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 2 (เชียงราย) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 ศูนย์ 9.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดแพร่ 9.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดน่าน 10. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 3 (พิจิตร) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร และตาก มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 ศูนย์ 10.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเพชรบูรณ์ 10.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสุโขทัย 10.3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกำแพงเพชร 11. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 4 (อุดรธานี) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และสกลนคร มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 ศูนย์ 11.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดหนองคาย 11.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเลย 11.3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครพนม 12. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 5 (ยโสธร) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี มุกดาหาร ศรีสะเกษ และสุรินทร์ มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 ศูนย์ 12.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดศรีสะเกษ 12.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอำนาจเจริญ 12.3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมุกดาหาร 13. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 6 (ขอนแก่น) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 ศูนย์ 13.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดกาฬสินธุ์ 13.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดร้อยเอ็ด 13.3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดมหาสารคาม 14. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 7 (ชลบุรี) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด และจันทบุรี มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 ศูนย์ 14.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปราจีนบุรี 14.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสระแก้ว 14.3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดตราด 15. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 8 (พระนครศรีอยุธยา) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี ปทุมธานี และนครนายก มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 ศูนย์ 15.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอ่างทอง 15.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปทุมธานี 16. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 9 (ชัยนาท) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท อุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี และสิงห์บุรี มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 ศูนย์ 16.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุทัยธานี 16.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสระบุรี 16.3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสิงห์บุรี 17. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 10 (กาญจนบุรี) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 ศูนย์ 17.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสมุทรปราการ 17.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดราชบุรี 18. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 11 (ตรัง) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 9 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูล และกระบี่ มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 ศูนย์ 18.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนครศรีธรรมราช 18.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสตูล 19. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 12 (สงขลา) รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 ศูนย์ 19.1 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปัตตานี 19.2 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดนราธิวาส |