“ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บังคับใช้ 5 ปี


[2025-07-14] ประกาศ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดลำปาง เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธ.. [2025-05-26] “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ กรมประมงออกประกาศฉ.. [2025-05-26] “ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ กรมประมงออกประกาศฉ.. [2025-05-01] เชิญชวนลงนามถวายพระพรออนไลน์ ลงนามถวายพระพรชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอ.. [2025-04-18] รายงานสรุปผลการดำเนินงานการจัดซื้อจัดจ้าง (สขร.1) ปีงบประมาณ 2568.. [2025-03-17] รายงานสรุปผลการดำเนินงานการจัดซื้อจัดจ้าง (สขร.1) ปีงบประมาณ 2567.. [2023-05-03] ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาส วันฉัตรมงคล ๔ พฤษภาคม ๒๕.. [2023-01-09] รายงานสรุปผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง (สขร.1) ศูนย์ป้องกันและปราบปราม.. [2022-12-21] ขอถวายพระพร สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี.. [2022-05-25] ออกปฏิบัติงานร่วมกับผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ (ชป.. อ่านทั้งหมด 

“ฤดูน้ำแดง 2568” คุ้มครองสัตว์น้ำจืดมีไข่ทั่วประเทศ กรมประมงออกประกาศฉบับใหม่ บังคับใช้ 5 ปี 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  ประชาสัมพันธ์กรมประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัววัยอ่อน และกำหนดเครื่องมือ วิธีการทำการประมง และเงื่อนไขในการทำการประมง พ.ศ. 2568 ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 แบ่งพื้นที่และระยะเวลาการบังคับใช้กฎหมาย ออกเป็น 3 ระยะ ตามความเหมาะสมของระบบนิเวศแต่ละพื้นที่ โดยกำหนดห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ในห้วงเวลาและพื้นที่ ดังต่อไปนี้

• ระยะที่ 1 : วันที่ 16 พฤษภาคม - 15 สิงหาคม ของทุกปี : ในบริเวณแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร ห้วย หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ เขื่อน พรุ และลำน้ำทุกสาขา รวมทั้งป่าไม้และพื้นดินที่มีน้ำท่วมตามธรรมชาติเชื่อมต่อบริเวณดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของเอกชน ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร เลย อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล และในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามแผนที่ท้ายประกาศ

• ระยะที่ 2 : วันที่ 1 มิถุนายน - 31 สิงหาคม ของทุกปี : ในบริเวณแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร ห้วย หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ เขื่อน พรุ และลำน้ำทุกสาขา รวมทั้งป่าไม้และพื้นดินที่มีน้ำท่วมตามธรรมชาติเชื่อมต่อบริเวณดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของเอกชน ในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สุพรรณบุรี สระบุรี นครปฐม นนทบุรี กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เว้นแต่ในพื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้อยู่ภายใต้บังคับระยะเวลาตาม ระยะที่ 1

• ระยะที่ 3 : วันที่ 1 กันยายน - 30 พฤศจิกายน ของทุกปี : ในบริเวณแม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร ห้วย หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ เขื่อน พรุ และลำน้ำทุกสาขา รวมทั้งป่าไม้และพื้นดินที่มีน้ำท่วมตามธรรมชาติเชื่อมต่อบริเวณดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของเอกชน ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา

ในส่วนของเครื่องมือ วิธีการทำการประมงและเงื่อนไขในการทำประมงที่อนุญาตให้สามารถทำการประมงในฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ได้ มีดังนี้

1. เบ็ดทุกชนิด ยกเว้น เบ็ดราว เบ็ดพวงที่ทำการประมงโดยวิธีการกระชาก หรือการใช้เครื่องมืออื่นใดที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน

2. ตะแกรง สวิง ช้อน ยอ หรือชนาง ซึ่งมีขนาดปากกว้างไม่เกิน 2 เมตร และไม่ทำการประมงด้วยวิธีประดา (ไม่เรียงหน้าไล่ต้อนสัตว์น้ำ) ตั้งแต่ 3 เครื่องมือขึ้นไป

3. สุ่ม ฉมวก และส้อม

4. ไซ ตุ้ม อีจู้ ลัน

5. แหที่มีความลึกไม่เกิน 6 ศอก (3 เมตร)

ทั้งนี้ กรณีที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดห้ามเครื่องมือชนิดหนึ่งชนิดใด ตามข้อ 1 – 5 ที่เข้มงวดกว่า ให้ถือปฏิบัติตามประกาศของคณะกรรมการประมงจังหวัดนั้น

6. การทำการประมงเพื่อการศึกษา วิจัย ทดลองทางวิชาการ หรือในพื้นที่โครงการที่ดำเนินการของทางราชการ ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมประมงหรือผู้ที่อธิบดีกรมประมงมอบหมาย หรือเพื่อเป็นการช่วยชีวิตของสัตว์น้ำโดยเจ้าหน้าที่สังกัดกรมประมงหรือภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่สังกัดกรมประมง

7. คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดออกประกาศกำหนดพื้นที่ เครื่องมือ วิธีการทำการประมงและเงื่อนไขในการทำการประมงไว้เป็นอย่างอื่น

หากผู้ใดฝ่าฝืนตามประกาศฯ มาตรา 70 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีโทษปรับตั้งแต่ห้าพันถึงห้าหมื่นบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมง


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา