Q&A กรมประมง

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม  โดยผู้จัดทำเว็บไซด์  ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี


*** ใส่ Email ระบบจะเเจ้งกลับอัตโนมัติเมื่อมีผู้ตอบกระทู้

 นายณัฐพงศ์ มหาสวัสดิ์

 2025-07-16 19:24 น.

 ต้องการส่งออกสินค้าวัตุดิบอาหารทะเลไปฮ่องกง

ต้องการส่งออกสินค้าอาหารทะเล ทั้งสด เช่น ปูม้า ปลาเก๋า และกุ้งลายเสือ และมีชีวิต เช่น ปูลายเสือ ปูม้าเป็น  รวมทั้งอาหารแปรรูป เช่น เนื้อปูพาสเจอร์ไรส์บรรจุกระป๋อง ต้องดำเนินการขออนุญาต และมีเอกสารที่จำเป็นอะไรบ้างที่ต้องขอรับรองจากกรมประมง

 ภรภัทร สิงห์เรือง

 2025-07-15 15:13 น.

 นำเข้าสาหร่ายเป็นน้ำที่ผสมหัวเชื้อเพื่อใช้ในการเกษตร

อยากทราบค่ะว่าการนำเข้าสาหร่ายในรูปแบบน้ำ เป็นสาหร่ายจากธรรมชาติ ที่ผสมหัวเชื่ออาหารเสริมสำหรับพืชต่างๆ ใช้ในการเกษตร จะต้องขออนุญาตกับทางกรมประมงหรือไม่คะ

หากไม่ต้องขอกับทางกรมประมง ก็ยังคงต้องขอกับทางกรมวิชาการเกษตร (พก.5) ด้วยหรือไม่คะ

(ในกรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตกับทางประมง จะหาเอกสารอ้างอิง, ยกเว้น ได้จากที่ไหนคะ)

และเอกสารไม่มี e-phyto ค่ะจะต้องดำเนินการอย่างไรคะ

 

 

ขอบคุณค่ะ

 จิรัฐติกาล ใจเร็ว

 2025-07-15 00:34 น.

 ปลาเผาะหรือปลาโมง

1.อยากทราบว่าปลาเผาะหรือปลาโมงเป็นปลาที่นำเข้าหรือเป็นปลาที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้วคะ

2.ถ้าใช่ เป็นปลานำเข้าจากประเทศอะไรคะ

3.สามารถหาซื้อพันธ์ุปลาได้จากที่ไหน

 เหมชาติ

 2025-06-24 10:12 น.

 อยากทราบว่าจะขอนำเข้า ปะการัง จากต่างประเทศ เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย และส่งออก

อยากทราบว่าจะขอนำเข้า ปะการัง(จากต่างประเทศ) เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย และส่งออกต่างประเทศ ต้องขออนุญาตจากที่ไหน ขั้นตอนในการดำเนินการ และกฏระเบียบข้อบังคับ มีอะไรบ้าง 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-06-30 11:52 น.

 

เรียน  คุณเหมชาติ

Q :  อยากทราบว่าจะขอนำเข้า ปะการัง จากต่างประเทศ เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทย และส่งออก
อยากทราบว่าจะขอนำเข้า ปะการัง (จากต่างประเทศ) เข้ามาเพาะเลี้ยงในประเทศไทยและส่งออกต่างประเทศ ต้องขออนุญาตจากที่ไหน
ขั้นตอนในการดำเนินการ และกฎระเบียบข้อบังคับมีอะไรบ้าง?
A :  ผู้นำเข้าสามารถลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ (ครั้งแรก) และขออนุญาตนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำกับศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมง/ด่านตรวจประมง
ผ่านระบบ Fisheries Single Window (FSW) ได้เลยครับ ส่วนขั้นตอนและเอกสารประกอบในการยื่นขออนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
สามารถดำเนินการตาม ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตนำเข้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก website ของกลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออก กองตรวจสอบเรือประมงสินค้าสัตว์น้ำและปัจจัยการผลิต ได้เลยครับ
     ในกรณีการนำเข้าปะการัง ต้องพิจารณาก่อนว่า ปะการังที่จะขออนุญาตนั้น เป็นชนิดไหน เนื่องจากมีปะการังบางชนิดที่อยู่ใน บัญชี CITES
ซึ่งต้องขอใบอนุญาต CITES ก่อนการขออนุญาตนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ หรือปะการังบางชนิดอาจจำเป็นต้องขออนุญาตนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ
หรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตามมาตรา 65 (สัตว์น้ำต่างถิ่น) ซึ่งจำเป็นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการด้านความหลากหลายและความปลอดภัยทางชีวภาพของกรมประมง
(Institutional Biosafety Committee: IBC) ก่อนถึงจะสามารถนำเข้าสินค้าได้ครับ
หากผู้นำเข้าส่งออกต้องการข้อมูลที่ชัดเจน สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68061328000003C

 ศศิวิมล ทิมละม่อม

 2025-06-13 10:45 น.

 เอกสารนำเข้ากระเพราะปลา ทางเครื่องบิน

สอบถามเกี่ยวกับ เอกสารที่ใช้นำเข้ากระเพราะปลาทางเครื่องบินตามนี้ใช่มั้ยคะ 

1. invoice

2. Packing list

3. AWB

4. Health certificate

5. COO

6. ใบขนขาออก

7. HACCP 

8. อ.7

ตามนี้มั้ยคะ และทางเรามี Health cer.แต่ว่าImporter ไม่ตรงกับอ.7 ที่ใช้ เป็นอะไรมั้ยคะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-06-18 09:33 น.

 

เรียน  ศศิวิมล
Q :  เอกสารนำเข้ากระเพาะปลา ทางเครื่องบิน สอบถามเกี่ยวกับเอกสารที่ใช้นำเข้ากระเพาะปลาทางเครื่องบินตามนี้ใช่ไหมคะ
A :  ในเบื้องต้นเอกสารที่ใช้ประกอบการนำเข้าถูกต้องครับ แต่ทั้งนี้ทางหน่วยงานจำเป็นต้องรู้ลักษณะรายละเอียดของสินค้าให้ชัดเจนกว่านี้ ว่าเป็นแบบไหน
เข้าพิกัดอะไรถึงจะสามารถให้คำตอบที่แน่ชัดได้ครับ ส่วนในกรณีเอกสาร อ.7 นั้น หากผู้นำเข้านำเข้ามาเพื่อจำหน่ายเลย ชื่อผู้นำเข้าไม่ต้องตรงเอกสาร อ.7 ได้ครับ
แต่ในกรณีนำเข้ามาเพื่อเก็บไว้ก่อนแล้วค่อยจำหน่าย ในกรณีนี้ชื่อผู้นำเข้าต้องตรงกับเอกสาร อ.7 ครับ
       หากต้องการรายละเอียดในการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่
กลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง 
หรือติดต่อ 02-5612390

 ความคิดเห็นเลขที่: 68061328000001C

 สิราวรรน ทับเพียน

 2025-05-13 15:16 น.

 การรยื่นขอการรับรอง HACCP จากกรมประมง

 ขอสอบถามว่า กรณีบริษัท ซื้อปลาโออบแห้งเป็น ชิ้นๆจากผู้ผลิต ประเทศฟิลิปปินส์ เข้ามา เพื่อทำเป็น  ปลาโออบแห้งไสลด์  ที่นี้ ทางลูกค้าต้องการ ให้เราขึ้นทะเบียนกับกรมประมง เพื่อใช้ ใบ cer HACCP และอาจใช้ Health Cer ด้วย ขอสอบถามดังนี้ค่ะ 1.เราจำเป็นต้อง ซื้อปลา โออบแห้ง ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงไว้หรือไม่  2. หากเราขึ้นทะเบียนกับกรมประมง  จะเข้าข่ายสินค้าพื้นเมืองใหมคะ  3. กรณี กำหนด ค่า histamine จะอยู่ ที่ 100 ppm ใหมคะ    

 

 

ขอบคุณค่ะ

 สิราวรรน ทับเพียน

 2025-05-16 16:40 น.

 

ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ

ขอชี้แจ้งเพิ่มเติมค่ะ  ในข้อที่ 1 ทางบริษํทบอก Proocess ผิดค่ะ ที่ถูกต้องคือ เราซื้อ ปลาอบแห้งเป็นชิ้นๆที่แช่แข็งมาจากฟิลิปปินส์ แล้วนำมา  1. Defrost ที่ room temp 1 คืน  2. Stream 110 องศา 20 นาที 3. สไลด์  4. ร่อนเพื่อแยกขนาด 5. บรรจุใส่ถุง 

ข้อ 2. รับทราบค่ะ

ข้อ 3. histamine ประเทศไทยค่ะ

 

ขอรบกวนอีกครั้งนะค่ะ

 

 ความคิดเห็นเลขที่: 68051328000002C

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-05-16 16:04 น.

 

เรียน   ผู้ประกอบการ

          จากข้อคำถามที่สอบถามมา สรุปได้ว่า บริษัทฯ รับซื้อ “ผลิตภัณฑ์ปลาโออบแห้งหั่นชิ้น” นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์
และมีข้อคำถามที่สามารถแบ่งออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1. “จำเป็นต้องซื้อปลาโออบแห้งที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงไว้หรือไม่” 
2. “หากเราจะขึ้นทะเบียนกับกรมประมง จะเข้าข่ายสินค้าพื้นเมืองไหมคะ”
3. “กรณี กำหนด ค่า histamine จะอยู่ที่ 100 ppm ไหมคะ”

         ในการจะตอบคำถามข้างต้น เบื้องต้น ขอชี้แจงก่อนว่า ในกระบวนการรับรองสินค้าเพื่อการส่งออกของกรมประมง
บริษัทผู้ผลิตจำเป็นต้องมี “ขั้นตอนการผลิตหลัก” เช่น ในกรณีนี้ สินค้าที่บริษัทฯ ต้องการส่งออก ได้แก่ ปลาโออบแห้งสไลด์
ซึ่งขั้นตอนการผลิตหลัก ได้แก่ ขั้นตอนการอบแห้ง แต่บริษัทฯ แจ้งว่า รับซื้อปลาโอ “อบแห้ง” ซึ่งเป็นขั้นตอนการผลิตหลัก มาจากผู้ผลิตในประเทศฟิลิปปินส์
โดยบริษัทฯ มีขั้นตอน “สไลด์” เท่านั้น ดังนั้น ผลการพิจารณาเบื้องต้น คือ กรมประมง “ไม่สามารถ” รับรองกระบวนการผลิตและสินค้าดังกล่าวของบริษัทฯ ได้
ย่างไรก็ตาม ขอตอบข้อคำถามอีก 2 ข้อ ดังนีh
ข้อที่ 2. “หากเราจะขึ้นทะเบียนกับกรมประมง จะเข้าข่ายสินค้าพื้นเมืองไหมคะ”
             ตอบ สินค้า “ปลาโออบแห้งสไลด์” จัดอยู่ในกลุ่มสินค้าพื้นเมือง
ข้อที่ 3. “กรณี กำหนด ค่า histamine จะอยู่ที่ 100 ppm ไหมคะ”
             ตอบ เนื่องจากมาตรฐานปริมาณฮิสตามีนในสินค้าจะแตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทสินค้าและประเทศผู้นำเข้ากำหนด
ซึ่งในคำถามไม่ได้ระบุประเทศปลายที่จะส่งสินค้าไป จึงไม่สามารถจะระบุเฉพาะเจาะจงค่ามาตรฐานของฮิสตามีนได้
เช่น มาตรฐานปริมาณฮิสตามีนในกลุ่มสินค้า dried/ smoked/ snack/ powder fish (เฉพาะปลากลุ่มที่สร้างฮิสตามีน)
ส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดไว้ที่ 400 ppm ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกากำหนดไว้ที่ 50 ppm ในกลุ่มชนิดสินค้าเดียวกัน เป็นต้น

ทั้งนี้ บริษัทฯ สามารถค้นหาข้อมูลมาตรฐานปริมาณฮิสตามีนในกลุ่มสินค้าต่าง ๆ แยกตามประเทศปลายทางได้ที่เว็บไซต์
กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง หรือสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมมายังกลุ่มตรวจประเมินระบบคุณภาพแหล่งแปรรูป
กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง โทร. 0 2562 0600-15 ต่อ 13405-6
ทั้งนี้ ขอแจ้งแนวทางในการขอการรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกของกรมประมง ดังนี้
1. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกของกรมประมง โดยสามารถสืบค้นรายละเอียดได้ที่ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_blog2/1388/74618/2460
2. ยื่นคำขอรับรองโรงงาน พร้อมแนบเอกสารประกอบมายังกรมประมงตามหน่วยงานในเขตพื้นที่จังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ สถานที่ติดต่อขอการรับรอง ดังนี้
2.1 โรงงานที่มีสถานประกอบการในเขตจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์
ติดต่อศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงสมุทรสาคร
ที่ตั้ง 127 หมู่ 8 ต.โคกขาม อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
โทรศัพท์ 0 3445 7424, 0 3441 0510-15
E-mail: srfirc_center@dof.mail.go.th
2.2 โรงงานที่มีสถานประกอบการในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช
ติดต่อศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงสุราษฎร์ธานี
ที่ตั้ง 20/62 หมู่ 7 ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130
โทรศัพท์ 0 7731 0728, 0 7731 0845, 0 7738 0660
E-mail: srt_center@dof.mail.go.th
2.3 โรงงานที่มีสถานประกอบการในเขตจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ พัทลุง สงขลา ตรัง สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ติดต่อศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงสงขลา
ที่ตั้ง 79/2 ถ.วิเชียรชม ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 74000
โทรศัพท์ 0 7431 2037
E-mail: fiqd_songkhla@dof.mail.go.th
2.4 โรงงานที่มีสถานประกอบการนอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ติดต่อกลุ่มตรวจประเมินระบบคุณภาพแหล่งแปรรูป
กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง อาคารปรีดา กรรณสูต เกษตรกลาง จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 
โทรศัพท์ 0 2562 0600-15 ต่อ 13405-6
E-mail: bkk_inspection@dof.mail.go.th
3. หากคำขอฯ และเอกสารประกอบถูกต้องและสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่จะเข้าตรวจรับรองตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ ข้อกำหนดสุขลักษระในการผลิตผลิตภัณฑ์ประมง (Good Manufacturing Practice: GMP)
และการจัดระบบวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤตในการผลิตผลิตภัณฑ์ประมง (Hazard Analysis Critical Control Point: HACCP)
รวมถึงข้อกำหนดของประเทศปลายทาง ในกรณีที่ประเทศปลายทางมีข้อกำหนดพิเศษเพิ่มเติม (ระยะเวลาการให้บริการ ภายใน 17 วันทำการ) 
4. หากต้องการทราบรายละเอียดในส่วนของเอกสารที่ต้องประกอบการขอใบรับรองสุขอนามัย
โปรดติดต่อ กลุ่มรับรองคุณภาพสินค้าประมง กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง โทร. 0 2562 0600-15 ต่อ 13404
ขอแสดงความนับถือ
กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง 
กรมประมง โทร. 0 2562 0600-15 ต่อ 13405-6

 ความคิดเห็นเลขที่: 68051328000001C

 มะลิ แย้มพันนุ้ย

 2025-04-30 11:19 น.

 สอบถามรายชื่อผู้ประกอบการที่ส่งออกปลาหมึกอาเจน

อยากทราบรายชื่อผู้ประกอบการที่ส่งออกปลาหมึกอาเจน /เพื่อติดต่อ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-06-18 09:35 น.

 

เรียน  คุณมะลิ

         สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต ในส่วนของกลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ
กลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ 
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site2/importandexportcontrol
สถานที่ตั้ง : อาคารกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง เกษตรกลาง ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว 
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)
โทร. 02-940-6818 ต่อ 0 หรือ103 ,02-579-3614-5 ต่อ 0 หรือ103, 02-562-0600 ต่อ 2107
E-mail: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68061328000002C

 Natchaya

 2025-04-18 12:00 น.

 รับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ

อยากสอบถามว่า กรมมีตำแหน่งนักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการว่างหรือไม่คะ 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-04-29 08:55 น.

 

เรียน   คุณ Natchaya

          สามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
ที่อยู่  กลุ่มสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง กองบริหารทรัพยากรบุคคล 
อาคารจุฬาภรณ์ ชั้น 4 กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เบอร์โทรศัพท์  0 2579 5594 ,0 2562 0536
FAX  0 2579 5594 ,0 2562 0536
email : recruitment.r@personnel.mail.go.th
กลุ่มสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/personnel-recruitment

 ความคิดเห็นเลขที่: 68041328000001C

 Nattanicha

 2025-04-03 10:50 น.

 รายละเอียดการกรอกแบบฟอร์มหมายเลข 7

สอบถามรายละเอียดแบบฟอร์มหมายเลข 7

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-04-29 09:37 น.

 

เรียน   คุณ Nattanicha

          สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต ในส่วนของกลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ

กลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ 
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site2/importandexportcontrol
สถานที่ตั้ง : อาคารกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง เกษตรกลาง ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว 
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)
โทร. 02-940-6818 ต่อ 0 หรือ103 ,02-579-3614-5 ต่อ 0 หรือ103, 02-562-0600 ต่อ 2107
E-mail: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68041328000002C

 ปฏิภาณ

 2025-03-28 16:37 น.

 สอบถามผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

สินค้าเป็น สารสกัดสาหร่ายสีแดง  เป็นคอสเมติกเกรด ลักษณะกายภาพเป็นของเหลว ข้นหนึด   มีจุดประสงค์ นำมาเป็นส่วนประกอบวัตถุดิบเครื่องสำอาง ใช้ในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเส้นผมเป็นสินค้าที่ต้องดำเนิการขอใบอนุญาตการนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไหมครับ DOF 2

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-04-29 09:41 น.

 

เรียน   คุณปฏิภาณ

          สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต ในส่วนของกลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ
กลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ 
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site2/importandexportcontrol
สถานที่ตั้ง : อาคารกองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง เกษตรกลาง ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว 
เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 (ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน)
โทร. 02-940-6818 ต่อ 0 หรือ103 ,02-579-3614-5 ต่อ 0 หรือ103, 02-562-0600 ต่อ 2107
E-mail: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68041328000003C

 พลวัฒน์ โสดา

 2025-03-22 17:04 น.

 หาซื้อลูกกุ้งมังกร

ผมสามารถหาลูกกุ้งมังกรมาเพาะพันธุ์ได้จากไหนบ้างครับทั้งมังกรเลนและมังกรเจ็ดสี ขอที่อยู่หรือช่องทางการติดหน่อยได้มั้ยครับ

ขอขอบพระคุณมากๆครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-03-27 15:56 น.

 

เรียน   คุณพลวัฒน์

          สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งภูเก็ต
โทรศัพท์ : 076-510052-3 ,0887651393
https://www.facebook.com/phuketcoastal/
ที่อยู่ : 100 ม.4 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต Phuket, Thailand, Phuket 83110

หรือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพชรบุรี
โทรศัพท์ : 032473877
ที่อยู่ : 122 หมู่ที่ 1 ตำบลแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี 76100

 ความคิดเห็นเลขที่: 68031328000006C

 Team

 2025-03-21 14:55 น.

 ผลสอบ

สวัสดีค่ะ อยากทราบคะแนนสอบต้องดำเนินการอย่างไรคะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-03-27 16:05 น.

 

เรียน  ผู้สอบถาม 

 

ต้องการทราบคะแนนสอบเกี่ยวกับการสอบไหนคะ รบกวนติดต่อมาที่อีเมล secretary@fisheries.go.th นะคะ 

 ความคิดเห็นเลขที่: 68031328000007C

 นรมน หมื่นพันธ์

 2025-03-18 14:28 น.

 สอบถามข้อมูล RFMOs

ประเทศไทยเป็นสมาชิก RFMOs อะไรบ้างคะ และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนิงานเรื่องการทำการประมง IUU ของแต่ละ RFMOs ในช่องทางไหนได้บ้างคะ

ขอบคุณค่ะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-03-19 10:08 น.

 

เรียน   คุณนรมน

Q :  สอบถามข้อมูล RFMOs ประเทศไทยเป็นสมาชิก RFMOs อะไรบ้างคะ และสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนิงานเรื่องการทำการประมง IUU ของแต่ละ RFMOs ในช่องทางไหนได้บ้างคะ ขอบคุณค่ะ

A :
1. คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission : IOTC) 
2. ความตกลงการทำประมงสำหรับพื้นที่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement : SIOFA)
และในฐานะประเทศที่ให้ความร่วมมือแต่ไม่ใช่สมาชิก 2 องค์กร ได้แก่
1. คณะกรรมาธิการด้านการประมงแห่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกและตอนกลาง (Western & Central Pacific Fisheries Commission : WCPFC)
2. อนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเลในแอนตาร์กติก (Convention for the Conservation of Antarctic Marine Living Resources : CCAMLR) (ไทยให้ความร่วมมือในด้านการนำเข้าและส่งออกปลาหิมะ)

โดยในประเด็นด้านการทำประมง IUU ของแต่ละองค์กรสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 
1. กองบริหารจัดการเรือประมงและการทำการประมง
2. กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กองประมงต่างประเทศ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68031328000004C

 พรวิมล

 2025-03-17 14:29 น.

 แคลเซียมไฮโพคลอไรต์ชนิดที่ใช้ในทางการค้าและ แคลเซียมไฮโพคลอไรต์อื่น ๆ ติดใบอนุญาตนำเข้าประมง ต้องยื่นเรื่องยังไงคะ

เรียน เจ้าหน้าที่ 
 

สินค้าเป็น CALCIUM HYPROCHLORITE 70%  (คลอรีน 70%) นำเข้าพิกัด 2828.10.00 ติดใบอนุญาต กรมประมง ต้องยื่นเรื่องยังคะ รบกวนขอข้อมูลหน่อยค่ะ และต้องใช้เอกสารอะไรในการยื่นบ้างคะ 

 

 

 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-03-19 14:38 น.

 

เรียน    คุณพรวิมล

Q :  แคลเซียมไฮโพคลอไรต์ชนิดที่ใช้ในทางการค้าและแคลเซียมไฮโพคลอไรต์อื่น ๆ ติดใบอนุญาตนำเข้าประมง ต้องยื่นเรื่องยังไงคะ

สินค้าเป็น CALCIUM HYPROCHLORITE 70% (คลอรีน 70%) นำเข้าพิกัด 2828.10.00 ติดใบอนุญาต กรมประมง ต้องยื่นเรื่องยังคะ รบกวนขอข้อมูลหน่อยค่ะ และต้องใช้เอกสารอะไรในการยื่นบ้างคะ

A :  แคลเซียมไฮโปคลอไรต์เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมประมง หากผู้ประกอบการต้องการนำเข้าแต่ไม่ได้ใช้ทางประมง ต้องลงทะเบียนใช้งานระบบให้บริการและควบคุมวัตถุอันตรายผ่านระบบดิจิทัล (HAZDOF) โดยสามารถเข้าศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  YOUTUBE ช่อง hazdof หรือติดต่อที่กลุ่มควบคุมวัตถุอันตรายและการค้าปัจจัยการผลิต กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง02-5612390 แต่หากใช้ทางการประมง ต้องขอเอกสารรับรองสถานที่เก็บรักษา และขอใบแจ้งข้อเท็จจริงนำเข้าหรือส่งออก กับทางกรมประมงเพิ่มเติม 

      หากต้องการรายละเอียดในการนำเข้าส่งออกวัตถุอันตรายเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ กลุ่มควบคุมวัตถุอันตรายและการค้าปัจจัยการผลิต กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมง หรือติดต่อ 02-5612390

 ความคิดเห็นเลขที่: 68031328000005C

 สมชาย ประสพ

 2025-03-12 23:00 น.

 ขออนุญาตสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 มาตรา 63

การดักปลาด้วยตาข่ายขว้างแม่น้ำหรือลำคลอง โดยที่ความลึกของตาข่ายไม่ถึงพื้นดิน ถือเป็นการกระทำที่กั้นทางเดินของสัตว์น้ำหรือไม่ แล้วผิดกฎหมายประมงหรือป่าวครับ ขอบคุณครับ

 นฤมล สืบเชื้อ

 2025-03-05 08:22 น.

 เอกสารรับรองกรณีมีการใช้วัตถุดิบแปรรูปจากสัตว์น้ำเพื่อนำมาผลิตสินค้าส่งออกไปประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น (สอบถามเพิ่มเติม)

จากกระทู้หมายเลข 6802132800005T

สอบถามเพิ่มเติมค่ะ

มีเกณฑ์กำหนดเปอร์เซ็นของส่วนผสมที่ต้องทำการขอเอกสาร Catch Certificate ในการรับรองสินค้าที่ส่งออกหรือไม่คะ หรือแค่มีการใช้ส่วนผสมที่มีการแปรรูปจากสัตว์น้ำก็ต้องขอเอกสารรับรองคะ 

หมายเหตุ : ส่วนประกอบหลักในการผลิตซอสปรุงรสจะเป็น ซีอิ๊ว ค่ะ แต่มีการใช้วัตถุดิบจำพวก น้ำปลาและปลาอบแห้ง ในการเพิ่มรสชาติและกลิ่นของซอสปรุงรสค่ะ

 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-03-06 10:03 น.

 

เรียน   คุณนฤมล

Q : เอกสารรับรองกรณีมีการใช้วัตถุดิบแปรรูปจากสัตว์น้ำเพื่อนำมาผลิตสินค้าส่งออกไปประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น (สอบถามเพิ่มเติม)

สอบถามเพิ่มเติมค่ะ
มีเกณฑ์กำหนดเปอร์เซ็นของส่วนผสมที่ต้องทำการขอเอกสาร Catch Certificate ในการรับรองสินค้าที่ส่งออกหรือไม่คะ หรือแค่มีการใช้ส่วนผสมที่มีการแปรรูปจากสัตว์น้ำก็ต้องขอเอกสารรับรองคะ 
หมายเหตุ : ส่วนประกอบหลักในการผลิตซอสปรุงรสจะเป็น ซีอิ๊ว ค่ะ แต่มีการใช้วัตถุดิบจำพวก น้ำปลาและปลาอบแห้ง ในการเพิ่มรสชาติและกลิ่นของซอสปรุงรสค่ะ

A : หากผู้ส่งออกต้องการส่งออกสินค้าประเภท ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว ที่มีการใช้วัตถุดิบจำพวก น้ำปลาและปลาอบแห้ง ผู้ส่งออกต้องตรวจสอบพิกัดสินค้าของผู้ส่งออกกับทางสหภาพยุโรปก่อนครับ ว่าสินค้านั้นเข้าค่ายสินค้าที่ต้องขอเอกสาร Catch Certificate เป็นเอกสารประกอบในการส่งออกหรือไม่ ซึ่งหากเป็นสินค้าที่เข้าค่ายผู้ส่งออกต้องมาดำเนินการขอเอกสาร Catch Certificate ที่กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง แต่ในกรณีที่ไม่เข้าค่ายต้องขอ ผู้ส่งออกสามารถมาดำเนินการขออนุญาตส่งออกได้เลยครับ 

     ดังนั้น หากผู้ส่งออกต้องการข้อมูลที่ชัดเจน สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com 

 ความคิดเห็นเลขที่: 68031328000003C

 ศราวุฒิ ศุภถ้อย

 2025-03-03 16:01 น.

 สอบถามเกี่ยวกับเอกสาร Dissostichus export document (DED) สำหรับนำเข้า Patagonian Toothfish จากออสเตรเลีย

รบกวนสอบถามนำเข้า Patagonian Toothfish จากออสเตรเลีย ตามประกาศ การนำเข้า Toothfish ต้องแสดงเอกสาร Dissostichus export document (DED) 

คำถาม เราสามารถเข้าไปเช็ค CATCH DOCUMENT NUMBER กับ EXPORT CODE ที่ระบุอยู่ในเอกสาร Dissostichus export document (DED)  ว่า ON LINE ในระบบมั้ย ได้จากทางไหนบ้างครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-03-06 08:02 น.

 

Q : สอบถามเกี่ยวกับเอกสาร Dissostichus export document (DED) สำหรับนำเข้า Patagonian Toothfish จากออสเตรเลีย
      รบกวนสอบถามนำเข้า Patagonian Toothfish จากออสเตรเลีย ตามประกาศ การนำเข้า Toothfish ต้องแสดงเอกสาร Dissostichus export document (DED) คำถาม เราสามารถเข้าไปเช็ค CATCH DOCUMENT NUMBER กับ EXPORT CODE ที่ระบุอยู่ในเอกสาร Dissostichus export document (DED) ว่า ON LINE ในระบบมั้ย ได้จากทางไหนบ้างครับ

A : การตรวจสอบเลข CATCH DOCUMENT NUMBER กับ EXPORT CODE ที่ระบุอยู่ในเอกสาร Dissostichus export document (DED) ณ ปัจจุบัน ระบบการรายงานจะอนุญาตให้เฉพาะเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐเป็นผู้ตรวจสอบได้เท่านั้น แต่หากผู้นำเข้าต้องการตรวจสอบเลขดังกล่าว สามารถแจ้งขอเอกสารการยืนยันเพิ่มเติมให้หน่วยงานประเทศต้นทางบรรทุกช่วยตรวจสอบให้ได้ หรือประสานกับศูนย์บริหารจัดการด่านฯ/ด่านตรวจประมงฯ ในพื้นที่ที่จะขออนุญาตนำเข้าให้ช่วยตรวจสอบให้ได้ครับ

     หากผู้นำเข้าต้องการข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com ได้เลยครับ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68031328000001C

 ณัฐศจี อินโต

 2025-02-25 13:32 น.

 สอบถามการขายอาหารสำเร็จ ที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากปลา เช่นน้ำปลาหรือปลาร้า ในไทยและส่งออก

ขอสอบถามข้อกำหนดสำหรับการขายอาหารสำเร็จ ที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากปลา เช่นน้ำปลาหรือปลาร้า ในไทยและส่งออก ต้องมีข้อกำหนดหรือต้องขอเอกสารอย่างไรบ้าง 

1. สำหรับส่วนผสมที่ใข้ที่มาจากปลา เช่นน้ำปลาหรือปลาร้า ต้องมีเอกสารรับรองจาก supplier อย่างไรบ้าง

2. สำหรับผู้ผลิต (นำส่วนผสมมาใช้งานต่อในFG)  ต้องมีข้อกำหนดหรือต้องขอเอกสารอย่างไรบ้าง 

 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-03-06 08:06 น.

 

เรียน  คุณณัฐศจี

Q :  สอบถามการขายอาหารสำเร็จที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากปลา เช่น น้ำปลาหรือปลาร้า ในไทยและส่งออก
ขอสอบถามข้อกำหนดสำหรับการขายอาหารสำเร็จที่มีส่วนผสมของผลิตภัณฑ์จากปลา เช่นน้ำปลาหรือปลาร้า ในไทยและส่งออก ต้องมีข้อกำหนดหรือต้องขอเอกสารอย่างไรบ้าง 
      1. สำหรับส่วนผสมที่ใข้ที่มาจากปลา เช่นน้ำปลาหรือปลาร้า ต้องมีเอกสารรับรองจาก supplier อย่างไรบ้าง
      2. สำหรับผู้ผลิต (นำส่วนผสมมาใช้งานต่อในFG) ต้องมีข้อกำหนดหรือต้องขอเอกสารอย่างไรบ้าง

A :  สำหรับส่วนผสมที่ใข้ที่มาจากปลา เช่นน้ำปลาหรือปลาร้า ในกรณีที่ต้องการส่งออกและส่วนผสมของผลิตภัทฑ์นั้น มีส่วนผสมของสัตว์น้ำอยู่เกิน 20 % ผู้ส่งออกต้องขออนุญาตส่งออกผลิตภัทฑ์นั้นกับทางกรมประมง และแนบเอกสารที่ให้การรับรองแหล่งที่มาของปลา หรือเอกสารระบุแหล่งเพาะเลี้ยงของสัตว์น้ำนั้น มาพร้อมกับการขออนุญาตผ่านระบบ FSW และในส่วนของผู้ผลิตนั้น ผู่ส่งออกสามารถตรวจเอกสารประกอบต่างๆ ได้ เช่น ใบรับรองมาตรฐาน GMP HACCP หรือใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจได้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย หรือผู้ส่งออกอาจขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง 

หากผู้ส่งออกต้องการข้อมูลที่ชัดเจน สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com 

 ความคิดเห็นเลขที่: 68031328000002C

 NM

 2025-02-23 15:50 น.

 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับการทำประมง IUU

     ขออนุญาตสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับระบบ GIES ของ FAO และขั้นการดำเนินงานของประเทศไทยในการนำข้อมูลใส่ระบบ

     และสอบถามเพิ่มเติมถึง คู่มือการควบคุมการตรวจสอบเรือประมงต่างประเทศตามมาตรการรัฐเจ้าของท่า (PSM) ฉบับที่ 1/2561 เป็นฉบับล่าสุดหรือไม่ 

ขอบคุณค่ะ 

 นฤมล สืบเชื้อ

 2025-02-13 15:30 น.

 เอกสารรับรองกรณีมีการใช้วัตถุดิบแปรรูปจากสัตว์น้้ำเพื่อนำมาผลิตสินค้าส่งออกไปประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น

ในกรณีที่ทางบริษัทฯ มีความประสงค์จะทำสินค้าซอสปรุงรสเพื่อส่งออกไปประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น โดยมีการใช้วัตถุดิบที่มีการแปรรูปจากสัตว์น้ำ (น้ำปลา, ปลาอบแห้ง) จะต้องมีการขอเอกสารรับรองจากกรมประมงหรือไม่คะ และหากต้องขอเอกสารรับรองคือเอกสารใดและมีวิธีการดำเนินการอย่างไรบ้างคะ

 นฤมล สืบเชื้อ

 2025-02-26 10:44 น.

 

สอบถามเพิ่มเติมค่ะ

มีเกณฑ์กำหนดเปอร์เซ็นของส่วนผสมที่ต้องทำการขอเอกสาร Catch Certificate ในการรับรองสินค้าที่ส่งออกหรือไม่คะ หรือแค่มีการใช้ส่วนผสมที่มีการแปรรูปจากสัตว์น้ำก็ต้องขอเอกสารรับรองคะ 

หมายเหตุ : ส่วนประกอบหลักในการผลิตซอสปรุงรสจะเป็น ซีอิ๊ว ค่ะ แต่มีการใช้วัตถุดิบจำพวก น้ำปลาและปลาอบแห้ง ในการเพิ่มรสชาติและกลิ่นของซอสปรุงรสค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68021328000006C

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-02-25 11:26 น.

 

เรียน  คุณนฤมล

Q :  เอกสารรับรองกรณีมีการใช้วัตถุดิบแปรรูปจากสัตว์น้้ำเพื่อนำมาผลิตสินค้าส่งออกไปประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น

ในกรณีที่ทางบริษัทฯ มีความประสงค์จะทำสินค้าซอสปรุงรสเพื่อส่งออกไปประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น
โดยมีการใช้วัตถุดิบที่มีการแปรรูปจากสัตว์น้ำ (น้ำปลา, ปลาอบแห้ง) จะต้องมีการขอเอกสารรับรองจากกรมประมงหรือไม่คะ
และหากต้องขอเอกสารรับรองคือเอกสารใดและมีวิธีการดำเนินการอย่างไรบ้างคะ

A :  ต้องมีการขอเอกสารรับรองจากกรมประมงครับ แต่จะแตกต่างกันไปในแต่ละกรณี เช่น กรณีที่จะส่งสินค้าซอสปรุงรสไปประเทศแถบยุโรป
ต้องมีเอกสาร Catch Certificate ในการรับรองสินค้าที่ส่งออกไป แต่ในกรณีส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น อาจจะต้องดูถึงชนิดของสัตว์น้ำที่มาผลิตด้วย
เนื่องจากญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing)
โดยเฉพาะเอกสารการรับรองการจับสัตว์น้ำ (Catch Documentation Scheme: CDS) ซึ่งสินค้าประมงที่ส่งออกไปยังไปญี่ปุ่นจะต้องมีเอกสารใบรับรองการจับสัตว์น้ำ

ดังนั้น หากผู้ส่งออกต้องการข้อมูลที่ชัดเจน สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68021328000005C

 supaporn srirat

 2025-02-11 10:56 น.

 การรายงานผลการทดสอบ

รายงานผลการทดอสบ Fecal Coliform รายงานผลเป็น Detected/Not Deyected ได้หรือไม่ กรณีผลการทดสอบโดยวิธี MPN ให้ผล Negative ทุกหลอด

 นรมน

 2025-02-10 22:01 น.

 สอบถามการแลกเปลี่ยนข้อมูล IUU Fishing

    ประเทศไทยมีกฎหมาย หรือจีดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการจัดทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) กับต่างประเทศ หรือ องค์กรระหว่างประเทศ มั้ยคะ

ขอบคุณค่ะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-02-13 13:28 น.

 

เรียน  คุณนรมน

Q :  ประเทศไทยมีกฎหมาย หรือจีดตั้งหน่วยงานเกี่ยวกับการจัดทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
เกี่ยวกับการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) กับต่างประเทศ หรือ องค์กรระหว่างประเทศ มั้ยคะ

A :  กรมประมงมีกองประมงต่างประเทศที่เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานด้านต่างประเทศกับหน่วยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ สำหรับข้อมูลที่จะมีการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำการประมงผิดกฎหมาย
จะต้องได้รับความเห็นชอบจากหัวหน้าส่วนราชการทุกครั้ง นอกจากนี้ สำหรับความร่วมมือกับอาเซียน กรมประมง ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์เครือข่ายเพื่อการต่อต้านการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายของอาเซียน ที่ได้รับความเห็นชอบจากประเทศสมาชิกอาเซียน
และเป็น country hosting สำหรับ ASEAN Network for Combating IUU (AN-IUU) Interactive Platform ซึ่งเป็น Platform
สำหรับ AN-IUU Focal Points ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำประมง IUUที่เข้ามาในน่านน้ำ
ประเทศสมาชิกอาเซียน 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อต้านการทำการประมงโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กองประมงต่างประเทศ โทร. 0-2579-8215

 ความคิดเห็นเลขที่: 68021328000004C

 ชนิดา ภู่สมบูรณ์

 2025-02-04 11:02 น.

 พิกัดสินค้า 2309.90.20 อาหารเสริมที่เป็นอาหารสัตว์ (นำเข้าสารให้ความหวาน สำหรับสัตว์)

ทางลูกค้ามีการนำเข้า สินค้า SWEMMY (FEED GRADE) สารให้ความหวาน (เติมในอาหารและน้ำ) สำหรับสัตว์

ซึ่งจัดอยู่ในพิกัด 2309.90.20 - - พรีมิกซ์ อาหารเสริมที่เป็นอาหารสัตว์ หรือสารเติมแต่ง อาหารสัตว์ พิกัดดังกล่าว ติดใบอนุญาตของ กรมปศุสัตว์

และกรมประมง แต่ทางลูกค้ามีการยื่น น.ส. 4 กับทางกรมปศุสัตว์ไว้แล้ว และสินค้าไม่ได้นำมาใช้เกี่ยวกับสัตว์น้ำ และไม่มีส่วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัตว์น้ำผสมอยู่ไม่ถึงร้อยละ 20

จำเป็นต้องหารือ หรือยื่นใบอนุญาต กับทางกรมประมง ไหมคะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-02-04 14:11 น.

 

เรียน  คุณชนิดา

Q :  พิกัดสินค้า 2309.90.20 อาหารเสริมที่เป็นอาหารสัตว์ (นำเข้าสารให้ความหวาน สำหรับสัตว์)
ทางลูกค้ามีการนำเข้า สินค้า SWEMMY (FEED GRADE) สารให้ความหวาน (เติมในอาหารและน้ำ) สำหรับสัตว์
ซึ่งจัดอยู่ในพิกัด 2309.90.20 - - พรีมิกซ์ อาหารเสริมที่เป็นอาหารสัตว์ หรือสารเติมแต่ง อาหารสัตว์
พิกัดดังกล่าว ติดใบอนุญาตของ กรมปศุสัตว์และกรมประมง แต่ทางลูกค้ามีการยื่น น.ส. 4 กับทางกรมปศุสัตว์ไว้แล้ว
และสินค้าไม่ได้นำมาใช้เกี่ยวกับสัตว์น้ำ และไม่มีส่วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสัตว์น้ำผสมอยู่ไม่ถึงร้อยละ 20
จำเป็นต้องหารือ หรือยื่นใบอนุญาต กับทางกรมประมง ไหมคะ

A :  เนื่องจากสินค้าไม่ได้มีส่วนผสมของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำไม่ถึงร้อยละ 20 ไม่จำเป็นต้องขออนุญาตกับทางกรมประมง
แต่เหตุที่พิกัดดังกล่าว ติดใบอนุญาตกับทางกรมประมงด้วย ให้ผู้นำเข้าดูวิธีการกรอกข้อมูลในประกาศกรมศุลกากร
เรื่อง การเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกรมประมงค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68021328000002C

 อิทธิศักดิ์ พัฒนรักษ์

 2025-02-03 16:01 น.

 ขอรายชื่อโรงงานที่เคยขึ้นทะเบียนกับกรมประมงในการส่งออกไปรัสเซีย

สวัสดีครับ จากกระทู้ก่อนที่เคยสอบถามเรื่องการส่งออกสินค้าอาหารทะเลแช่แข็งไปรัสเซีย โดยซื้อจากโรงงานที่กรมประมงรับรองแล้ว และโรงงานก็แจ้งว่าได้ขึ้นทะเบียนกับFSVPS รัสเซียแล้ว แต่พอไปเช็ครายชื่อในเว็บFSVPSไม่พบชื่อสถานประกอบการดังกล่าว ทางผมเลยได้สอบถามไปยังโรงงานว่า ได้ผ่านการตรวจประเมินกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำตามข้อกำหนดของรัสเซียและEAEUแล้วหรือไม่  ทางโรงงานแจ้งว่าไม่แน่ใจว่าดำเนินการในกระบวนการดังกล่าวแล้วหรือยัง

คำถามคือ

1.ในกรณีนี้ผมจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าโรงงานได้ขอขึ้นทะเบียนในการส่งออกไปรัสเซียกับกรมประมงแล้ว

2.หรือถ้าหากขึ้นทะเบียนแล้วจริงทำไมไม่ปรากฏชื่อในเว็บของFSVPS เป็นไปได้หรือไม่ที่ยังขึ้นทะเบียนไม่สมบูรณ์ จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าโรงงานดังกล่าว ดำเนินการไม่ครบถ้วนในขั้นตอนบางประการ

หมายเหตุ โรงงานชื่อ Seaspire Phuket Co.,LTD หมายเลขลงทะเบียน1338 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-02-04 14:08 น.

 

เรียน  คุณอิทธิศักดิ์

Q :  ขอรายชื่อโรงงานที่เคยขึ้นทะเบียนกับกรมประมงในการส่งออกไปรัสเซีย
โรงงานชื่อ Seaspire Phuket Co.,LTD หมายเลขลงทะเบียน1338 

Q :  1. ในกรณีนี้ผมจะตรวจสอบได้อย่างไรว่าโรงงานได้ขอขึ้นทะเบียนในการส่งออกไปรัสเซียกับกรมประมงแล้ว
A :  ท่านสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อโรงงานที่ขึ้นทะเบียนได้ที่ web site กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง
หัวข้อ รายชื่อสถานประกอบการ (List of Approved Establishments) หรือ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_blog2/1388/74312/2460


Q :  2. หรือถ้าหากขึ้นทะเบียนแล้วจริงทำไมไม่ปรากฏชื่อในเว็บของ FSVPS เป็นไปได้หรือไม่ที่ยังขึ้นทะเบียนไม่สมบูรณ์
จะตรวจสอบได้อย่างไรว่าโรงงานดังกล่าว ดำเนินการไม่ครบถ้วนในขั้นตอนบางประการ
A :  กรณีที่สถานประกอบการยังไม่มีชื่อขึ้นทะเบียนใน web site ของ FSVPS เนื่องจากอยู่ในระหว่าง
การพิจารณาของ FSVPS รัสเซีย หากได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วรายชื่อสถานประกอบการจะปรากฏบน web site ของ FSVPS

หมายเหตุ : หากท่านมีข้อสงสัยหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อศูนย์ฯ ต้นสังกัดที่โรงงานขึ้นทะเบียนตรวจรับรอง
หรือ กลุ่มพัฒนาระบบคุณภาพแหล่งแปรรูป โทร. 02 558 0413

 ความคิดเห็นเลขที่: 68021328000001C

 สิริลดา โคตรพัฒน์

 2025-01-24 17:05 น.

 สอบถามรายชื่อปลาทะเลและปลาน้ำจืด ที่สามารถส่งออกได้ EU USA Aus และเอเชีย ค่ะ

รายชื่อปลาทะเลและน้ำจืดที่สามารถส่งออกไปต่างประเทศทั่วโลกได้คะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-30 09:54 น.

 

เรียน คุณสิริลดา

Q :  สอบถามรายชื่อปลาทะเลและปลาน้ำจืด ที่สามารถส่งออกได้ EU USA Aus และเอเชีย
รายชื่อปลาทะเลและน้ำจืดที่สามารถส่งออกไปต่างประเทศทั่วโลกได้ค่ะ
A :  สำหรับการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นปลาทะเลหรือปลาน้ำจืดจากประเทศไทยไปยัง EU USA Aus หรือประเทศในทวีปเอเชีย
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับข้อกำหนดการนำเข้าของแต่ละประเทศปลายทางซึ่งมีความแตกต่างกัน ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบรายละเอียด
ในการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำได้ที่ กลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออก กรมประมง หรือทางสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ
ของแต่ละประเทศที่ท่านต้องการส่งออกครับ
ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614 หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000010C

 นางเกื้อนุกูล กาธรรมณี

 2025-01-23 14:54 น.

 ขอสอบถามเรื่องหลักเกณฑ์การขอรับทุนการศึกษาแก่บุตรเจ้าหน้าที่กรมประมงว่าใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินให้ทุนการศึกษา

ขอสอบถามเรื่องหลักเกณฑ์การขอรับทุนการศึกษาแก่บุตรเจ้าหน้าที่กรมประมงว่าใช้หลักเกณฑ์อะไรในการตัดสินให้ทุนการศึกษา เพราะในหลักเกณฑ์ระบุว่าต้องมีภาระเลี้ยงบุตรคนเดียว ซึ่งข้าพเจ้าสามีได้เสียชีวิตเมื่อปี 2564 พร้อมแนบใบมรณะบัตรไปเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อผลประกาศปรากฎว่า ข้าพเจ้าซึ่งต้องรับภาระเลี้ยงดูบุตรแต่เพียงคนเดียวแต่ไม่มีชื่ออยู่ในรายชื่อที่ได้รับทุน แต่พบว่าบางคนที่ได้มีสถานะหย่าร้างซึ่งความเป็นพ่อยังมีสถานะติดตัวอยู่ตลอลฃดเวลาแต่ข้าพเจ้าสามีเสียชีวิตลูกของข้าพเจ้าไม่มีพ่อที่จะช่วยอุปการะเลี้ยงดูเค้าได้อีกแล้วแต่ไม่ปรากฎว่าได้รับทุน หรือเพราะว่าลูกของข้าพเจ้าเรียนไม่ได้เกรดเฉลี่ย 4.00  ถึงทำให้พลาดทุนนี้ไป ถ้าเป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าก็ยอมรับและไม่ติดใจอะไร ด้วยความเคารพ

 นางเกื้อนุกูล กาลธรรมณี

 2025-01-23 16:25 น.

 

0932268263 ค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000007C

 นางสาวทิพพิมนต์ มาตย์นอก

 2025-01-23 15:28 น.

 

รบกวนขอเบอร์โทรศัพท์ ติดต่อกลับหน่อยนะค่ะ 

จะให้เจ้าหน้าที่ ที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ติดต่อกลับค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000006C

 อิทธิศักดิ์ พํฒนรักษ์

 2025-01-22 09:37 น.

 ส่งออกปลาทูน่าแช่แข็งไปรัสเซีย

สวัสดีครับ เนื่องจากบริษัทผมเป็นแบบเทรดดิ้ง ซื้อมาขายไป ต้องการส่งออกปลาทูน่าแช่แข็ง ไปประเทศรัสเซีย โดยซื้อจากโรงงานที่ภูเก็ต ซึ่งโรงงานได้รับการรับรองจากกรมประมงแล้ว

คำถามคือ ผมในฐานะบริษัทเทรดดิ้ง ต้องขอใบอนุญาติอะไรบ้างครับ จึงจะทำการส่งออกได้ครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-30 09:59 น.

 

เรียน  คุณอิทธิศักดิ์

ขอส่งคำตอบเพิ่มเติม

Q :  ส่งออกปลาทูน่าแช่แข็งไปรัสเซีย
สวัสดีครับ เนื่องจากบริษัทผมเป็นแบบเทรดดิ้ง ซื้อมาขายไป ต้องการส่งออกปลาทูน่าแช่แข็ง ไปประเทศรัสเซีย โดยซื้อจากโรงงานที่ภูเก็ต
ซึ่งโรงงานได้รับการรับรองจากกรมประมงแล้ว
คำถามคือ ผมในฐานะบริษัทเทรดดิ้ง ต้องขอใบอนุญาติอะไรบ้างครับ จึงจะทำการส่งออกได้ครับ

A :  กรณีผู้ส่งออกประสงค์จะส่งออกหรือเป็นบริษัทเทรดดิ้ง ต้องดำเนินการยื่นคำขอแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (DOF3)
ผ่านระบบ FSW และแนบเอกสารประกอบ เช่น Invoice  เอกสารแสดงแหล่งที่มาของสัตว์น้ำ ที่ยืนยันได้ว่าสัตว์น้ำนั้นมาจากการทำประมงที่ถูกกฎหมาย
เอกสารที่เป็นเงื่อนไขการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำของประเทศปลายทาง ตามที่กฎหมายกำหนด ในกรณีเป็นประเทศรัสเซีย
หน่วยงาน Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillance ( FSVPS) ที่รับผิดชอบในการควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร
ของสหพันธรัฐรัสเซีย กําหนดให้ต้องขอใบรับรอง Health สำหรับสินค้าสัตว์น้ำทุกชนิด ยกเว้นสัตว์น้ำมีชีวิต และโรงงานที่ผลิตจะต้องได้รับการตรวจรับรอง
โดย CA และขึ้นทะเบียนกับ FSVPS โดยประกาศผ่านทางเว็ปไซด์ (https://navigator.fsvps.gov.ru/trafficking/registry/index?countryId=207)
     เมื่อเจ้าหน้าที่ พิจารณาคำขอ (DOF3) และเอกสารประกอบ เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะพิจารณาออก ใบแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (DOF4)
และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องให้

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่ 
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000011C

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-24 15:32 น.

 

เรียน  คุณอิทธิศักดิ์

Q : ส่งออกปลาทูน่าแช่แข็งไปรัสเซีย
A : ส่งออกปลาทูน่าแช่แข็งไปรัสเซียส่งออกปลาทูน่าแช่แข็งไปรัสเซีย มีรายละเอียด ดังนี้

โรงงานที่ประสงค์ส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมถึงตัวอย่างสินค้า และสินค้าที่ใช้ในงานแสดงสินค้า
ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อกําหนดของกรมประมงและสหพันธรัฐรัสเซียโดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ต้องผ่านการรับรองสุขลักษณะการผลิตและระบบควบคุมคุณภาพ HACCP จากกรมประมง
ซึ่งในกรณีนี้ ท่านแจ้งว่า “ซื้อจากโรงงานที่ภูเก็ตที่ได้รับการรับรองจากกรมประมงเรียบร้อยแล้ว” ก็ดำเนินการต่อในข้อถัดไป

2. ต้องผ่านการประเมินกระบวนการผลิตตามข้อกําหนดของสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU)
โดยกรมประมงจะตรวจประเมินจากแบบประเมินกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกสหพันธรัฐรัสเซียและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU)
ซึ่งในกรณีนี้ ท่านต้องสอบถามไปยังโรงงานที่ภูเก็ตดังกล่าว หากยังไม่ได้ดำเนินการตามข้อนี้ต้องแจ้งให้ดำเนินการ

3. หากตรวจประเมินผ่านตามข้อ 2. แล้ว กรมประมงจะเสนอรายชื่อโรงงานส่งออกไปยังหน่วยงาน FSVPS ของสหพันธรัฐรัสเซีย

4. ในการส่งออก จะต้องแจ้งมายังกรมประมงให้ต้องมีการสุ่มตัวอย่างสินค้าเพื่อตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานของ EAEU
และกรมประมงจะตรวจสอบความถูกต้องของรายการสินค้าประมงส่งออกประกอบการออกใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate)
โดยจะดําเนินการสุ่มตรวจการบรรจุสินค้าขึ้นตู้ด้วยความถี่ 1 ใน 20 ของจํานวนรุ่นสินค้าที่ยื่นขอใบรับรองสุขอนามัย (Health certificate)

5. หากมีการดำเนินการผ่านทุกขั้นตอนแล้ว โรงงานสามารถยื่นขอใบรับรองใบรับรองสุขอนามัย (Health certificate) เพื่อใช้ประกอบในการส่งออก

หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมท่านสามารถประสานมาได้ที่กลุ่มตรวจประเมินระบบคุณภาพแหล่งแปรรูป โทร. 02 562 0600 ถึง 15 ต่อ 13402 หรือ 13407

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000008C

 พีรณัฐ จีนโสภา

 2025-01-16 13:39 น.

 โครงการแลกเปลี่ยนปลาซัคเกอร์

ตอนนี้ยังมีโครงการแลกเปลี่ยนปลาซัคเกอร์เป็นปลาน้ำจืดไหมอยู่ครับ ในเขตกรุงเทพมหานคร

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-02-07 08:25 น.

 

เรียน  คุณพีรณัฐ 

         สามารถติดต่อ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 
ที่อยู่  กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ชั้น 3 อาคารจรัลธาดา กรรณสูต 
กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
เบอร์โทรศัพท์  0 2562 0585
FAX  0 2562 0585
email  inland.information2@gmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68021328000003C

 ศยาวีร์ วิสัยยาส

 2025-01-15 23:47 น.

 แผนนิทรรศการให้ความรู้เกษตรกร ในปี2568 จะจัดเดือนไหนบ้าง

อยากทราบช่วงเดือน ที่จะจัดนิทรรศการแสดงการให้ความรู้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาน้ำจืด จะจัดช่วงเดือนบ้างหรอคะ 

นิทรรศการที่หมายถึงคือ แสดงสินค้าของทางเราและสามารถให้ความรู้กับเกษตรกรได้ค่ะ ข้อมูลนี้สามารถเป็นทั่วประเทศ แต่ภายในปีของ 2568 อย่างเดียวค่ะ 

 

ขอบคุณค่ะ

 นายดุลยพบ เรืองนุ่น

 2025-01-12 04:02 น.

  รูปแบบฟอร์มใบขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ป่าเพื่อการค้า สป.13

ต้องการรูปแบบฟอร์มใบขออนุญาตเคลื่อนย้ายสัตว์ป่าเพื่อการค้า สป.13  เพื่อนำไปใช้ในการเรียนครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-15 10:15 น.

 

เรียน  คุณดุลยพบ

สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กลุ่มคุ้มครองพันธ์ุสัตว์น้ำตามอนุสัญญา
โทร. 025620600-15 ต่อ 2126 หรือ 025612011,025611418 โทรสาร 025614689
อีเมล aquareg.dof@gmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000001C

คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา