เผยเเพร่: 2017-06-12 | อ่าน: 3,923 ครั้ง
ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา
แรกเริ่มมีชื่อว่า “สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์น้ำ 2 กว๊านพะเยา” พื้นที่ก่อสร้างได้จากการเวนคืนโดย การจัดซื้อจากราษฎร ในปี พ.ศ. 2482-2484 พร้อมๆ กับการเวนคืนที่ดินในบริเวณกว๊านพะเยา การก่อสร้างสถานีฯ เริ่มดำเนินการ เมื่อ ก่อสร้างประตูน้ำแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2482 และเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 สถานีฯ แห่งนี้เป็นสถานีฯ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยมีนายสวัสดิ์ เทียมเมธ เป็นหัวหน้าสถานีฯ เป็นคนแรก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2496 เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีประมง (กว๊านพะเยา) เชียงราย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2520 จังหวัดพะเยาได้แยกออกมา จากจังหวัด เชียงรายทำให้สถานีฯ เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา และในปีงบประมาณ 2545 เนื่องจากมีการปรับโครงสร้างระบบราชการใหม่ ทำให้สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดพะเยา ปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพะเยา ปัจจุบันตั้งอยู่ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีพื้นที่ที่อยู่ในครอบครอง แบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1
สถานีฯ เดิมมี 4 แปลง (ตามทะเบียนการครอบครอง สค.1) แปลงที่ 1 เป็นที่ทำการ มีเนื้อที่ 67 ไร่ แปลงที่ 2 มีเนื้อที่ 2 งาน 87 ตารางวา แปลงที่ 3 มีเนื้อที่ 1 งาน 90 ตารางวา แปลงที่ 4 มีเนื้อที่ 2 ไร่ 1 งาน 24 ตารางวา ประกอบด้วยอาคารที่ทำการ อาคารปลาบึก ประตูระบายน้ำ พระตำหนัก หลังที่ 1 พระตำหนัก หลังที่ 2 พระตำหนัก หลังที่ 3 พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี อาคาร แสดงพันธุ์ปลา (aquarium) ระบบบำบัดน้ำเสีย และประตูระบายน้ำ บันไดปลาโจน และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
![]() |
![]() |
![]() |
อาคารที่ทำการ | อาคารปลาบึกและปฎิมากรรมปลาบึก | ประตูระบายน้ำ |
![]() |
![]() |
![]() |
พระตำหนัก หลังที่ 1 | พระตำหนัก หลังที่ 2 | พระตำหนัก หลังที่ 3 |
![]() |
![]() |
|
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จย่า | พิพิธภัณฑ์ปลาบึก (aquarium) |
ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน |
อาคารแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืด ก่อสร้างขึ้นภายใต้โครงการประมงในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ เป็นอาคารแบบตึกขึ้นเดียว โครงสร้าง คสล. โครงหลังคาเหล็กทรงสเปน พร้อมอุปกรณ์ และตู้แสดงพันธุ์ปลาจำนวน 34 ตู้ งบประมาณการก่อสร้างวงเงิน 4,177,600 บาท สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนมกราคม 2536
ภายในอาคารแสดงพันธุ์ปลา จัดแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดที่หาดูยากในพื้นที่จังหวัดพะเยา โดยรวบรวมจากกว๊านพะเยา แม่น้ำอิง แม่น้ำแม่ลาว พันธุ์ปลาที่จัดแสดงไว้ในอาคารแสดงพันธุ์ปลา มีประมาณ 69 ชนิด เปิดให้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.30 -16.30 โดยมีผู้เข้าชมสถานแสดงพันธุ์ปลาเป็นหมู่คณะจากสถานศึกษา กลุ่มเยาวชนต่างๆ และบุคคลทั่วไป
ส่วนที่ 2
ก่อสร้างภายใต้โครงการประมงในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ งบประมาณ 185 ล้านบาท ดำเนินการเมื่อปี 2534 ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2536 พื้นที่ทั้งหมด 200 ไร่ ประกอบไปด้วย อาคารปฏิบัติการ โรงเพาะฟัก และบ่อดิน
![]() |
![]() |
![]() |
อาคารปฏิบัติการ | โรงเพาะฟัก | บ่อดิน |