กรมประมงชี้แจงกรณีแก้ไขมาตรา 66 พ.ร.ก.ประมงฉบับใหม่ ยัน! ไม่กระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา

 สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

กรมประมงชี้แจงกรณีแก้ไขมาตรา 66 พ.ร.ก.ประมงฉบับใหม่ ยัน! ไม่กระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา 

ข่าวกิจกรรม

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

กรมประมงชี้แจงกรณีแก้ไขมาตรา 66 พ.ร.ก.ประมงฉบับใหม่  ยัน! ไม่กระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา..คลิก

  นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการแก้ไขมาตรา 66 ของ พ.ร.ก. การประมงฉบับใหม่ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีหนังสือจากองค์การสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA ) แจ้งผลการพิจารณามายังประเทศไทยว่าเครื่องมือประมงบางชนิดมีผลกระทบต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเกินเกณฑ์ที่กำหนด นั้น

         กรมประมงขอชี้แจงว่า สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายว่าด้วยการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำเพื่อคุ้มครองสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม Marine Mammal Protection Act 1972 และที่แก้ไขเพิ่มเติมปี 1992 และ 1994: (MMPA) โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งกำหนดให้ประเทศคู่ค้ากว่า 130 ประเทศทั่วโลก ต้องส่งข้อมูลสินค้าสัตว์น้ำที่ต้องการส่งออกว่าไม่ได้มาจากการจับสัตว์น้ำที่กระทบต่อการบาดเจ็บ ตาย และการดำรงอยู่ของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อให้ทางสหรัฐอเมริกาประเมินความเท่าเทียมทางกฎหมาย (Comparability Findind) ที่เกี่ยวข้องกับ MMPA ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าทั่วโลก และได้มีการขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายจาก 1 มกราคม 2566 เป็น 1 มกราคม 2569 นั้น กรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มีการจัดส่งข้อมูลการดำเนินการของประเทศไทยภายใต้กฎหมาย MMPA ให้กับสหรัฐอเมริกามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 จนล่าสุดประเทศไทยได้ยื่นประเมินความเท่าเทียม ผ่านระบบ International Affairs Information Capture and Reporting System: IAICRS เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรายละเอียดการยื่นรายการสินค้าในกลุ่มที่ได้จากเครื่องมือประมงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการตายของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด (Export fisheries) จำนวน 27 รายการ จาก 15 เครื่องมือประมงที่ทำการประมงในประเทศไทย เช่น ลอบหมึกสาย อวนล้อมจับ อวนลากคู่ อวนติดตา เป็นต้น และความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568 ทาง NOAA ได้แจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นของประเทศไทยตามกฎหมาย MMPA โดยระบุว่ารายการประมงที่ 2425 สัตว์น้ำที่ได้จากเครื่องมือประมงอวนติดตาพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยมีผลกระทบต่อโลมาอิรวดีเกินเกณฑ์ที่กำหนด และขอให้ประเทศไทยส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายในวันที่ 1 เมษายน 2568 ซึ่งภายหลังจากที่ทราบผลการพิจารณากรมประมงได้เร่งจัดประชุมหน่วยงานภายในและหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนในการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ NOAA แจ้ง เพื่อป้องกันมิให้สินค้าประมงจากเครื่องมืออวนติดตา ได้แก่ สัตว์น้ำกลุ่มปลาทู ปลาลัง ปลาอินทรี ปลาจาระเม็ด ปลาหลังเขียว ได้รับผลกระทบด้านการส่งออก ซึ่งปัจจุบันสัตว์น้ำกลุ่มนี้มีปริมาณการส่งออกประมาณปีละ 930 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 250 ล้านบาทต่อปี

         อธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อกังวลในการแก้ไข พ.ร.ก. การประมงปี 2558 มาตรา 66 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินมาตรการคุ้มครองสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมดังกล่าว กรมประมงขอเรียนว่า การปรับแก้กฎหมายในมาตราดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิตสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ในกรณีที่ติดเรือหรือติดเครื่องมือทำการประมงโดยบังเอิญและชาวประมงได้ปล่อยลงทะเลในทันทีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิตให้ถือว่าไม่มีความผิด และเพิ่มเติมให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม มีอำนาจในการสำรวจ ศึกษาวิจัย และสำหรับหน่วยงานอื่นที่ต้องการศึกษาวิจัยสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมยังคงต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงเป็นกรณีไป ส่วนการกระทำอื่นใดที่ยังเป็นการกระทำโดยจงใจเพื่อจับ ล่า หรือทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ยังคงเป็นความผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมาย และยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 อีกด้วย นอกจากนี้ กรมประมงยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ทะเลเลี้ยงลู

กรมประมงชี้แจงกรณีแก้ไขมาตรา 66 พ.ร.ก.ประมงฉบับใหม่

ยัน! ไม่กระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา

 

         นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการแก้ไขมาตรา 66 ของ พ.ร.ก. การประมงฉบับใหม่ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีหนังสือจากองค์การสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration: NOAA ) แจ้งผลการพิจารณามายังประเทศไทยว่าเครื่องมือประมงบางชนิดมีผลกระทบต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเกินเกณฑ์ที่กำหนด นั้น

         กรมประมงขอชี้แจงว่า สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายว่าด้วยการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำเพื่อคุ้มครองสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม Marine Mammal Protection Act 1972 และที่แก้ไขเพิ่มเติมปี 1992 และ 1994: (MMPA) โดยมีสาระสำคัญส่วนหนึ่งกำหนดให้ประเทศคู่ค้ากว่า 130 ประเทศทั่วโลก ต้องส่งข้อมูลสินค้าสัตว์น้ำที่ต้องการส่งออกว่าไม่ได้มาจากการจับสัตว์น้ำที่กระทบต่อการบาดเจ็บ ตาย และการดำรงอยู่ของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม เพื่อให้ทางสหรัฐอเมริกาประเมินความเท่าเทียมทางกฎหมาย (Comparability Findind) ที่เกี่ยวข้องกับ MMPA ระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้าทั่วโลก และได้มีการขยายระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมายจาก 1 มกราคม 2566 เป็น 1 มกราคม 2569 นั้น กรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ได้มีการจัดส่งข้อมูลการดำเนินการของประเทศไทยภายใต้กฎหมาย MMPA ให้กับสหรัฐอเมริกามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 จนล่าสุดประเทศไทยได้ยื่นประเมินความเท่าเทียม ผ่านระบบ International Affairs Information Capture and Reporting System: IAICRS เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรายละเอียดการยื่นรายการสินค้าในกลุ่มที่ได้จากเครื่องมือประมงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการตายของสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมเกินเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนด (Export fisheries) จำนวน 27 รายการ จาก 15 เครื่องมือประมงที่ทำการประมงในประเทศไทย เช่น ลอบหมึกสาย อวนล้อมจับ อวนลากคู่ อวนติดตา เป็นต้น และความเคลื่อนไหวล่าสุด เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568 ทาง NOAA ได้แจ้งผลการพิจารณาเบื้องต้นของประเทศไทยตามกฎหมาย MMPA โดยระบุว่ารายการประมงที่ 2425 สัตว์น้ำที่ได้จากเครื่องมือประมงอวนติดตาพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยมีผลกระทบต่อโลมาอิรวดีเกินเกณฑ์ที่กำหนด และขอให้ประเทศไทยส่งข้อมูลเพิ่มเติมภายในวันที่ 1 เมษายน 2568 ซึ่งภายหลังจากที่ทราบผลการพิจารณากรมประมงได้เร่งจัดประชุมหน่วยงานภายในและหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนในการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมตามที่ NOAA แจ้ง เพื่อป้องกันมิให้สินค้าประมงจากเครื่องมืออวนติดตา ได้แก่ สัตว์น้ำกลุ่มปลาทู ปลาลัง ปลาอินทรี ปลาจาระเม็ด ปลาหลังเขียว ได้รับผลกระทบด้านการส่งออก ซึ่งปัจจุบันสัตว์น้ำกลุ่มนี้มีปริมาณการส่งออกประมาณปีละ 930 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 250 ล้านบาทต่อปี

         อธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากข้อกังวลในการแก้ไข พ.ร.ก. การประมงปี 2558 มาตรา 66 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินมาตรการคุ้มครองสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมดังกล่าว กรมประมงขอเรียนว่า การปรับแก้กฎหมายในมาตราดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิตสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ในกรณีที่ติดเรือหรือติดเครื่องมือทำการประมงโดยบังเอิญและชาวประมงได้ปล่อยลงทะเลในทันทีโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยชีวิตให้ถือว่าไม่มีความผิด และเพิ่มเติมให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม มีอำนาจในการสำรวจ ศึกษาวิจัย และสำหรับหน่วยงานอื่นที่ต้องการศึกษาวิจัยสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมยังคงต้องขออนุญาตจากอธิบดีกรมประมงเป็นกรณีไป ส่วนการกระทำอื่นใดที่ยังเป็นการกระทำโดยจงใจเพื่อจับ ล่า หรือทำให้เกิดอันตรายต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม ยังคงเป็นความผิดที่ต้องรับโทษตามกฎหมาย และยังมีความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 อีกด้วย นอกจากนี้ กรมประมงยังได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติเพื่อการอนุรักษ์และบริหารจัดการสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม พ.ศ. 2566 – 2570 เพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการบริหารจัดการการอนุรักษ์สัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยให้เกิดความยั่งยืน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้าในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ทะเลเลี้ยงลู

 Tags

  •   Hits
  • สัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนและภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568  สัมมนาเชิงปฏิบัติการเครือข่ายข้อมูลข่าวสารภาคประชาชนและภาครัฐประจำปีงบประมาณ พ.ศ... จำนวนผู้อ่าน 45  ร่วมรับมอบเกียรติบัตรโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จังหวัดนครสวรรค์ ประจำปี พ.ศ. 2567 ร่วมรับมอบเกียรติบัตรโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการป... จำนวนผู้อ่าน 33 ประมงอำเภอบรรพตพิสัย ร่วมมอบเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี  ประมงอำเภอบรรพตพิสัย ร่วมมอบเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนต... จำนวนผู้อ่าน 33 ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับอำเภอ ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรระดับอำเภอ  จำนวนผู้อ่าน 30 ประมงอำเภอลาดยาว พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรม ราชชนนีพันปีหลวง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประจำปี พุทธศักราช 2568 ประมงอำเภอลาดยาว พิธีเจริญพระพุทธมนต์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... จำนวนผู้อ่าน 29 ประมงอำเภอหนองบัว ร่วมกิจกรรม  ประมงอำเภอหนองบัว ร่วมกิจกรรม "อำเภอบำบัดทุกข์ สร้างสุข" ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25... จำนวนผู้อ่าน 28 ลงพื้นที่เพื่อประชาคมโครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง (การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำชุมชนเพิ่มรายได้และลดค่าครองชีพ) ลงพื้นที่เพื่อประชาคมโครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง (การเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแ... จำนวนผู้อ่าน 27 ประมงอำเภอเก้าเลี้ยว ร่วมประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำเดือนมีนาคม 2568 ประมงอำเภอเก้าเลี้ยว ร่วมประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าส่วนราชการ ประจำเดือนม... จำนวนผู้อ่าน 26 ประชาสัมพันธ์ การขายทอดตลาดครุภัณฑ์ที่ชำรุดใช้การไม่ได้ ของหน่วยขุดลอกและกำจัดวัชพืชบึงบอระเพ็ด จำนวน 1 รายการ ประชาสัมพันธ์ การขายทอดตลาดครุภัณฑ์ที่ชำรุดใช้การไม่ได้ ของหน่วยขุดลอกและกำจัดวั... จำนวนผู้อ่าน 25 พิธีเปิดโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้า(พักชำระหนี้ ระยะที่ 2)  พิธีเปิดโครงการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพลูกค้า(พักชำระหนี้ ระยะที่ 2)   จำนวนผู้อ่าน 23 โครงการกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี สู่ชุมชนต้นแบบในพื้นที่ชุ่มน้ำบึงบอระเพ็ด แบบโลว์คาร์บอน โครงการกิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี สู่ชุมชนต้นแบบในพื้นที่ชุ่มน้ำบึ... จำนวนผู้อ่าน 22 กรมประมงชี้แจงกรณีแก้ไขมาตรา 66 พ.ร.ก.ประมงฉบับใหม่  ยัน! ไม่กระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงไปยังสหรัฐอเมริกา กรมประมงชี้แจงกรณีแก้ไขมาตรา 66 พ.ร.ก.ประมงฉบับใหม่ ยัน! ไม่กระทบต่อการส่งออกสิ... จำนวนผู้อ่าน 21 ประมงอำเภอพยุหะคีรี ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ครั้งที่ 3/2568 ประมงอำเภอพยุหะคีรี ร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส... จำนวนผู้อ่าน 21 ประมงอำเภอชุมแสง ร่วมประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน กรณีได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมบ่อปลา ปี 2567 ประมงอำเภอชุมแสง ร่วมประชุมคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน กรณีได้รับผลกระทบจากน้ำท่ว... จำนวนผู้อ่าน 20 ประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 1/2568 ประชุมคณะกรรมการลุ่มน้ำเจ้าพระยา ครั้งที่ 1/2568  จำนวนผู้อ่าน 18


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 สำนักงานประมงจังหวัดนครสวรรค์

    รายละเอียด ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ (หลังเดิม ชั้น 2 ) ถนนสวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000  email  fpo-nakhonsawan@dof.in.th  โทรศัพท์ 0-5680-3547  FAX 0-5680-3548  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6