ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามไทย


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามไทย 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

 “ปลาเรืองแสง” หรือ ปลาที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms : GMOs) ด้วยเทคนิคการนำยีนส์ที่ได้จากแมงกะพรุนหรือดอกไม้ทะเลบางชนิดไปใส่ไว้ใน DNA ที่ควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมของปลา และจะสร้างโปรตีนที่มีลักษณะเด่นขึ้นมา เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสงไฟ Blacklight จะทำให้ตัวปลาเรืองแสงสะท้อนขึ้นมาเกิดความแปลกตา สวยงาม ซึ่งชนิดของสีเรืองแสงที่มีการค้าในปัจจุบัน มี 6 สี ได้แก่ สีเขียว (Electric Green) สีฟ้า (Cosmic Blue) สีแดง (Starfire Red) สีส้ม (Sunburst Orange) สีชมพู (Moonrise Pink) สีม่วง (Galactic Purple) ปลาเรืองแสง มีต้นกำเนิดมาจากนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ในปี ค.ศ. 1999 โดยสกัด Green Fluorescent Protein (GFP) จากแมงกะพรุนใส่ลงในตัวอ่อนของ Zebrafish ทำให้เรืองแสงได้ ซึ่งวัตถุประสงค์คือการพัฒนาปลาที่สามารถตรวจสอบมลพิษโดยการสามารถเรืองแสงในที่ที่สิ่งแวดล้อมมีสารพิษ

ปัจจุบันมีปลาสวยงามหลากหลายชนิดที่นำมาพัฒนาพันธุ์ด้วยวิธีการตัดต่อพันธุกรรมเป็นปลาเรืองแสง ที่เราเรียกทางการค้าว่า Glofish มีหลายชนิด ชนิดที่นำเข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ ปลาม้าลาย ปลาเสือเยอรมัน ปลาเสือสุมาตรา และปลากัด ส่วนปลาเทวดา ปลากาแดง ปลาหมอสี ปลาออสก้า ปลาปอมปาดัวร์ และปลาชนิดอื่น ๆ ยังไม่มีการนำเข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย  

           ปัจจุบันนานาชาติโดยส่วนใหญ่ไม่ให้การยอมรับเรื่องของ GMOs ในสิ่งมีชีวิต เพราะอาจส่งผลให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมกับชนิดพันธุ์ที่มีในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาสวยงาม หากเข้าไปแทรกอยู่ในยีนส์แล้ว ยากที่จะเอาออกทำให้สูญเสียความเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมไป ถือเป็นเรื่องร้ายแรงที่น่ากังวล

          น่ากังวลเรื่องผลกระทบต่อธุรกิจและอุสาหกรรมปลาสวยงามไทยมากที่สุด คือ ปลากัด (Betta) เป็นสัตว์น้ำชนิดใหม่ล่าสุดที่นำมาดัดแปลงพันธุกรรมเรืองแสง กลายเป็น “ปลากัดเรืองแสง” และเริ่มออกขายในตลาดปลาสวยงามเมื่อประมาณ 2 ปี และมีการนำเข้ามาผสมข้ามพันธุ์ในประเทศไทยประมาณ 1 ปี

นับว่าอันตรายต่อวงการปลากัดไทยอย่างมาก เพราะปลากัดเรืองแสง สามารถผสมข้ามสายพันธุ์และถ่ายทอดพันธุกรรมเรืองแสงสู่รุ่นลูกได้ ทำให้เกิดการปนเปื้อนทางพันธุกรรมในปลากัดพื้นเมืองของไทย ในส่วนของปลากัดสวยงามที่มีการผลิตเพื่อการส่งออกจำหน่ายทั่วโลกมากกว่า 20 ล้านตัว/ปี มูลค่าการส่งออกมากกว่า 200 ล้านบาท/ปี ซึ่งเป็นปลาสวยงามส่งออกที่อยู่กันอันดับ 1 ของไทยมากกว่า 20 ปี เมื่อมีการนำปลากัดเรืองแสงมาผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อความสวยงามแปลกตา อาจะได้รับความนิยมในเบื้องต้นในบางประเทศ แต่เมื่อกระแสการต่อต้านสัตว์และพืช GMOs ในหลายประเทศมากขึ้น อาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ผลิตและผู้ส่งออกส่วนใหญ่ ได้

         

 

     

        

ภาพปลากัดเรืองแสงจากการตัดต่อพันธุกรรม (จากบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์) จะพบการเรืองแสงทั้งตัว

    

ภาพปลากัดเรืองแสงจากการตัดต่อพันธุกรรมและมีการผสมกับสายพันธุ์ปลากัดสวยงามของไทย จะพบการเรืองแสงบางส่วนของตัว และมักจะเขียนส่วนตาที่เรืองแสง

 

 

 

 

 

 

การที่มีหลาย ๆ ประเทศต่อต้านสัตว์และพืช GMOs ทำให้ขั้นตอนการส่งออกต้องเพิ่มการตรวจสอบสัตว์น้ำตัดต่อพันธุกรรม ต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น เกิดความล่าช้าในการส่งออกสัตว์น้ำสวยงาม อาจเกิดความไม่สะดวกและสูญเสียทั้งเวลาและสุขภาพปลา ได้ ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้น สามารถใช้ไฟฉาย UV Black light ส่องดูได้ ส่วนกระบวนการตรวจสอบโดยละเอียด ต้องใช้วิธีตรวจสอบจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยเทคนิค PCR หรือ Real time PCR ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูง

นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการลงนามในพิธีสารคาร์ตาเฮน่า ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) มีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการที่ GMOs จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของมนุษย์ ดังนั้นหากประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลา GMOs อาจส่งผลกระทบทำให้ถูกกีดกันทางการค้าจากนานาชาติ ทั้งในเรื่องของความเข้มงวดของการนำเข้าปลาสวยงาม หรืออาจร้ายแรงไปจนถึงการห้ามค้าขายปลาสวยงามที่เป็นหรือเสี่ยงที่จะเป็นปลา GMOs เลยทีเดียว ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอันดับที่ 128 ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2549 (ปัจจุบันมี 139 ประเทศ)

ผู้เพาะเลี้ยงมีความผิดทางกฎหมาย ตามมาตรา 65 และ มาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 และบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 เพื่อป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ (ห้ามเพาะเลี้ยงปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO / LMO ทุกชนิด) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือ มาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  มีโทษทั้งจำคุก 1 – 2 ปี ปรับ 1 – 2 ล้านบาท

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (สัตว์น้ำ GMOs) หรือ “ปลาเรืองแสง” ออกสู่ตลาดปลาสวยงาม  อาจเกิดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมาตรการกีดกันทางการค้าก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทย ที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท/ปี ปลาสวยงามที่ผลิตเพื่อการค้าการส่งออกมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะปลากัดของไทยโด่งดังไกลทั่วโลก เนื่องจากมีลักษณะ ลวดลาย สีสันที่สวยงาม จนมีลูกค้าจากทั่วโลกที่ต้องการปลากัดของไทย มีตลาดค้าขายปลากัดไทยทั้งออนไลน์และออฟไลน์  สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ล้านบาท/ปี ถือเป็นปลาสวยงามที่สร้างมูลค่าการส่งออกหลักให้การค้าสัตว์น้ำสวยงามของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ซึ่งทราบกันว่า ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ อีกด้วย ที่สำคัญเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมีความสามารถเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอยู่แล้ว เช่น ที่ผ่านมามีการพัฒนาปลากัดเป็นลายธงชาติไทย ปลากัดสีทอง หรือจะผลิตลวดลายสีสันใหม่ๆ ที่สวยงาม แปลกตา สามารถสร้างมูลค่าในตัวเองได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการตัดต่อพันธุกรรมซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคต

เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามเพาะเลี้ยงปลาเรืองแสง หรือ สัตว์น้ำ GMOs เพราะมีความผิดทางกฎหมายนี้ สามารถปรับเปลี่ยนชนิดปลาสวยงาม มาเลี้ยงกลุ่มปลาออกลูกเป็นตัวที่ตลาดมีความต้องการสูง ที่ใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้น 3-4 เดือน อาทิเช่น ปลาหางนกยูง สอด เซลฟิน มอลลี่ แพลทตี้ และ บอลลูน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนใช้บ่อแบบเดิมมาเลี้ยงได้ หากพัฒนาสายพันธุ์ที่สวยงามตรงความต้องการของตลาด สามารถส่งออกขายได้ทั่วโลก ซึ่งปลาในกลุ่มดังกล่าวมีมูลค่าการส่งออกติดอยู่ในอันดับ 1-10 ของการส่งออกปลาสวยงามของไทย เป็นปลาที่ตลาดโลกมีความต้องการอย่างต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน

การที่มีหลาย ๆ ประเทศต่อต้านสัตว์และพืช GMOs ทำให้ขั้นตอนการส่งออกต้องเพิ่มการตรวจสอบสัตว์น้ำตัดต่อพันธุกรรม ต้องใช้เวลาเพิ่มมากขึ้น เกิดความล่าช้าในการส่งออกสัตว์น้ำสวยงาม อาจเกิดความไม่สะดวกและสูญเสียทั้งเวลาและสุขภาพปลา ได้ ซึ่งการตรวจสอบเบื้องต้น สามารถใช้ไฟฉาย UV Black light ส่องดูได้ ส่วนกระบวนการตรวจสอบโดยละเอียด ต้องใช้วิธีตรวจสอบจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยเทคนิค PCR หรือ Real time PCR ก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายที่สูง

นอกจากนี้ ประเทศไทยได้มีการลงนามในพิธีสารคาร์ตาเฮน่า ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Cartagena Protocol on Biosafety) มีเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการป้องกันหรือลดความเสี่ยงต่อการที่ GMOs จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งแวดล้อม และสุขอนามัยของมนุษย์ ดังนั้นหากประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลา GMOs อาจส่งผลกระทบทำให้ถูกกีดกันทางการค้าจากนานาชาติ ทั้งในเรื่องของความเข้มงวดของการนำเข้าปลาสวยงาม หรืออาจร้ายแรงไปจนถึงการห้ามค้าขายปลาสวยงามที่เป็นหรือเสี่ยงที่จะเป็นปลา GMOs เลยทีเดียว ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกอันดับที่ 128 ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.  2549 (ปัจจุบันมี 139 ประเทศ)

ผู้เพาะเลี้ยงมีความผิดทางกฎหมาย ตามมาตรา 65 และ มาตรา 144 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 และบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ.2564 เพื่อป้องกันอันตรายมิให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ (ห้ามเพาะเลี้ยงปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO / LMO ทุกชนิด) ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือ มาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ  มีโทษทั้งจำคุก 1 – 2 ปี ปรับ 1 – 2 ล้านบาท

การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีการตัดต่อพันธุกรรม (สัตว์น้ำ GMOs) หรือ “ปลาเรืองแสง” ออกสู่ตลาดปลาสวยงาม  อาจเกิดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมาตรการกีดกันทางการค้าก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมปลาสวยงามของไทย ที่มีมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท/ปี ปลาสวยงามที่ผลิตเพื่อการค้าการส่งออกมีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยเฉพาะปลากัดของไทยโด่งดังไกลทั่วโลก เนื่องจากมีลักษณะ ลวดลาย สีสันที่สวยงาม จนมีลูกค้าจากทั่วโลกที่ต้องการปลากัดของไทย มีตลาดค้าขายปลากัดไทยทั้งออนไลน์และออฟไลน์  สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 200 ล้านบาท/ปี ถือเป็นปลาสวยงามที่สร้างมูลค่าการส่งออกหลักให้การค้าสัตว์น้ำสวยงามของประเทศไทย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก ซึ่งทราบกันว่า ปลากัด เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ อีกด้วย ที่สำคัญเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลากัดมีความสามารถเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกอยู่แล้ว เช่น ที่ผ่านมามีการพัฒนาปลากัดเป็นลายธงชาติไทย ปลากัดสีทอง หรือจะผลิตลวดลายสีสันใหม่ๆ ที่สวยงาม แปลกตา สามารถสร้างมูลค่าในตัวเองได้อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการตัดต่อพันธุกรรมซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายในอนาคต

เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามเพาะเลี้ยงปลาเรืองแสง หรือ สัตว์น้ำ GMOs เพราะมีความผิดทางกฎหมายนี้ สามารถปรับเปลี่ยนชนิดปลาสวยงาม มาเลี้ยงกลุ่มปลาออกลูกเป็นตัวที่ตลาดมีความต้องการสูง ที่ใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้น 3-4 เดือน อาทิเช่น ปลาหางนกยูง สอด เซลฟิน มอลลี่ แพลทตี้ และ บอลลูน ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนใช้บ่อแบบเดิมมาเลี้ยงได้ หากพัฒนาสายพันธุ์ที่สวยงามตรงความต้องการของตลาด สามารถส่งออกขายได้ทั่วโลก ซึ่งปลาในกลุ่มดังกล่าวมีมูลค่าการส่งออกติดอยู่ในอันดับ 1-10 ของการส่งออกปลาสวยงามของไทย เป็นปลาที่ตลาดโลกมีความต้องการอย่างต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน

 

Impact of the GMO Fighting Fish on the Ornamental Fish Industry of Thailand

 

“Glofish” are fish that have been genetically modified or so-called Genetically Modified Organisms (GMOs) by inserting genes obtained from certain types of jellyfish or sea anemones into the DNA that controls the fish's genetic characteristics, resulting in proteins with distinct characteristics. When exposed to blacklight, the fish's body glows and reflects, giving it an unusual and lovely appearance. Glo-Fish Betta which has been traded is currently available in six different colors: Electric Green, Cosmic Blue, Starfire Red, Sunburst Orange, Moonrise Pink, and Galactic Purple. In 1999, the National University of Singapore produced the Glofish by isolating Green Fluorescent Protein (GFP) from jellyfish and injecting it into Zebrafish embryos, causing them to glow. The idea is to develop a fish that can detect pollution by glowing in the presence of toxins in the environment.

            Currently, various kinds of ornamental fish have been genetically modified to become glowing fish with the trade name Glofish. Zebrafish, Black Skirt Tetra, Sumatran Tiger Barb, and Betta are among the species imported for breeding in Thailand, however Angel Fish, Rainbow Shark, Cichlid, Oscar, Pompadour, and others are not.

            Currently, numerous nations oppose the use of GMOs in living organisms due to the potential for genetic contamination of indigenous species, particularly ornamental fish. Once genetic pollution infiltrates gene pools, its eradication becomes challenging, often resulting in the extinction of native species, a significant source of apprehension.

This could potentially detrimentally affect Thailand's ornamental fish sector, particularly impacting Betta species. Betta, notably the Glofish Betta variant, has been genetically altered and introduced into the ornamental fish market for the past two years, including its introduction to Thailand for hybridization purposes.

            This poses a significant threat to Thailand's Betta industry as these modified fish can interbreed and transmit their luminescent traits to subsequent generations. Consequently, genetic contamination has ensued within the native Siamese fighting fish population. Thailand's Betta industry has been yielding approximately 20 million fish annually for export, amounting to a total value of 200 million Baht per year, with Betta reigning as a top exported ornamental fish for over two decades. Initially, some countries may find the hybridization of Glofish intriguing, enhancing their vibrancy and distinctiveness. However, the global proliferation of anti-GMO sentiments in animal and plant sectors may adversely affect the livelihoods of numerous farmers, producers, and exporters.

The opposition to GMOs by many countries necessitates additional scrutiny of genetically modified aquatic animals, resulting in increased time for export procedures and leading to delays in the exportation of ornamental fish, which may cause inconvenience and loss of time and the fish's health. For initial screening, UV Blacklight can be used to illuminate and inspect samples. The detailed examination requires DNA testing using PCR (Polymerase Chain Reaction) or Real-Time PCR techniques. This is complex and often comes with high costs.

 

Thailand became the 128th member country to join the Cartagena Protocol on Biosafety on 8 February 2006. Currently, there are 139 member countries in the Protocol. This protocol delineates procedures aimed at mitigating the risks associated with GMOs on biodiversity, the environment, and human health. Consequently, if Thailand opts to cultivate GMO fish, it may face international trade barriers, including restrictions on the importation of ornamental fish or even a total prohibition on trading ornamental fish suspected to be GMOs.

   In Thailand any person who cultivates genetically modified fish will be considered to have committed an offense under Articles 65 and 144 of the Royal Ordinance on Fisheries, B.E. 2558 (2015) and its amendments, as well as the Notification of the Ministry of Agriculture and Cooperatives on the Determination of Aquatic Animals Prohibited from Breeding in the Kingdom of Thailand, B.E. 2564 (2021), aims to safeguard aquatic animals and ecosystems from potential harm. It strictly prohibits the cultivation of fish that have been genetically modified

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา