กรมประมงเตือน...!! เกษตรกรเฝ้าระวัง โรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ


กรมประมงเตือน...!! เกษตรกรเฝ้าระวัง โรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT กรมประมงเตือน...!! เกษตรกรเฝ้าระวัง โรคสัตว์น้ำในช่วงฤดูฝน..คลิก

          นายมีศักดิ์ ภักดีคง อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า ด้วยขณะนี้ สภาพอากาศของประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน โดยในหลายพื้นที่เริ่มมีฝนตกชุกอย่างต่อเนื่องทำให้สภาวะอากาศ อุณหภูมิและออกซิเจนในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้สัตว์น้ำทั้งที่อาศัยอยู่ในธรรมชาติและที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ในบ่อหรือในกระชังอาจจะปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ เสี่ยงที่จะเกิดโรคได้ง่าย และอาจตายได้อย่างฉับพลัน ทั้งนี้ กรมประมง ได้มีการจัดทำแผนเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยด้านประมง ประจำปี 2564 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้กับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไว้ 3 ระยะ คือ 1.การดำเนินการก่อนการเกิดภัย 2.การดำเนินการขณะเกิดภัย และ 3. การดำเนินการหลังการเกิดภัย

กรมประมง จึงขอให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตรียมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และพร้อมรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยมีข้อแนะนำ ดังนี้

1. วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และฤดูกาล เพื่อให้สามารถจับได้ก่อนฤดูน้ำหลาก

2. ทยอยจับสัตว์น้ำที่ได้ขนาดขึ้นมาจำหน่ายหรือบริโภค เพื่อเป็นการลดปริมาณสัตว์น้ำภายในบ่อ เพื่อลดความสูญเสียให้มากที่สุด

3. ปรับปรุงคันบ่อและเสริมคันบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่าน ๆ มา

4. จัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำร่องระบายน้ำตื้นเขินออกไปเพื่อให้น้ำไหลเข้าออกได้อย่างสะดวก

5. ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้มีปริมาณพอเหมาะหรือ มีปริมาณ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ

6. จัดเตรียมปูนขาวไว้สำหรับพื้นที่ดินกรด ดินเปรี้ยว เพื่อปรับสภาพน้ำในบ่อหลังน้ำท่วมประมาณ 50 – 60 กิโลกรัมต่อไร่

7. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น อวน เครื่องสูบน้ำ เครื่องเพิ่มออกซิเจน ยาปฏิชีวนะ สารเคมี ไว้ให้พร้อม

8. ควรหมั่นตรวจสุขภาพสัตว์น้ำอย่างสม่ำเสมอ หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบหาสาเหตุพร้อมดำเนินการแก้ไขทันที

9. กรณีการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ควรหมั่นตรวจสอบดูแลความคงทนแข็งแรงของกระชังอยู่เสมอและควรจัดวางกระชังให้มีระยะห่างกันพอสมควร เพื่อให้น้ำมีการหมุนเวียนถ่ายเทสะดวก

?อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโรคสัตว์น้ำที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน และเกษตรกรควรเฝ้าระวัง สำหรับโรคที่เกิดในปลา และโรคที่เกิดในกุ้ง ได้แก่

?1. โรคที่เกิดจากปรสิต ที่พบได้ในปลา เช่น เห็บระฆัง ปลิงใส และหมัดปลา ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ เช่น ซึม ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวที่ผิวน้ำ กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ กินอาหารน้อยลง ผอม ขับเมือกออกมามาก มีแผลเลือดออกที่ลำตัว เป็นต้น ซึ่งสามารถกำจัดปรสิตในปลาได้ โดยใช้ฟอร์มาลีน 25 – 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ตัน แช่ตลอด เปลี่ยนถ่ายน้ำและทำซ้ำ 2 – 3 ครั้ง หรือใช้ด่างทับทิม 1 – 2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน

?2. โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคแผลตามลำตัว โรคตัวด่าง พบได้ในปลาและเกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม แอโรโมแนส, วิบริโอ, เอ็ดเวิร์ดเซลลาร์ , ฟลาโวแบคทีเรียม เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ปลามีอาการ ซึม มีแผลที่ลำตัว ไม่กินอาหาร ตกเลือดที่ลำตัวและครีบ ตัวด่างขาวที่ลำตัว สีซีดหรือเข้มผิดปกติ และทยอยตาย ถ้าปลาขนาดเล็กอาจมีอัตราการตายสูงมาก หากพบปลามีอาการดังกล่าว ควรนำมาตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจสอบหาชนิดของแบคทีเรีย และผลการทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพที่จะให้ ให้เหมาะสมกับชนิดของแบคทีเรียก่อนการนำยาไปใช้เพื่อยับยั้งการเกิดโรค

?3. โรคไวรัส เช่น โรค ทีไอแอลวี พบเกิดขึ้นในปลาจากเชื้อไวรัสชื่อ ทิลาเบียเลคไวรัส (ทีไอแอลวี) จะทำให้ปลามีอาการผิดปกติ เช่น สีตัวเข้มหรือซีดผิดปกติ ว่ายน้ำผิดปกติ มีแผลที่ลำตัว และมีอัตราการตายสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีไวรัสอีกหลายชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคในกุ้งขาว และกุ้งก้ามกราม โดยสัตว์น้ำที่ได้รับเชื้อไวรัสจะมีอาการแตกต่างกันออกไปตามชนิดของเชื้อ แต่อาการโดยรวม คือไม่กินอาหาร อัตราการตายสูง การป่วยด้วยเชื้อไวรัสในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาและสารเคมี เกษตรกรจึงควรป้องกันและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและมีความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อลดอัตราความเสี่ยงและช่องทางในการรับเชื้อ

?4. โรคน๊อคน้ำ ส่วนใหญ่พบเกิดขึ้นในปลา เนื่องจากคุณภาพของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน เช่น อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ออกซิเจนต่ำ ความเป็นกรด – ด่าง ต่ำ เกิดจากฝนตกชะล้างความเป็นกรดจากดินสู่น้ำ และความขุ่นในน้ำมากขึ้นหรือมีตะกอนแขวนลอยในน้ำสูง เป็นต้น ทำให้ปลามีอาการลอยหัว เปิด - ปิด กระพุ้งแก้มเร็ว เนื่องจากภาวะออกซิเจนหรือตะกอนในน้ำไปทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนของเหงือกลดลง จึงทำให้ปลาตายอย่างกระทันหัน โรคนี้ไม่มีทางรักษาแต่เกษตรกรสามารถเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้

?อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมประมง ได้เร่งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเตรียมเฝ้าระวัง ป้องกันและพร้อมรับมือกับสถานการณ์ ตามแผนเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยด้านการประมง ประจำปี 2564 เพื่อให้สามารถใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ได้ทันท่วงที

เกษตรกรควรติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด และหากมีปัญหาในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหรือข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคสัตว์น้ำที่พบ สามารถขอคำปรึกษาและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ทุกแห่งทั่วประเทศ และกองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02-561-3381 อธิบดีกรมประมงกล่าว

 Tags

  •   Hits
  • กรมประมง ดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) จังหวัดชลบุรี จำนวน 1 แห่ง พื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านท่าตาลักษณ์ หมู่ที่ 3 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี  กรมประมง ดำเนินการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (ปะการังเทียม) จังหวัดชลบุรี จำนวน... จำนวนผู้อ่าน 135  ประกาศกรมประมง เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ประกาศกรมประมง เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป  จำนวนผู้อ่าน 134 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ จัดให้มีกิจกรรมฝึกทักษะในการนำเสนอข้อมูลวิชาการ  ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ จัดให้มีกิจกรรมฝึกทักษะในการนำเสนอข้อมูลว... จำนวนผู้อ่าน 65 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ดำเนินการเก็บข้อมูลทรัพยากรประมงจากอวนติดตาปลา ที่ทดลองติดตั้งอุปกรณ์ Pingers บริเวณปากแม่น้ำท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ดำเนินการเก็บข้อมูลทรัพยากรประ... จำนวนผู้อ่าน 44 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ เข้าร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่แหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศจังหวัดสมุทรสาคร  ณ วัดชีผ้าขาว เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ เข้าร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืน... จำนวนผู้อ่าน 42 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการเพื่อสังคม CSR ศึกษาวิจัยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลเพื่อการประมงจากขาแท่นหลุมผลิตปิโตรเลียม ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์ โครงการเพื่อส... จำนวนผู้อ่าน 39 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ได้ออกปฏิบัติการสำรวจข้อมูลสภาวะทรัพยากรประมงจากเครื่องมือประมงพาณิชย์และเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ประจำเดือนมีนาคม เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ได้ออกปฏิบัติการสำรวจข้อมูลสภา... จำนวนผู้อ่าน 38 นายพัฒนพงศ์ ชูแสง ผู้ตรวจราชการกรมประมง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการกรมประมง เข้าร่วมประชุมตรวจติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 รอบที่ 1 จังหวัดสมุทรปราการ  นายพัฒนพงศ์ ชูแสง ผู้ตรวจราชการกรมประมง พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการกรมประมง เข้าร... จำนวนผู้อ่าน 38 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ จัดให้มีกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในองค์กร เรื่อง การศึกษาระยะการเจริญพันธุ์และความสมบูรณ์เพศของรังไข่และถุงน้ำเชื้อของปลาสีกุนตาโต (Selar crumenophthalmus) และปลาข้างเหลือง (Selaroides leptolepis)  ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ จัดให้มีกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในองค... จำนวนผู้อ่าน 37 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติ และร้องเพลงชาติไทย  เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ร่วมกิจกรรมเคารพธงชาติ และร้อง... จำนวนผู้อ่าน 36 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมประมง (Fisheries Co-Ordinator : FC) จังหวัดสมุทรสาคร ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายขอ... จำนวนผู้อ่าน 34 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ออกปฏิบัติงานให้บริการแก่เจ้าของเรือประมงในการตรวจประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง จ.สมุทรปราการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ออกปฏิบัติงานให้บริการแก่เจ้าของเรือประมง... จำนวนผู้อ่าน 34 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ออกปฏิบัติงานเก็บรวบรวมตัวอย่างหอยสองฝา ตัวอย่างน้ำ และตัวอย่างแพลงก์ตอนพืช บริเวณแหล่งประมงหอยสองฝา เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ ออกปฏิบัติงานเก็บรวบรวมตัวอย่า... จำนวนผู้อ่าน 33 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ สำรวจและติดตามการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ บริเวณกลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็ก (เขาหัวล้าน) จังหวัดชลบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ สำรวจและติดตามการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำ... จำนวนผู้อ่าน 32 ประกาศศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ เรื่อง ประกวดราคาจ้างซ่อมแซมเรือสำรวจประมง ๒ จำนวน ๑ ลำ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ประกาศศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ เรื่อง ประกวดราคาจ้างซ่อมแซมเรือสำร... จำนวนผู้อ่าน 27


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ

    รายละเอียด ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสมุทรปราการ 49 ซ.พระราชวีริยาภรณ์ 16 ต.บางพึ่ง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ  email  umdecdof@yahoo.com  โทรศัพท์ โทรศัพท์ 0-2816-7636-38  FAX โทรสาร 0-2816-7634  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6