การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance (MCS) in Southeast Asia) ภายใต้โครงการ SEA-IUU Fishing Programme ของกรอบความร่วมมือ RPOA-IUU ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance (MCS) in Southeast Asia) ภายใต้โครงการ SEA-IUU Fishing Programme ของกรอบความร่วมมือ RPOA-IUU ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 

 คลังความรู้  ข้อมูลเผยเเพร่  ข้อมูลเผยเเพร่ อื่นๆ

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

โครงการ Combating IUU Fishing and Promoting Sustainable Fisheries in Southeast Asia program (หรือ SEA-IUU Fishing Program) ที่ดำเนินการโดยกรมวิชาการเกษตร การประมง และป่าไม้ (DAFF) ของเครือรัฐออสเตรเลีย เป็นโครงการระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) ที่จะให้การสนับสนุนในการปรับปรุงกลไกการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวังการทำการประมง (MCS) และเสริมสร้างความเข้มแข็งกับความร่วมมือในการบริหารจัดการทรัพยากรและ MCS ในระดับภูมิภาคกับกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศ RPOA - IUU Participating Country ซึ่งการฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance Training Course) เป็น Component หนึ่งภายใต้โครงการ SEA-IUU Fishing Programme ของกรอบความร่วมมือ RPOA-IUU ดังกล่าว โดยได้เปิดโอกาสให้กับเจ้าหน้าที่กรมประมงของประเทศสมาชิก RPOA – IUU สมัครเข้ารับการคัดเลือกให้ฝึกอบรม ณ มหาวิทยาลัย Nha Trang University เมืองญาจาง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ใน 2 ช่วง (ช่วงละ 3 สัปดาห์) คือ 1) เดือนเมษายน - พฤษภาคม และ 2) เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน โดยจะมีการฝึกอบรมจำนวน ทั้งสิ้น 3 รุ่น รุ่นละ 40 ราย รวมทั้งโครงการ 120 ราย โดยเครือรัฐออสเตรเลียจะสนับสนุนค่าโดยสารเครื่องบินระหว่างประเทศ ค่าที่พัก ค่าเดินทางในต่างประเทศ และค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับผู้ผ่านการคัดเลือก

การฝึกอบรมมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) ของการทำการประมง ให้กับเจ้าหน้าที่ประมงที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคอาเซียน เพื่อก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันในอนาคต รวมทั้งจะเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ กรอบกฎหมาย และประสบการณ์ด้านการแก้ไขปัญหาการประมงผิดกฎหมายระหว่างกัน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้าน MCS ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้หลักสูตรของการฝึกอบรมจะเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ ด้าน MCS ประกอบด้วย สถานการณ์ปัจจุบันและปัญหาการประมงผิดกฎหมายในภูมิภาคอาเซียน กรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ MCS การบริหารจัดการทรัพยากรประมง การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อสนับสนุนงาน MCS กลไกและเครื่องมือด้าน MCS บทบาทและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประมง การปฏิบัติการด้าน MCS ณ ท่าเทียบเรือและในทะเล ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน มิติทางสังคมและความเท่าเทียมทางด้านประมง และความร่วมมือด้าน MCS ในภูมิภาคอาเซียน

ปัจจุบัน การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance (MCS) in Southeast Asia) ได้เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรมแล้วจำนวน 2 รุ่น ระหว่างปี 2566 - 2567 และกรมประมงได้ส่งข้าราชการจำนวน 6 รายจาก กบร. กรป. กบม. กพท. และ กปต. เข้าร่วมการฝึกอบรมในรุ่นที่ 1 และอยู่ระหว่างเสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกการฝึกอบรมในรุ่นที่ 2 อีกจำนวน 14 ราย ซึ่งยังไม่ได้ประกาศผลการคัดเลือก อย่างไรก็ตามข้าราชการกรมประมงที่ปฏิบัติงานด้าน MCS ที่สนใจจะสมัครคัดเลือกเขารับการฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance (MCS) in Southeast Asia) รุ่นที่ 3 (รุ่นสุดท้าย) ในปี 2568 สามารถสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในช่วงเดือนมกราคม 2568 ซึ่งกองประมงต่างประเทศจะแจ้งเวียนให้หน่วยงานรับทราบอีกครั้ง ทันทีที่มีการเปิดรับสมัคร

Monitoring, Control and Surveillance (MCS) in Southeast Asia) under SEA-IUU Fishing Programme, RPOA-IUU Cooperation Framework, Viet Nam

The "Combating IUU Fishing and Promoting Sustainable Fisheries in Southeast Asia Program" (SEA-IUU Fishing Program), conducted by the Department of Agriculture, Fisheries, and Forestry (DAFF) of the Australian government, is a five-year program (2022 - 2026) aimed at supporting the enhancement of mechanisms for monitoring, control, and surveillance (MCS) of fishing activities and strengthening cooperation in resource management and MCS at the regional level with the ASEAN member states and RPOA-IUU Participating Countries. The Monitoring, Control, and Surveillance Training Course is one component under the SEA-IUU Fishing Program of the RPOA-IUU cooperation framework. This initiative offers opportunities for fisheries officials from RPOA-IUU participating countries to apply for it. The training will take place at Nha Trang University, situated in Nha Trang, Vietnam. Spanning over six weeks, the program will be divided into two sessions, each lasting three weeks: 1. from April to May, and 2. From October to November. A total of 120 participants organized into three batches, with 40 participants per batch will benefit from this initiative. Selected participants will receive comprehensive support from the Australian government, covering airfare, accommodation, international travel expenses, and per diem allowances.

The training aims to enhance understanding, both theoretically and practically, of MCS among relevant fisheries officials in the ASEAN region. This is to foster effective collaborative resolution of legal fisheries violations in the future. Additionally, it aims to provide opportunities for exchanging ideas, knowledge, legal frameworks, and experiences in addressing illegal fishing among participants. Furthermore, it intends to establish networks among MCS practitioners in the ASEAN region. The training will cover various aspects of MCS, including current situations and illegal fishing issues in the ASEAN region, relevant legal frameworks, fisheries resource management, collection of quantitative and qualitative data, MCS mechanisms and tools, roles and responsibilities of fisheries officials, MCS operations at ports and sea, operational safety, social dimensions, gender equality in fisheries, and MCS cooperation in the ASEAN region.

The MCS training in Southeast Asia is currently accepting applications for the sessions scheduled between 2023 and 2024. The first batch has already commenced, with six fishery biologists from various divisions within the Department of Fisheries (DoF) actively participating. These divisions include the Fishing and Fleets Management Division, Fisheries Resources Management and Measures Determination Division, Marine Fisheries Research and Development Division, and Fisheries Foreign Affairs Division. Furthermore, 14 additional fishery biologists are presently being considered for the upcoming second batch. For those DoF fishery biologists involved in MCS activities who aspire to join the training for the third and final batch in January 2024, application fees will be waived. The Fisheries Foreign Affairs Division will promptly notify pertinent agencies once the application process reopens.

 

 

 

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา