ประวัติหน่วยงาน 


ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 9 (ชัยนาท)
 

ประวัติความเป็นมา

            ต้นปี พ.ศ.2495 กรมชลประทานได้เริ่มการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยา ที่หมู่บ้านบางกระเบื้อง ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2499 ให้ชื่อเขื่อนนี้ว่า “เขื่อนเจ้าพระยา”
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงทำพิธีเปิดเขื่อนเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เมื่อทำการปิดประตูระบายน้ำ ทำให้น้ำเหนือเขื่อนมีปริมาณเพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์ในการประมงอย่างมาก เนื่องจากการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำเจ้าพระยาในครั้งนี้ไม่ได้ทำบันไดปลาโจน กรมประมงจึงได้มอบหมาย ให้กองบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ จัดตั้งหน่วยประมง ที่บ้านพักรับรองของโครงการหัวงานเขื่อนเจ้าพระยา หลังที่ 10 บริเวณ หมู่ที่ 5 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เพื่อทดสอบว่า เขื่อนไม่เป็นอุปสรรคต่อการวางไข่ของปลา โดยมีนายอารี สิทธิมังค์ เป็นหัวหน้าหน่วย

พ.ศ. 2502     กรมประมงได้รับงบประมาณก่อสร้างหน่วยงานและเปลี่ยนให้หน่วยงานนี้เป็น สถานีประมง ชื่อว่า“สถานีประมง (เจ้าพระยา)” และแต่งตั้งให้ นายประสิทธิ์ เอกอุรุ เป็นหัวหน้าสถานีฯ

พ.ศ. 2503     สถานีประมง(เจ้าพระยา) ได้ขยายงานและยังไม่มีพื้นที่สำหรับสร้างสถานีฯ จึงได้ขอบ้านรับรองหลังที่ 18,19 และ 20 ของกรมชลประทานเพิ่มเติม มาเพื่อเป็นที่ทำการสถานีฯ และเป็นที่พักอาศัยของเจ้าหน้าที่

พ.ศ. 2505     เริ่มดำเนินการขอสถานที่จากกรมชลประทาน เพื่อเตรียมและวางผังที่จะดำเนินการก่อสร้างสถานีฯ

พ.ศ. 2506    ได้รับงบประมาณสำหรับสิ่งก่อสร้าง แต่ยังไม่ตกลงเรื่องสถานที่จากกรมชลประทาน

พ.ศ. 2507    ได้สถานที่ก่อสร้างและเริ่มก่อสร้างสถานีประมง ที่บริเวณสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ภาคกลาง หมู่ที่ 5 ตำบลบางหลวง อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท มีเนื้อที่ประมาณ 62 ไร่

พ.ศ. 2512    สถานีฯ ได้ขอที่ดินจากกรมชลประทานเพิ่มเติมอีก 14 ไร่ บริเวณสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ภาคกลาง  เพื่อขยายงานของสถานีฯ

พ.ศ. 2518    กรมประมงได้รวมหน่วยงานพัฒนาประมงในเขตคันและคูน้ำเข้ากับสถานีฯ และได้รับมอบโอนพื้นที่จากหน่วยงานพัฒนาประมงในเขตคันและคูน้ำ ประมาณ 16 ไร่

พ.ศ. 2526   ได้ขอซื้อที่ดินเอกชนบริเวณที่ติดกับสถานีฝั่งคลองบางตาด้วง หมูที่ 6  ตำบลชัยนาท อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท จำนวน 3 ไร่ 3 งาน 56 ตารางวา เพื่อขยายสถานีฯ

พ.ศ. 2530    สถานีฯ ได้ขอใช้ประโยชน์พื้นที่จากกรมชลประทาน เพิ่มเติมอีก 3 ไร่ เพื่อเตรียมขยายงาน

พ.ศ. 2537    สถานีฯ ได้งบประมาณจำนวน  26,619,506  บาท  มาเพื่อดำเนินการก่อสร้างปรับปรุงสถานีใหม่แล้วเสร็จ ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2539

พ.ศ. 2546    ตามการปรับโครงสร้างของกรมประมงได้รับการยกระดับขึ้นเป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาทโดยมีสถานีประมงน้ำจืดภายในสังกัดจำนวน 1 สถานี คือ สถานี ประมงน้ำจืดจังหวัดอุทัยธานี

พ.ศ. 2560   ตามการปรับโครงสร้างของกรมประมง การแบ่งหน่วยงานภายในภายใต้โครงสร้างการแบ่งงานภายในและหน้าที่ความรับผิดชอบของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด  เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเขต 9 (ชัยนาท) โดยรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย  จังหวัดชัยนาท อุทัยธานี สระบุรี ลพบุรี และสิงห์บุรี  มีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดภายในสังกัดจำนวน  3  ศูนย์ คือ 1. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดอุทัยธานี  2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสระบุรี  3.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดสิงห์บุรี    

ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดชัยนาท  มีเนื้อที่ทั้งหมด  98  ไร่  3  งาน  56  ตารางวา