ศพท.ชุมพร ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์สัตว์น้ำตาย จังหวัดชุมพร


[2025-07-23] ศพท.ชุมพร ออกปฎิบัติงานสำรวจข้อมูลจากเครื่องมือประมงพาณิชย์และเครื่องม.. [2025-07-21] ศพท.ชุมพร ออกปฎิบัติงานสำรวจข้อมูลจากเครื่องมือประมงพาณิชย์และเครื่องม.. [2025-07-21] ศพท.ชุมพร ดำเนินงานกิจกรรมตรวจติดตามคุณภาพความปลอดภัยหอยสองฝา.. [2025-07-03] ศพท.ชุมพร ดำเนินงานตามโครงการเพื่อสังคม CSR.. [2025-06-26] ศพท.ชุมพร ดำเนินงานตามโครงการเพื่อสังคม CSR.. [2025-06-25] ศพท.ชุมพร ออกปฏิบัติงานสำรวจสภาวะทรัพยากรประมงจากเครื่องมือประมงพาณิชย.. [2025-06-25] ฐานข้อมูลงานวิจัยประมงทะเล.. [2025-06-24] ศพท.ชุมพร ออกปฏิบัติงานสำรวจสภาวะทรัพยากรประมงจากเครื่องมือประมงพาณิชย.. [2025-06-21] ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลชุมพรดำเนินงานกิจกรรมตรวจติดตามคุณภาพความปล.. [2025-06-13] ศพท.ชุมพร ออกปฏิบัติงานสำรวจทางทะเลพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร.. อ่านทั้งหมด 

ศพท.ชุมพร ลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์สัตว์น้ำตาย จังหวัดชุมพร 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  ประชาสัมพันธ์กรมประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลชุมพรลงพื้นที่ตรวจสอบเหตุการณ์สัตว์น้ำตาย จังหวัดชุมพร

     วันที่ 12 มิถุนายน 2568 ผอ.ศพท.ชุมพร พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ได้ลงพื้นที่บริเวณหาดภราดรภาพ
ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์สัตว์น้ำตาย จากการตรวจสอบ
เบื้องต้นพบสัตว์น้ำหน้าดิน ได้แก่ ปลาไหลทะเล ปลาลิ้นหมา ปลาซีกเดียว ปู กุ้ง และกั้ง รวมถึงปลาแป้น
ปลาทราย ปลาหางควาย และปลาอื่น ๆ ตายบริเวณชายหาดเป็นจำนวนมาก พบน้ำทะเลบริเวณ
ใกล้ชายฝั่งมีสีน้ำตาล 
จึงเก็บข้อมูลคุณภาพน้ำเบื้องต้นและตัวอย่างน้ำด้วยเรือยางของศูนย์ฯ
คุณภาพน้ำเบื้องต้นพบปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ  3.49-6.64
mg/l  ความเค็ม 33.51
และ pH 7.78-7.97  ส่วนผลการวิเคราะห์แพลงก์ตอนพืช พบสกุลเด่น ได้แก่ สกุล
Chaetoceros
Bacteriastrum
และ Pseudo-nitzschia มีความหนาแน่นสูงสุด 2,731,000  115,000
และ 109,000 เซลล์/ลิตร ตามลำดับ โดยทั้ง 3 สกุล เป็นแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดอะตอม
ในส่วน
ของสกุล Chaetocerosและ Bacteriastrum ยังไม่เคยมีรายงานว่าสร้างสารชีวพิษ
ส่วนสกุล
Pseudo-nitzschia เป็นแพลงก์ตอนพืชกลุ่มที่สามารถสร้างสารชีวพิษได้และพิษสะสม
ในหอยสองฝา  โดยกรมประมงได้กำหนดเกณฑ์เฝ้าระวังสกุล
Pseudo-nitzschia ในแหล่งรับรอง
หอยสองฝาที่ความหนาแน่น 300,000 เซลล์/ลิตร  สำหรับสาเหตุการเกิดปรากฏการณ์ครั้งนี้
คาดว่าเกิดจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืช ส่งผลให้น้ำทะเลและบริเวณหน้าดินขาดออกซิเจน
สัตว์น้ำจึงตายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์น้ำโดยละเอียดจะรายงานให้ทราบต่อไป

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา