Q&A กรมประมง

โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น

1.กรุณาใช้ถ้อยคำที่ สุภาพ เหมาะสม ไม่ใช้ ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่น สร้างความแตกแยกในสังคม งดการใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่นหรือยุยงให้เกลียดชังสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

2.หากพบข้อความที่ไม่เหมาะสม  โดยผู้จัดทำเว็บไซด์  ขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นที่พิจารณาแล้วว่าไม่เหมาะสม โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ทุกกรณี

3.ขอบเขตความรับผิดชอบของทีมงานและผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ อยู่ที่เนื้อหาที่นำเสนอเท่านั้น หากมีข้อความหรือความคิดเห็นใดที่ขัดต่อข้อ 1 ถือว่าเป็นกระทำนอกเหนือเจตนาของผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซด์ และไม่เป็นเหตุอันต้องรับผิดทางกฎหมายในทุกกรณี


*** ใส่ Email ระบบจะเเจ้งกลับอัตโนมัติเมื่อมีผู้ตอบกระทู้

 สิรวิชญ์

 2024-06-26 14:17 น.

 สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจวัดคุณภาพบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม จังหวัดเชียงราย

อยากสอบถามเรื่องขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม ในจังหวัดเชียงราย มีประเด็นดังนี้ครับ

1.การตรวจสอบคุณภาพบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของกรมประมงจังหวัด ตรวจอะไรบ้าง

2.ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพน้ำบ่อเลี้ยงกุ้งมีขั้นตอนอะไรบ้าง รายการที่ตรวจมีอะไรบ้าง

3.มีขั้นตอนการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียในน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้งหรือไม่ ถ้ามี มีขั้นตอนการเก็บตัวอย่างและการตรวจ อย่างไร

4.ข้อมูลโรคในกุ้งก้ามกรามพี่พบในช่วงที่ผ่านมา

5.ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการทำฟาร์มบ่อกุ้งก้ามกราม

6.การตรวจสอบคุณภาพบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามของกรมประมงจังหวัด

ขอบคุณครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-06-26 15:42 น.

 

เรียน   คุณสิรวิชญ์

          สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย ได้เลยค่ะ
สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย 419 หมู่ 6 ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย 57100
เบอร์โทรศัพท์ 053-152091,053-152092
อีเมล fisherychiangrai@gmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67061328000007C

 นิยม ทองนิมิตร

 2024-06-25 13:05 น.

 ซื้อลูกพันธุ์ปลาพวงชมพู

ซื้อลูกพันธุ์ปลาพวงชมพู

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-06-25 13:36 น.

 

เรียน   คุณนิยม

          สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ที่ท่านอยู่อาศัย ได้เลยค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 67061328000005C

 มัณฑณา ดีรักษา

 2024-06-17 11:46 น.

 นำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเล

อยากทราบว่า

1.ถ้าจะนำผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลจากลูกค้ามาจัดเก็บที่ห้องเย็น ที่มีการจัดเก็บสัตว์ปีกอยู่ได้หรือไม่

2.ต้องมีการขอรับรองห้องเย็นในการรับจัดเก็บผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลหรือไม่อย่างไร 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-06-25 13:19 น.

 

เรียน  คุณมัณฑณา

Q :  นำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเล

อยากทราบว่า
1.ถ้าจะนำผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลจากลูกค้ามาจัดเก็บที่ห้องเย็น ที่มีการจัดเก็บสัตว์ปีกอยู่ได้หรือไม่
2.ต้องมีการขอรับรองห้องเย็นในการรับจัดเก็บผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลหรือไม่อย่างไร

ตอบ : 

1.ถ้าจะนำผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลจากลูกค้ามาจัดเก็บที่ห้องเย็น ที่มีการจัดเก็บสัตว์ปีกอยู่ได้หรือไม่
สามารถทำได้ หากห้องเย็นที่ทำการจัดเก็บมีหนังสือรับรองว่าสามารถจัดเก็บผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลได้ และมีใบอนุญาตนำหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร (อ.7)
แต่ควรมีการจัดแบ่งเป็นสัดส่วนที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน

2.ต้องมีการขอรับรองห้องเย็นในการรับจัดเก็บผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลหรือไม่อย่างไร
ในกรณีที่ห้องเย็นไม่มีการรับรองให้จัดเก็บผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลได้ จะไม่สามารถทำการจัดเก็บผลิตภัณฑ์สัตว์ทะเลในห้องเย็นได้ต้องทำการขอหนังสือรับรองใหม่ครับ

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67061328000003C

 รัตนาพร ส่งกิตติพงศ์

 2024-06-14 18:06 น.

 ต้องการส่งออก สินค้าจำพวก น้ำปลา น้ำปลาร้า ไปตปท.

จะต้องเริ่มจากตรงไหนดีคะ  ใช้เวลาในการดำเนินการนานกี่วันทำการ 

 

ใช้เอกสารอะไรบ้างคะ   ไม่ใช่ผู้ผลิตค่ะ ซื้อมาขายไป

 

ส่งออกน้ำปลา กับ ปลาร้า ต่างกันไหมคะ หรือ ขอทีเดียวกะเหมือนกัน

 

 

ขอบคุณค่ะ

 

 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-06-17 09:39 น.

 

เรียน  คุณรัตนาพร

สามารถอ่านรายละเอียดดังไฟล์ที่แนบในลิงก์นี้
https://drive.google.com/file/d/19b_1DwuPlMqO67pN8o-yEP3eksPgbkV6/view?usp=sharing

 ความคิดเห็นเลขที่: 67061328000001C

 ร.ต.อัครวิท พิศุทธิวงษ์ชัย

 2024-06-01 13:08 น.

 เพาะเลี้ยงปลาทองขาย

ต้องการเพาะเลี้ยงปลาทองขายต้องเริ่มจากอะไรครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-15 10:21 น.

 

เรียน   ร.ต.อัครวิท

          สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ชั้น 4 อาคารเชิดชาย อมาตยกุล 
กรมประมง เลขที่ 50 เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร./โทรสาร 0 2562 0585 หรือ 025620600-15 ต่อ 14403  
อีเมล inland.information2@gmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000002C

 นาย วันชัย จุ้ยนิยม

 2024-05-29 14:36 น.

 อยากทราบข้อมูลเกี่ยวพิกัดศุลกากรที่ติดใบอนุญาตกรมประมง แต่พิกัดได้รับอนุญาตให้กรอกรหัสยกเว้น EXEMPT ตามประกาศกรมศุลกากร ฉบับที่ 206/2564 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564

เนื่องจากทางผมมีความประสงค์จะนำเข้าสินค้า "เซรั่มบำรุงผิวหน้า" โดยสอบถามกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้ว เจ้าหน้าที่แนะนำให้ใช้พิกัดศุลกากร 3304.99.90 

ลักษณะของสินค้าเป็นเซรั่ม(ของเหลวใส) บรรจุในขวดแก้ว(แอมพูล) 

โดยพิกัดศุลกากร 3304.99.90 ตรวจสอบแล้วพบว่าติดใบอนุญาต 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรมประมง

ทั้งนี้ สินค้ามีใบอนุญาตที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว(สินค้าจัดเป็น เครื่องสำอาง) จึงขาดเพียงใบอนุญาตที่ผ่านการรับรองจากกรมประมง

ต่อมา จากการค้นหาข้อมูล พบว่าตามประกาศกรมศุลกากร  ฉบับที่ 206/2564 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ฉบับที่ 206/2564 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ได้ระบุเนื้อความ เกี่ยวกับ "การเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาต / ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกรมประมง" ซึ่งพิกัดศุลกากร 3304.99.90 มีระบุว่า ใส่รหัสยกเว้น EXEMPT ได้

จึงอยากสอบถามว่า ในปัจจุบันนี้ พิกัดศุลกากร 3304.99.90 ยังสามารถใส่รหัสยกเว้น EXEMPT ตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวได้หรือไม่ / หากไม่สามารถใส่รหัสยกเว้น EXEMPT ตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวได้ รบกวนขอข้อมูลในการดำเนินการเพื่อขอใบอนุญาตต่อไป

ขอบคุณครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-06-25 13:22 น.

 

เรียน  คุณวันชัย

Q :  อยากทราบข้อมูลเกี่ยวพิกัดศุลกากรที่ติดใบอนุญาตกรมประมง แต่พิกัดได้รับอนุญาตให้กรอกรหัสยกเว้น EXEMPT ตามประกาศกรมศุลกากร ฉบับที่ 206/2564 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564
เนื่องจากทางผมมีความประสงค์จะนำเข้าสินค้า "เซรั่มบำรุงผิวหน้า" โดยสอบถามกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรแล้ว เจ้าหน้าที่แนะนำให้ใช้พิกัดศุลกากร 3304.99.90
ลักษณะของสินค้าเป็นเซรั่ม(ของเหลวใส) บรรจุในขวดแก้ว(แอมพูล)
โดยพิกัดศุลกากร 3304.99.90 ตรวจสอบแล้วพบว่าติดใบอนุญาต 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ กรมประมง

ทั้งนี้ สินค้ามีใบอนุญาตที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว(สินค้าจัดเป็น เครื่องสำอาง) จึงขาดเพียงใบอนุญาตที่ผ่านการรับรองจากกรมประมง

ต่อมา จากการค้นหาข้อมูล พบว่าตามประกาศกรมศุลกากร  ฉบับที่ 206/2564 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ฉบับที่ 206/2564 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ได้ระบุเนื้อความ เกี่ยวกับ "การเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาต / ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับกรมประมง" ซึ่งพิกัดศุลกากร 3304.99.90 มีระบุว่า ใส่รหัสยกเว้น EXEMPT ได้

จึงอยากสอบถามว่า ในปัจจุบันนี้ พิกัดศุลกากร 3304.99.90 ยังสามารถใส่รหัสยกเว้น EXEMPT ตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวได้หรือไม่ / หากไม่สามารถใส่รหัสยกเว้น EXEMPT ตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวได้ รบกวนขอข้อมูลในการดำเนินการเพื่อขอใบอนุญาตต่อไป ขอบคุณครับ

ตอบ :  ในกรณีที่ตัวของเซรั่ม (ของเหลวใส) มีส่วนประกอบที่มาจากสัตว์น้ำหรือส่วนอื่นใดของสัตว์น้ำมากกว่า 20 % ต้องมีการขอใบอนุญาตนำเข้าสินค้ากับทางกรมประมงครับ
แต่ในกรณีที่ตัวของเซรั่ม ไม่มีส่วนประกอบที่มาจากสัตว์น้ำหรือส่วนอื่นใดของสัตว์น้ำ หรือมีแต่น้อยกว่า 20 % ไม่ต้องมีการขออนุญาตกับทางกรมประมงครับ
สามารถใช้รหัสยกเว้น EXEMPT ตามประกาศกรมศุลกากรดังกล่าวได้เลย

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67061328000004C

 วิภาส ทศวัฒน์

 2024-05-19 21:10 น.

 ข้อมูลวิเคราห์ด้านการตลาด ของผลิตภัณฑ์ในประเทศที่ใช้ fish oil (น้ำมันตับปลา)

พอดีอยากสอบถามเจ้าหน้าที่กรมประมงว่าพอจะมีข้อมูลวิเคราห์ด้านการตลาดแบบมองภาพรวม เช่นอัตราการเติบโต และขนาดของตลาดผลิตภัณฑ์น้ำมันตับปลาในไทย หาได้จากไหนครับ ถ้าในนี้ไม่มีข้อมูล ก็ใคร่เรียนขอทราบ ข้อมูลด้านปริมาณของการสั่งซื้อน้ำมันตับปลา รวมถึงข้อมูลด้านการนำเข้าด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูง ถ้ามีข้อมูลอย่างใดอย่างนึง ไม่เป็นไรคับ 

ส่วนข้อมูลด้านการส่งออกน้ำมันตับปลา ถ้ามีก็เพิ่มมาด้วยก็ได้ครับ 

ทั้งนี้ข้อมูลที่ขอทั้งหมด ขอให้เป็นระหว่างปี 2567 ย้อนหลังถึง 2562 หรือ 5 ปี คับ ถ้าไม่สะดวก หรือเสียเวลาเจ้าหน้าที่มาก ก็ขอปีที่แล้ว หรือ ปีนี้ก็๋ได้ครับ

ขอบคุณที่อ่านครับ 

 

 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-06-25 13:15 น.

 

เรียน   คุณวิภาส

Q :  ข้อมูลวิเคราห์ด้านการตลาด ของผลิตภัณฑ์ในประเทศที่ใช้ fish oil (น้ำมันตับปลา)

พอดีอยากสอบถามเจ้าหน้าที่กรมประมงว่าพอจะมีข้อมูลวิเคราะห์ด้านการตลาดแบบมองภาพรวม เช่นอัตราการเติบโต และขนาดของตลาดผลิตภัณฑ์น้ำมันตับปลาในไทย หาได้จากไหนครับ ถ้าในนี้ไม่มีข้อมูล ก็ใคร่เรียนขอทราบ ข้อมูลด้านปริมาณของการสั่งซื้อน้ำมันตับปลา รวมถึงข้อมูลด้านการนำเข้าด้วยจะเป็นพระคุณอย่างสูง ถ้ามีข้อมูลอย่างใดอย่างนึง ไม่เป็นไรคับ

ส่วนข้อมูลด้านการส่งออกน้ำมันตับปลา ถ้ามีก็เพิ่มมาด้วยก็ได้ครับ

ทั้งนี้ข้อมูลที่ขอทั้งหมด ขอให้เป็นระหว่างปี 2567 ย้อนหลังถึง 2562 หรือ 5 ปี คับ ถ้าไม่สะดวก หรือเสียเวลาเจ้าหน้าที่มาก ก็ขอปีที่แล้ว หรือ ปีนี้ก็๋ได้ครับ

ขอบคุณที่อ่านครับ

 

ตอบ :  หากเป็นในเรื่องของปริมาณการนำเข้าส่งออกน้ำมันตับปลา สามารถดูข้อมูลสถิติหรือดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่

https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/all_blog2/1206/2975

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67061328000002C

 วิไลร้ตน์ รุ่งเรืองเจริญลาภ

 2024-05-17 14:08 น.

 อยากทราบแหล่งที่ส่งตรวจผลคุณภาพน้ำใช้

อยากทราบแหล่ง/Lab ที่ส่งตรวจผลวิเคราะห์คุณภาพน้ำใช้ ที่ทางกรมประมงให้ใช้ได้ค่ะ เนื่องจากตอนนี้ส่งแลปอื่นแล้วไม่ครบ ต้องการเปลี่ยนสถานที่ส่งตรวจค่ะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-05-23 15:52 น.

 

เรียน   คุณวิไลรัตน์

กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงขอตอบคำถาม เรื่อง อยากทราบแหล่งที่ส่งตรวจผลคุณภาพน้ำใช้ ดังนี้
กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงได้นำข้อมูลของห้องปฏิบัติการที่สามารถวิเคราะห์รายการทดสอบน้ำไว้ที่หน้าเว็บไซต์ของกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง โดยผู้ประกอบการสามารถเข้าไปศึกษาข้อมูลได้ตามขั้นตอน ดังนี้

- เข้าไปที่หลักเกณฑ์การนำเข้าส่งออกสินค้าประเทศต่างๆ ดังนี้
  https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_blog2/1388/212956/2460       

- ภายใต้หัวข้อประเทศ สาธารณรัฐประชาชนจีน                             

- หัวข้อย่อย เอกสารการประชุมเรื่องการส่งออกไปจีน วันที่ 22 มีนาคม 2567       

- ชื่อไฟล์ : DOF LAB ตรวจสอบพารามิเตอร์น้ำจีน

โดยในไฟล์ DOF LAB ตรวจสอบพารามิเตอร์น้ำจีน จะมีรายชื่อห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำในแต่ละพารามิเตอร์ตามข้อกำหนดของสาธารณรัฐประชาชนจีน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ
หากข้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อมาที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-562-0600 ต่อ 13402 หรือ 13407
ลุ่มตรวจประเมินระบบคุณภาพแหล่งแปรรูป

 

 ความคิดเห็นเลขที่: 67051328000003C

 ณิชมน

 2024-05-07 10:28 น.

 ปลาแซลมอน

เราจะทราบได้อย่างไรว่าแซลม่อนในแซลม่อนดองซีอิ๊วตามตลาดทั่วไปเป็นแซลม่อน หรทอเป็นปลาเทราต์

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-15 10:25 น.

 

เรียน  คุณณิชมน

         ในกรณีนี้ไม่สามารถตรวจสอบได้เนื่องจากผ่านการแปรรูปมาแล้วค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000003C

 ธนวัตร ชิตรัตถา

 2024-05-02 14:46 น.

 เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

อยากเพาะพันธุ์แมงดาทะเล(Tachypleus gigas) จะต้องเริ่มจากตรงไหน สามารถเพาะพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าเพาะพันธ์ได้จะต้องเริ่มจากตรงไหนสถานที่เพาะพันธ์ควรเป็นยังไง

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-05-07 11:55 น.

 

เรียน  คุณธนวัตร

สามารถอ่านรายละเอียดดังไฟล์ที่แนบในลิงก์นี้

https://drive.google.com/file/d/1SJkQxkGAnNdHko7DGveIfHiYVpGQtEzV/view?usp=sharing

 ความคิดเห็นเลขที่: 67051328000001C

 ปรัชญ์ คุณทรงเกียรติ

 2024-04-24 14:44 น.

 ส่งออกตลาดยุโรป - EU/EC approval nr. สำหรับสินค้าที่มีส่วนประกอบของ Oyster Sauce

อยากรบกวนสอบถาม ถ้าสินค้าประเภทซอส โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นซอสพริก 60% และซอสหอยนางรม 17% เข้าใจว่าไม่ต้องขอ Health Certificate แต่อยากขอข้อมูลเพิ่มเติมว่า EU/EC approval nr. ของ ซอสหอยนางรม สามารถหาได้อย่างไร หรือมีวิธีการขออย่างไรครับ เนื่องด้วยลูกค้ายุโรปร้องขอมา

 

รบกวนด้วยครับ เนื่องจากยังไม่เคยส่งออกไปยังประเทศยุโรป

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-05-08 09:48 น.

 

เรียน  คุณปรัชญ์

Q :  ส่งออกตลาดยุโรป - EU/EC approval nr. สำหรับสินค้าที่มีส่วนประกอบของ Oyster Sauce

อยากรบกวนสอบถาม ถ้าสินค้าประเภทซอส โดยมีส่วนประกอบหลักเป็นซอสพริก 60% และซอสหอยนางรม 17% เข้าใจว่าไม่ต้องขอ Health Certificate แต่อยากขอข้อมูลเพิ่มเติมว่า EU/EC approval nr. ของ ซอสหอยนางรม สามารถหาได้อย่างไร หรือมีวิธีการขออย่างไรครับ เนื่องด้วยลูกค้ายุโรปร้องขอมา

ตอบ :  หากเป็นในเรื่องของ EU/EC approval สามารถศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศได้ที่ หลักเกณฑ์การนำเข้าส่งออกสินค้าประเทศต่างๆ ทาง website ของกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง หรือทางลิ้งค์ https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_blog2/1388/74582/2460 ที่แนบมาพร้อมนี้

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเรื่องของการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67051328000002C

 เมธาพร คงเฟื่อง

 2024-03-25 11:53 น.

 ส่งออกสินค้าพร้อมบริโภค

บริษัทส่งออกเป็น trading สั่งทำสินค้าจากโรงงานเพื่อส่งออกไปขายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปสินค้ามีส่วนผสมของเนื้อปลามากกว่า 50%  พิกัดสินค้าที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่ คือ 160420

ถ้าต้องการดำเนินการส่งออก

1.)ต้องเตรียมเอกสารใดบ้างจากหน่วยงานไหนหรือจากใคร

2.)มีขั้นตอนการดำเนินพิธีการส่งออกอย่างไรบ้าง (ผู้ส่งออกไม่มีประสบการณ์การส่งออกสินค้าประมงเลยค่ะ) 

3.)เงื่อนไขพิเศษที่จำเป็นต้องรู้ในการส่งออกสินค้าพร้อมจำหน่าย หรือ พร้อมบริโภค

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-03-27 08:53 น.

 

เรียน  คุณเมธาพร

Q : ส่งออกสินค้าพร้อมบริโภค
บริษัทส่งออกเป็น trading สั่งทำสินค้าจากโรงงานเพื่อส่งออกไปขายในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปสินค้ามีส่วนผสมของเนื้อปลามากกว่า 50% พิกัดสินค้าที่ปรึกษาเจ้าหน้าที่ คือ 160420

ถ้าต้องการดำเนินการส่งออก
1) ต้องเตรียมเอกสารใดบ้างจากหน่วยงานไหนหรือจากใคร
2) มีขั้นตอนการดำเนินพิธีการส่งออกอย่างไรบ้าง (ผู้ส่งออกไม่มีประสบการณ์การส่งออกสินค้าประมงเลยค่ะ)
ตอบ: 1. ผู้ประกอบการส่งออกต้องลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานระบบ Fisheries Single Window เพื่อยื่นคำขอแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://file.fisheries.go.th/d/5077ee4f14/
          2. กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ต้องใช้เอกสารประกอบการแจ้งดำเนินการส่งออก ดังนี้ 1. ใบกำกับสินค้า (Invoice) 2. ใบรับรองการจับจับสัตว์น้ำ (Catch Certificate) หรือใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ (Processing Statement) และ 3. ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate)

3) เงื่อนไขพิเศษที่จำเป็นต้องรู้ในการส่งออกสินค้าพร้อมจำหน่าย หรือ พร้อมบริโภค
ตอบ: สำหรับเงื่อนไขพิเศษ จะมีแตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ และลักษณะของสินค้าที่จะทำการส่งออกครับ ทางเจ้าหน้าที่ขอแนะนำให้ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่หน้าเว็บไซต์ของกลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำครับ เพื่อให้ได้ขอมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนครับ

ทั้งนี้ สามาถศึกษารายละเอียดการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67031328000005C

 วรางคณา แซ่ลิ่ม

 2024-03-19 15:41 น.

 นำเข้าโปรตีนที่ทำจากถั่วลันเตาเพื่อสัตว์เลี้ยงแต่ติดใบอนุญาตกรมประมง

สอบถามค่ะทางบริษัทนำเข้าโปรตีนที่ทำจากถั่วลันเตาเพื่อสัตว์เลี้ยงแต่ติดใบอนุญาตกรมประมงนำเข้าโปรตีนที่ทำจากถั่วลันเตาเพื่อสัตว์เลี้ยงแต่ติดใบอนุญาตกรมประมง ต้องทำอย่างไรคะ 

พิกัดศุลกากร 2309.90.90 อยากให้เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำขั้นตอนในการขอใบอนุญาตค่ะ ขอบคุณค่ะ

 วรางคณา แซ่ลิ่ม

 2024-03-25 13:20 น.

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะ

 

 ความคิดเห็นเลขที่: 67031328000004C

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-03-22 16:50 น.

 

เรียน  คุณวรางคณา

Q :  นำเข้าโปรตีนที่ทำจากถั่วลันเตาเพื่อสัตว์เลี้ยงแต่ติดใบอนุญาตกรมประมง สอบถามค่ะทางบริษัทนำเข้าโปรตีนที่ทำจากถั่วลันเตาเพื่อสัตว์เลี้ยงแต่ติดใบอนุญาตกรมประมงนำเข้าโปรตีนที่ทำจากถั่วลันเตา เพื่อสัตว์เลี้ยงแต่ติดใบอนุญาตกรมประมง ต้องทำอย่างไรคะ พิกัดศุลกากร 2309.90.90 อยากให้เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำขั้นตอนในการขอใบอนุญาตค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

A : การนำเข้าโปรตีนที่ทำจากถั่วลันเตาเพื่อสัตว์เลี้ยงไม่จำเป็นต้องขออนุญาตกับทางกรมประมงครับ แต่เหคุที่ติดใบอนุญาตเนื่องจากมีการใช้พิกัดศุลกากรเดียวกันครับ ซึ่งสามารถอ่านรายละเอียดการดำเนินการได้ที่ “ประกาศกรมศุลกากรที่ 131/2561 เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเชื่องโยงข้อมูลตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับศุลกากร” ข้อ 3 ในส่วนที่ 10 ครับ

 ความคิดเห็นเลขที่: 67031328000002C

 อรรถชัย มาพล

 2024-03-06 09:05 น.

 วิธีชำระล้างความเค็มหรือซัลเฟต ของเปลือกหอยนางรมจากน้ำทะเล

อยากทราบวิธีการกำจัด ชำระล้างความเค็มหรือซัลเฟตจากเปลืองหอยจากทะเล มีวิธีเเละขั้นตอนอย่างไรบ้างครับ

 ประเสริฐ

 2024-02-28 15:02 น.

 ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการทำฟาร์มกุ้งครับ

อยากทราบข้อมูลการทำฟาร์มกุ้งครับ พอดีจะมีเว็บไซต์หรือช่องทางไหนให้หาความรู้ได้บ้างไหมครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-03-22 16:51 น.

 

เรียน  คุณประเสริฐ

สามารถสอบถามกับศูนย์ชายฝั่งในพื้นที่ได้เลยค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 67031328000003C

 ภัทราภรณ์ หนูเเดง

 2024-02-22 19:16 น.

 เขตพื้นที่เลี้ยงหอย

หากว่าพื้นที่ในการเลี้ยงหอยไม่ถึงในเขตที่กรมประมงกำหนด เเต่มีใบวิสาหกิจชุมชน สามารถลงชื่อสมัครได้ไหมครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-15 13:39 น.

 

เรียน  คุณภัทราภรณ์

         สามารถติดต่อสอบถามสำนักงานประมงจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้เลยค่ะ

 

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000004C

 รุ่งอรุณ ใจภักดิ์

 2024-02-22 18:00 น.

 อยากทราบแหล่งเลี้ยงปูในบ่อของจังหวัดจันทบุรี

สวัสดีค่ะ พอดีต้องการเก็บข้อมูลเชิงตัวเลขกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรที่เลี้ยงปูในบ่อดิน ของจังหวัดจันทบุรี จึงอยากทราบว่า เกษตรกรดังกล่าว นิยมอาศัยอยู่ชุมชน หรือ อำเภอใด ในจังหวัดคะ หรือสามารถติดต่อท่านไหนได้บ้าง 

ปล.ติดต่อทางสำนักงานประมงของจันทร์ผ่านอีเมลแล้วค่ะ แต่ยังไม่ได้ข้อมูลที่แน่ชัด สามารถเข้าไปติดต่อที่สำนักงานได้เลยไหมคะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-03-12 15:45 น.

 

เรียน   คุณรุ่งอรุณ

          สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดจันทบุรี เลขที่ 2 ถนนแผ่นดินทอง 3 ตำบลตลาด อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี  22000 โทร. 039327035 แฟกซ์ 039311515 อีเมล fpo_chanthaburi@fisheries.go.th

 ความคิดเห็นเลขที่: 67031328000001C

 จิราพร เทียนงาม

 2024-02-22 16:19 น.

 การเลี้ยงหอยแครง

การเลี้ยงหอยแครงในพื้นที่ของตนเองต้องขอใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินด้วยไหมค่ะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2025-01-15 13:40 น.

 

เรียน  คุณจิราพร

         สามารถติดต่อสอบถามสำนักงานประมงจังหวัดที่ท่านอาศัยอยู่ได้เลยค่ะ

 ความคิดเห็นเลขที่: 68011328000005C

 Chanusak

 2024-02-16 10:59 น.

 สอบถามขั้นตอนส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งไปประเทศซาอุ

สอบถามขั้นตอนการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งไปประเทศซาอุ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-02-19 11:59 น.

 

เรียน   คุณ Chanusak

ขั้นตอนการขอการรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออก ดังนี้
1. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยการตรวจรับรองผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำส่งออกของกรมประมง (https://www.fisheries.go.th/quality/หลักเกณฑ์และเงื่อนไข)
2. ยื่นคำขอรับรองโรงงาน พร้อมแนบเอกสารประกอบ มายังกรมประมงตามหน่วยงานในพื้นที่จังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ เช่น หากโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
    ให้ยื่นคำขอฯ มายัง กลุ่มพัฒนาระบบคุณภาพแหล่งแปรรูป กองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง (กตส.) กรมประมง เป็นต้น

3. หากคำขอฯ และเอกสารประกอบถูกต้องและสมบูรณ์ เจ้าหน้าที่กตส. จะเข้าทำการตรจรับรองตามข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ในกรณีนี้
    ได้แก่ ข้อกำหนดสุขลักษณะในการผลิตผลิตภัณฑ์ประมง (Good Manufacturing Practice)
    และการจัดระบบวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤตในการผลิตผลิตภัณฑ์ประมง (Hazard Analysis Critical Control Point) รวมถึงข้อกำหนด
    ตามข้อกำหนดของประเทศปลายทาง ในกรณีที่ประเทศปลายทางดังกล่าวมีข้อกำหนดเพิ่มเติมพิเศษ (ระยะเวลาการให้บริการ ภายใน 17 วันทำการ)
    ในกรณีนี้ท่านประสงค์จะส่งออกสินค้าฯ ไปยังราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย ดังนั้น เจ้าหน้าที่กตส. จะตรวจประเมินตามข้อกำหนดที่ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียกำหนดเพิ่มเติมด้วย

4. โรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองจะได้รับการจัดระดับโรงงานและขึ้นทะเบียนรายชื่อโรงงานของกรมประมง
5. โรงงานที่ผ่านการตรวจสุขลักษณะและการจัดระบบ HACCP กตส. จะสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพก่อนออกใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate)
    (ระยะเวลาการให้บริการ สุ่มตัวอย่าง ภายใน 3 วันทำการ ตรวจวิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ ในกรณีสินค้านี้ภายใน 12 วันทำการ การออกใบรับรองสุขอนามัย ภายใน 3 วันทำการ)

6. โดยหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสืบค้นรายละเอียดได้ที่ 
    เว็บไซต์ https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20230314090138_new.pdf
    คู่มือการขอการรับรองสินค้าประมงส่งออกราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย หรือติดต่อมายังกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมง กรมประมง

 ความคิดเห็นเลขที่: 67021328000001C

 ณัฐภทัทร

 2024-02-15 11:21 น.

 ส่งออกปลาสวยงาม

ต้องการหาข้อมูลการ นำเข้า-ส่งออก ปลาสวยงามหาได้จากแหล่งใดบ้างครับ

ที่ฟาร์มเลี้ยง ปลาทอง และปลาหางนกยูงอยู่ขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางได้กำไรน้อยครับ
หลังจากโควิดยอดก็น้อยลง เลยอยากจะหาทางส่งออกไปต่างประเทศเอง
ต้องการหาข้อมูล สถิติ และตลาดต่างประเทศครับ
ขอบคุณครับ
 

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-02-19 15:05 น.

 

เรียน   คุณณัฐภัทร

Q :  ส่งออกปลาสวยงาม

ต้องการหาข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก ปลาสวยงาม หาได้จากแหล่งใดบ้างครับ ที่ฟาร์มเลี้ยงปลาทองและปลาหางนกยูงอยู่
ขายส่งให้กับพ่อค้าคนกลางได้กำไรน้อยครับ หลังจากโควิดยอดก็น้อยลง เลยอยากจะหาทางส่งออกไปต่างประเทศเองต้องการหาข้อมูลสถิติ
ละตลาดต่างประเทศครับ ขอบคุณครับ

A :  ข้อมูลในเรื่องของสถิติการ นำเข้า-ส่งออก ปลาสวยงาม สามารถเข้าดูข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ของกลุ่มควบคุมการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ
กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต กรมประมงเลยครับ

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เพิ่มเติม ได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67021328000002C

 รัตติกร ชุสุวรรณ

 2024-02-12 16:00 น.

 ขั้นตอนการส่งออกหนังปลากระเบน ฟอกสำเร็จ

ขอทราบ
ขั้นตอนการส่งออก หนังปลากระเบน ฟอกสำเร็จ   พิกัด 41139 
ต้องลงทะเบียนขั้นตอนไหนบ้างคะ และ ขอ HEALTH CER  ด้วย 

รบกวนด้วยนะคะ  

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-02-19 15:52 น.

 

เรียน  คุณรัตติกร

Q :  ขั้นตอนการส่งออกหนังปลากระเบน ฟอกสำเร็จ
ขอทราบขั้นตอนการส่งออก หนังปลากระเบน ฟอกสำเร็จ พิกัด 41139 ต้องลงทะเบียนขั้นตอนไหนบ้างคะ และ ขอ HEALTH CER ด้วย รบกวนด้วยนะคะ


A :  

1. ผู้ประกอบการส่งออกต้องลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานระบบ Fisheries Single Window เพื่อยื่นคำขอแจ้งดำเนินการส่งออกสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่
http://file.fisheries.go.th/d/5077ee4f14/

2. เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งดำเนินการส่งออก

- กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ต้องใช้เอกสารประกอบการแจ้งดำเนินการส่งออก ดังนี้
  1. ใบกำกับสินค้า (Invoice) 2. ใบรับรองการจับจับสัตว์น้ำ (Catch Certificate) หรือใบรับรองการแปรรูปสัตว์น้ำ (Processing Statement) และ 3. ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate)

- กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคส่งออกไปยังประเทศจีน ซาอุดิอาระเบีย และรัสเซีย ต้องใช้เอกสารประกอบการแจ้งดำเนินการส่งออก ดังนี้
  1. ใบกำกับสินค้า (Invoice) 2. ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) และ 3. หนังสือรับรองตนเองในการแจ้งแหล่งที่มาของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

- กรณีเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคส่งออกไปยังประเทศอื่น ๆ ต้องใช้เอกสารประกอบการแจ้งดำเนินการส่งออก ดังนี้
  1. ใบกำกับสินค้า (Invoice) และ 3. หนังสือรับรองตนเองในการแจ้งแหล่งที่มาของสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

ส่วนในกรณีของการขอ Health certificate มีวิธีการดังนี้
ผู้ยื่นคำขอเขียนเอกสารคำขอ/ยื่นเอกสารคำขอใบรับรองสุขภาพซากของสัตว์น้ำพร้อมเอกสารประกอบ ณ กองตรวจสอบเรือประมง สินค้าสัตว์น้ำ และปัจจัยการผลิต
และด่านตรวจประมงทุกด่าน

เงื่อนไข ผู้ยื่นคำขอต้องมีอำนาจในการลงนามรับทราบข้อแก้ไขในการยื่นคำขอหากรายละเอียดในเอกสารคำขอหรือเอกสารประกอบไม่ถูกต้องครบถ้วน
เจ้าหน้าที่จะยังไม่รับคำขอจนกว่าผู้ยื่นจะแก้ไขให้ถูกต้องครบถ้วน

กรณีคำขอหรือเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องและไม่อาจแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ผู้รับคำขอและผู้ยื่นคำขอจะต้องลงนามบันทึกความบกพร่องและรายการเอกสารหลักฐานร่วมกันพร้อมกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นคำขอดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติม(กรณีเอกสารไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องภายใน 1 วันทำการ)

 หากผู้ยื่นคำขอไม่ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด จะถือว่าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะยื่นคำขอเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับข้อมูลแล้ว

เจ้าหน้าที่พิจารณาและออกใบอนุญาต/ใบรับรองให้ผู้ยื่นคำขอภายใน 15 วันทำการ(ระยะเวลาตามวรรคแรก ให้นับตั้งแต่เมื่อเจ้าหน้าที่พิจารณาว่าผู้ยื่นคำขอได้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารและหลักฐานถูกต้องครบถ้วน) ในกรณีที่มีการอ้างอิงถึงผลงานทางวิชาการ ต้องทำการแนบเอกสารวิชาการนั้นมาด้วย

ในกรณีคณะกรรมการมีข้อสงสัยในหลักฐานที่ยื่นมา คณะกรรมการ/ผู้พิจารณาสามารถแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอมาชี้แจงเพิ่มเติมได้

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 67021328000003C

 วสุพล สมบูรณ์สารกิจ

 2024-01-08 17:20 น.

 อยากทราบสถิติการนำเข้าฉลามปากเป็ดย้อนหลัง5ปีครับ

ต้องการทราบสถิติการนำเข้าฉลามปากเป็ดย้อนหลัง5ปีเพื่อศึกษาตลาดครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2024-01-09 11:28 น.

 

เรียน   คุณวสุพล 

          สามารถติดต่อเพื่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่ กองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรการ กลุ่มคุ้มครองพันธ์ุสัตว์น้ำตามอนุสัญญา 02-561-2011 

 ความคิดเห็นเลขที่: 67011328000001C

 วิษณุพงษ์ กิจอุดม

 2023-12-20 20:11 น.

 วัตถุดิบในการหมักจุลินทรีย์ ปม.1

สืยเนื่องจากกระทู้ก่อนที่ผมเคยสอบถามว่าสามารถใช้อะไรแทนอาหารกุ้งได้บ้าง ซึ่งได้คำตอบว่าสามารถใช้อาหารปลาหรือรำกับกากถั่วเหลืองแทนได้ แต่พอดีมีคนที่เขาใช้นมโรงเรียนในการหมักจุลิทรีย์แทนพวกอาหารกุ้งอาหารปลา ซึ่งผมสงสัยเลยอยากมาสอบถามว่านมโรงเรียนสามารถใช้หมักได้จริงไหม ถ้าได้ใช้อัตราส่วนเท่าไหร่ครับ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2023-12-22 10:23 น.

 

เรียน  คุณวิษณุพงษ์ กิจอุดม

รายละเอียดดังไฟล์ที่แนบในลิงก์นี้

https://drive.google.com/file/d/1wJJFgJUggoX-uXY9O9XOLupxB7FdLuxA/view?usp=sharing

 ความคิดเห็นเลขที่: 66121328000005C

 เผดิมศักดิ์ โกมาศ

 2023-12-12 12:23 น.

 นำเข้าผงปรุงรสสำหรับทำข้าวผัด ที่มีส่วนผสมของกุ้งแห้ง 5.5%

เนื่องจากต้องการนำเข้าสินค้า เป็นผงปรุงรสสำหรับทำข้าวผัด ที่มีส่วนผสมของกุ้งแห้ง 5.5%

ซึ่งในระบบของศุลกากร  พิกัดสินค้าดังกล่าวต้องแสดงใบอนุญาตจากกรมประมง 

รบกวนสอบถามว่าต้องขออนุญาตนำเข้าจากกรมประมงหรือไม่ 

และ หากไม่ต้องขออนุญาต กรมประมงจะออกเอกสารใดมาแนบกับเอกสารเพื่อเคลียร์พิธีการหรือไม่

 นายรณชัย อุดมเพชร

 2023-12-12 11:16 น.

 การติดตั้งป้ายห้ามจับสัตว์น้ำ

ด้วยประชาชนในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลพิกุล อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ มีความประสงค์จะให้องค์การบริหารส่วนตำบลติดตั้งป้ายห้ามจับสัตว์น้ำในหนองน้ำสาธารณะ โดยคณะกรรมการประมงจังหวัดยังไม่มีประกาศกำหนดเป็นพื้นที่รักษาพืชพันธ์ุ อยากทราบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลจะสามารถจัดทำป้ายมาติดตั้งได้หรือไม่ และมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร

 วิษณุพงษ์ กิจอุดม

 2023-12-06 17:17 น.

 การหมักจุลินทรีย์ ปม.1

ในการหมักจุลินทรีย์ ปม.1 ของทางกรมประมง ระบุส่วนประกอบที่ใช้คือ 

1. หัวเชื้อจุลินทรีย์ 100 ml

2. น้ำสะอาด 200-250 ml 

3. กากน้ำตาล 0.5 kg

4. อาหารกุ้ง 0.5 kg

หมักโดยเปิดออกซิเจนทิ้งไว้ติดต่อกัน 36 ชั่วโมง จึงสามารถนำมาใช้งานได้

คำถาม คือ ในส่วนที่เป็นอาหารกุ้ง เราสามารถใช้อย่างอื่นทดแทนได้ไหมครับ อย่างเช่น อาหารปลาดุกหรือนมโรงเรียน ถ้าใช้ได้ควรใช้อัตราส่วนเท่าไหร่ครับ และสมมุติว่าเราหมักทิ้งไว้นานเกิน 36 ชั่วโมง เป็น 4-5 วัน จุลินทรีย์นี้ยังสามารถใช้ได้ไหมครับ

ขอบคุณครับ

 มุธิตา ก้อมมะณี

 2023-12-02 21:48 น.

 ติดต่อสอบถามถ้าต้องการพันธุ์ลูกกุ้งก้ามกราม สามารถติดต่อได้ที่ไหน

 พิชิต แสงผ่องแผ้ว

 2023-11-16 15:24 น.

 แหล่งชื้อลูกปลาเรนโบเทราด์

ต้องกาลูกปลาอายุมากกว่า 1 เดือน เพื่อทดลองเลี้ยง ในระบบ Bioglog ที่อุณหภูมิ 12-16 องศา C และจำลองแบบน้ำไหลที่อ เชียงของ จ.เชียงราย

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2023-12-07 11:47 น.

 

เรียน  ผู้สอบถาม

         สามารถติดต่อได้ที่ กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด โทรศัพท์/แฟกซ์ 0 2562 0585 อีเมล inland.information2@gmail.com

 

 

 

 ความคิดเห็นเลขที่: 66121328000001C

 Nattada Kumpanon

 2023-11-08 13:34 น.

 นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันปลาไร้กลิ่น

ต้องการนำเข้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันปลาไร้กลิ่น พิกัด 1517.90.90 000/KGM ต้องขอ FSW หรือไม่คะ สูตรส่วนประกอบ EPA และ DHA 30% จากน้ำมันปลาชนิดอื่น EPA AND DHA 30% FROM UNNAMED FISH OIL 1000 มิลลิกรัมค่ะ ขอบคุณค่ะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2023-11-09 09:13 น.

 

เรียน   คุณ Nattada

Q :  นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันปลาไร้กลิ่น ต้องการนำเข้า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร น้ำมันปลาไร้กลิ่น พิกัด 1517.90.90 000/KGM ต้องขอ FSW หรือไม่คะ
สูตรส่วนประกอบ EPA และ DHA 30% จากน้ำมันปลาชนิดอื่น EPA AND DHA 30% FROM UNNAMED FISH OIL 1000 มิลลิกรัมค่ะ ขอบคุณค่ะ

A :  

กรณีที่ผู้ประกอบการต้องการนำเข้าสินค้าที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำเกินร้อยละ 20 จะเข้าข่าย “ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ” ตาม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม lดังนั้น จึงต้องขออนุญาตนำเข้าสินค้าผ่านระบบ FSW กับทางกรมประมงครับ

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/welcome/importandexportcontro
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com

 ความคิดเห็นเลขที่: 66111328000003C

 ณัฐนรี ตั้นสุวรรณ

 2023-11-06 14:50 น.

 การส่งออกสินค้าที่มีส่วนประกอบ seafood ไปยังฮ่องกง

1. เนื่องจากทางโรงงานมีแผนการส่งสินค้า ขนมอบจากข้าวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกงรบกวนขอข้อมูลหรือข้อกำหนดในการส่งออกสินค้าค่ะ โดยสินค้ามีส่วนประกอบ Seafood คือ กุ้งผง กุ้ง freeze dried  และ/หรือ น้ำปลาไม่เกินร้อยละ 2 ของส่วนประกอบทั้งหมด  

2. ทางโรงงานต้องมีการขอการรับรองจากกรมประมงหรือ GACC จากจีนก่อนทำการส่งออกหรือไม่ หรือมีข้อกำหนดเฉพาะของทางเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

ขอบคุณมากค่ะ

 ผู้ดูแลระบบของหน่วยงาน

 2023-11-07 10:20 น.

 

 เรียน  คุณณัฐนรี

Q :  1. เนื่องจากทางโรงงานมีแผนการส่งสินค้า ขนมอบจากข้าวและบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปยังเขตบริหารพิเศษฮ่องกงรบกวนขอข้อมูลหรือข้อกำหนดในการส่งออกสินค้าค่ะ
ดยสินค้ามีส่วนประกอบ Seafood คือ กุ้งผง กุ้ง freeze dried และ/หรือ น้ำปลาไม่เกินร้อยละ 2 ของส่วนประกอบทั้งหมด

      2. ทางโรงงานต้องมีการขอการรับรองจากกรมประมงหรือ GACC จากจีนก่อนทำการส่งออกหรือไม่ หรือมีข้อกำหนดเฉพาะของทางเขตบริหารพิเศษฮ่องกง


A :  1. กรณีที่ผู้ประกอบการส่งออกต้องการส่งออกสินค้าที่มีส่วนผสมของสัตว์น้ำไม่เกินร้อยละ 20 จะไม่เข้าข่าย “ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ” ตาม พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558
           และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนั้น จึงไม่ต้องขออนุญาตส่งออกสินค้ากับทางกรมประมงครับ

       2. เนื่องจากสินค้าที่จะส่งออกไม่เข้าข่ายผลิตภัณฑ์ประมง ดังนั้น จึงไม่ต้องขอการรับรองจากทางกรมประมงครับ แต่ต้องดำเนินการขอการรับรองจากทาง GACC
           จากจีนก่อนทำการส่งออกครับ

ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพิ่มเติมได้ที่
https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/site/importandexportcontrol
หรือติดต่อสอบถาม 025793614  หรือทาง Email: fsw1900@hotmail.com 

 ความคิดเห็นเลขที่: 66111328000002C

คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา