เผยเเพร่: 2020-04-22 | อ่าน: 443 ครั้ง
ความร่วมมือด้านประมงระหว่าง ไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว
1. การค้าสินค้าประมงด่านตรวจสัตว์น้ำชายแดนระหว่างไทย – สปป.ลาว
• ปี พ.ศ. 2560 – 2563 สินค้าประมงที่ประเทศไทยส่งออกไปยัง สปป. ลาว ได้แก่
- ปลากะตัก 3,335.99 ตัน มูลค่า 79.88 ล้านบาท
- ปลานิล 2,222.86 ตัน มูลค่า 110.22 ล้านบาท
- ปลาหางแข็ง 1,883.32 ตัน มูลค่า 51.28 ล้านบาท
• ปี พ.ศ. 2560 – 2563 สินค้าประมงที่ประเทศไทยนำเข้าจาก สปป. ลาว ได้แก่
- หอยเชอรี่ 11.05 ตัน มูลค่า 0.16 ล้านบาท
- อึ่งปากขวด 8.30 ตัน มูลค่า 1.26 ล้านบาท
- อึ่งอ่างก้นขีด 5.00 ตัน มูลค่า 0.60 ล้านบาท
2. กรอบความร่วมมือด้านประมงระหว่างไทย และ สปป. ลาว
2.1 MOU ด้านการเกษตรไทย – สปป. ลาว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกสิกรรมและป่าไม่แห่ง สปป. ลาว ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2550 เพื่อสนับสนุนให้มีความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
2.2 MOU ด้านประมง ระหว่างไทย และสปป. ลาว
กรมประมงและกรมปศุสัตว์และการประมงแห่งสปป. ลาว ลงนาม MOU ว่าด้วยความร่วมมือ
ด้านประมง เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนความร่วมมือด้านประมงที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนข่าวสาร การค้า การฝึกอบรม วิทยาศาสตร์และวิชาการ และการบังคับใช้กฎหมายระหว่างคู่ภาคี
2.3 การจัดทำแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – สปป. ลาว ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565)
สืบเนื่องจากการประชุมความร่วมมือทางวิชาการไทย – สปป. ลาว กระทรวงการต่างประเทศ
ได้จัดทำร่างแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – สปป. ลาว ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2562) โดยแบ่ง
ความร่วมมือเป็น 6 สาขา ได้แก่ สาขาเกษตร สาขาการศึกษาและกีฬา สาขาสาธารณสุข สาขาการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยง สาขาสิ่งแวดล้อม และสาขาอื่น ๆ โดยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นต่อร่างแผนความร่วมมือฯ ดังกล่าว เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือร่วมกับฝ่าย สปป. ลาว
3. สถานะความร่วมมือฯ
3.1 การจัดการศึกษาดูงานด้าน Smart Farmer ให้กับเจ้าหน้ากรมปศุสัตว์และการประมง
แห่งสาธารณรัฐประชาชนลาว ระหว่างวันที่ 4 – 10 มีนาคม 2562 ณ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดอุดรธานี โดยมีการเข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงานด้านการเพาะลี้ยงสัตว์น้ำ ชมการเพาะพันธุ์ไรแดง การเพาะพันธุ์ปลานิล การเพาะพันธุ์ปลาเกล็ดเงิน การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และห้องปฏิบัติการด้านอาหารปลอดภัย
3.2 การประชุมคณะทำงานร่วมด้านการเกษตรไทย – สปป. ลาว ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 4 – 5 กันยายน 2562 ณ แขวงจำปาสัก สปป. ลาว กรมประมงไม่มีผู้แทนเข้าร่วมฯ ทั้งนี้ ในการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยฯ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2562 ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมประมงดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบ MOU ด้านประมง โดยเสนอโครงการความร่วมมือฯ เข้าพิจารณาในร่างแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาไทย – สปป. ลาว ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565)
3.3 การประชุมคณะทำงานร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านประมง ระหว่าง ไทย – สปป. ลาว ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11 - 12 กรกฎาคม 2562 ณ สะหวันนะเขต สปป. ลาว โดยกรมปศุสัตว์และประมง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม่แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งในที่ประชุมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการดำเนินความร่วมมือด้านประมงร่วมกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่การพัฒนาศักยภาพด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประกอบด้วย การจัดฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเกี่ยวกับการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ การจัดทำกฎระเบียบในการควบคุมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
3.3 การประชุมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย – สปป. ลาว ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ระหว่างวันที่ 23 – 27 กันยายน 2562 ณ นครเวียงจัทร์ สปป. ลาว กรมประมงไม่มีผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ดังกล่าว แต่ได้เสนอโครงการความร่วมมือด้านประมง เพื่อพิจารณาบรรจุในแผนความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ไทย – สปป. ลาว ระยะ 3 ปี (2563 – 2565) ในสาขาด้านการเกษตร โดยประกอบด้วยกิจกรรมพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1.) Training course on management of fish seed production station Lao – Thai cooperation.
2.) Training course on technology of Tilapia sex – reversal Lao – Thai cooperation.
มีนาคม 2563