โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 6

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปัตตานี


โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 6 

เมนู

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 6..คลิก

ความเป็นมา 

   

            ตามที่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จทรงปฏิบัติงานโครงการสร้างภูมิคุ้มกันในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดสตูล มาเป็นเวลานาน ได้ทรงประสบพบเห็นชาวไทยที่ยากจน และไร้หลักแหล่งที่ทำกินจำนวนมาก จึงมีพระประสงค์จะให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ทุกข์ยากเหล่านั้น โดยทรงมีพระดำริให้จัดหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและที่ถูกบุกรุกแล้วนำมาพัฒนาจัดระเบียบ เพื่อให้ราษฎรที่ยากไร้สามารถเข้าอยู่อาศัย และมีที่ทำกิน พร้อมทั้งบำรุงป่าธรรมชาติที่ยังเหลืออยู่ และปลูกป่าเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนการพัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อความอยู่ดีกินดีของราษฎรในรูปของหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 

   
     

            ในส่วนของจังหวัดปัตตานี กรมป่าไม้ได้ถวายพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอนนา บ้านดอนนา ต.บางเขา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี พื้นที่ประมาณ 2,256 ไร่ เพื่อทรงพิจารณาใช้ประโยชน์ ป่าดอนนามีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มป่าเสม็ดในรอบปีมีน้ำท่วมขังประมาณ 3-4 เดือน ดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย มีความเป็นกรดของดินและน้ำค่อนข้างสูง ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางเกษตรกรรมได้

   
     

            สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และกรมประมง ได้พิจารณาเห็นว่าด้วยคุณลักษณะทางกายภาพและพืชพรรณของพื้นที่มีความเป็นไปได้สูงในการนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการเพาะเลี้ยงปลาสลิด อันจะเป็นอาชีพที่มั่นคงแก่ราษฎรผู้ยากไร้ได้ต่อไป

   
     

            เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2536 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จ ฯ ออกหน่วยแพทย์พระราชทาน ณ โรงเรียนวังกะพ้อ ทรงมีพระราชดำริให้จังหวัดปัตตานีร่วมกับกรมประมง และหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ดำเนินการวางแผนทดลองเลี้ยงปลาสลิดในระหว่างที่รอผลการศึกษาความเป็นไปได้ของการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่น ดังนั้นการเลี้ยงปลาสลิดในโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 6 ป่าดอนนา จ.ปัตตานี จึงไม่เพียงเป็นการสร้างอาชีพแก่ราษฎรผู้ยากไร้เท่านั้น ยังเป็นการจัดสร้างแหล่งปลาสลิดแห่งใหม่ทดแทนแหล่งปลาดั้งเดิม (แถบ อ.บางพลี และ อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ) อีกทั้งสามารถนำผลการทดลองเป็นแนวทางเพื่อขยายผลการใช้ประโยชน์ยังพื้นที่ดินเค็ม ดินเปรี้ยวจัด และดินพรุ ซึ่งเป็นที่รกร้างว่างเปล่าที่มีอยู่มากมายทางภาคใต้ต่อไป 

   
     

สถานที่ตั้งโครงการฯ

   
            โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 6 ตั้งอยู่ ณ พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอนนา หมู่ที่ 4 และ หมู่ที่ 5 บ้านดอนนา ต.บางเขา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี พื้นที่ทั้งหมด 2,256 ไร่ มีอาณาเขต ดังนี้
            ทิศเหนือ         ติดต่อกับบ้านบางทันและบ้านท่ากำชำ
            ทิศใต้             ติดต่อกับถนนหมายเลข 42 (สงขลา-ปัตตานี)
            ทิศตะวันออก   ติดต่อกับบ้านดอนนา
            ทิศตะวันตก     ติดต่อกับบ้านปรัง
 
   
            พื้นที่โครงการฯ ประกอบด้วย (1) พื้นที่สำหรับศึกษาวิจัยทดลองเลี้ยงปลาสลิด จำนวน 197 ไร่ และ (2) พื้นที่ป่าเสม็ดยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ จำนวน 2,000 ไร่    
     

วัตถุประสงค์ของโครงการฯ

   
            (1) ใช้ประโยชน์ดินพรุในการเพาะเลี้ยงปลาสลิด และสัตว์น้ำชนิดอื่น ในลักษณะสาธิตการจัดระบบการเลี้ยงแบบพัฒนาควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาขยายพื้นที่การเลี้ยงปลาสลิดและสัตว์น้ำชนิดอื่น อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมในครัวเรือนบนพื้นที่ที่ไม่สามารถประกอบกิจการอื่นใดได้
            (2) เสริมสร้างอาชีพให้แก่ราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีรายได้มั่นคง สามารถกระจายรายได้ สร้างฐานะทางเศรษฐกิจ อันจะส่งผลต่อการแก้ไขปัญหาจิตวิทยามวลชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
            (3) ศึกษาวิจัยการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ดินพรุ ในรูปแบบและวิธีการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอาชีพ และเพื่อการอนุรักษ์
            (4) เป็นแหล่งบริการความรู้ ศูนย์ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยง และการแปรรูปสัตว์น้ำ แก่เกษตรกร นักศึกษา และบุคคลทั่วไป 
   
     

เป้าหมาย 

   
            (1) ผลิตพันธุ์ปลาสลิดเพื่อทดลองเลี้ยงในโครงการฯ แจกจ่ายเกษตรกร และปล่อยแหล่งน้ำ 
            (2) สาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาสลิดและสัตว์น้ำอื่นๆ ในพื้นที่ดินพรุ 
            (3) สาธิตการแปรรูป และการตลาดผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
            (4) ฝึกอบรมเกษตรกร “เทคนิคการเพาะเลี้ยงและการแปรรูปสัตว์น้ำ” 
            (5) ขยายผลการเลี้ยงปลาสลิดเป็นจุดสาธิตเพื่อฝึกอาชีพให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ของตนเอง 
            (6) สำรวจชลชีวประมง และศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
            (7) บริการทางวิชาการทางด้านความรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 

 

 Tags

  •   Hits
  • โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  จำนวนผู้อ่าน 64  สำรวจและประเมินผลจับสัตว์น้ำ (CPUE)  สำรวจและประเมินผลจับสัตว์น้ำ (CPUE)   จำนวนผู้อ่าน 53 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  จำนวนผู้อ่าน 43 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  จำนวนผู้อ่าน 41 โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่  จำนวนผู้อ่าน 40 ฝึกอบรมเชิญปฏิบัติการ ฝึกอบรมเชิญปฏิบัติการ  จำนวนผู้อ่าน 40 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  จำนวนผู้อ่าน 39 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง   จำนวนผู้อ่าน 36 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง   จำนวนผู้อ่าน 35 โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่ โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่  จำนวนผู้อ่าน 35 ประชาสัมพันะธ์โครงการ  ประชาสัมพันะธ์โครงการ   จำนวนผู้อ่าน 34 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  จำนวนผู้อ่าน 31 โครงการ ส่งเสริมอาชีพประมง โครงการ ส่งเสริมอาชีพประมง  จำนวนผู้อ่าน 29 โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง  โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง   จำนวนผู้อ่าน 28 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Young Smart Farmer การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Young Smart Farmer  จำนวนผู้อ่าน 27


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดปัตตานี

    รายละเอียด ม.๕ ต.บางเขา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ๙๔๑๗๐  email  ifpattani@gmail.com  โทรศัพท์ ๐-๗๓๓๓-๐๙๘๔  FAX ๐-๗๓๓๓-๐๙๘๕  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6