ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา

 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา


ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา 



ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา

ศพท.สงขลา

ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง

     ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง ถือกำเนิดจากสถานีประมงทะเลสงขลา ซึ่งได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2506 สังกัดกองสำรวจและค้นคว้า โดยมีหน้าที่ในการรวบรวมสถิติชีวะและชลสมบัติในทะเลสาบสงขลา สำรวจค้นคว้าด้านชีววิทยาของสัตว์น้ำ ศึกษาสิ่งแวดล้อมสำรวจแหล่งทำการประมงอวนลาก ค้นคว้าวิจัยเผยแพร่ข่าวสารและส่งเสริมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการประมงทะเล การแปรรูปสัตว์น้ำ 
ในปี พ.ศ. 2516 กรมประมงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ โดยเน้นหนักที่กิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลและปลากะพงขาว จึงได้เปลี่ยนชื่อ สถานีประมงทะเลสงขลา เป็น สถานีประมงจังหวัดสงขลา 
โดยเน้นการศึกษาในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเพียงอย่างเดียว และได้ขยายหน่วยเพาะพันธุ์สัตว์น้ำไปตั้งอยู่ที่บ้านเก้าเส้ง ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งต่อมาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อก่อสร้างอาคารสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา 
ในปี 2529 กรมประมงและบริษัทเอนไวโรคอน อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัด ได้ทำสัญญาให้สถาบันพัฒนาบริหารศาสตร์ ทำหน้าที่ปรึกษาเพื่อทำวิจัยการจัดส่วนราชการ การจัดการและผลการปฏิบัติงานของกรมประมง และได้เสนอให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จังหวัดสงขลา ดังนั้นกรมประมงจึงได้พิจารณาจัดตั้งศูนย์ฯ โดยของบประมาณในการจัดตั้งศูนย์ฯ 
ในปีงบประมาณ 2532 ได้รับงบประมาณเป็นเงิน 1,200,000 บาท และผูกพันงบประมาณอีก 10,600,000 บาท และแต่งตั้งให้ นายสมศักดิ์ ปราโมกข์ชุติมา ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จังหวัดสงขลา ตามคำสั่งกรมประมงที่ 885/2531 ลงวันที่ 7 ตุลาคม 2531 ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่า

 

ศพช.สงขลา

ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลา

     สืบเนื่องจากการประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะทางทะเล 200 ไมล์ ของประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ประเทศไทยสูญเสียพื้นที่ทำการประมงบางส่วน และปัญหาการขาดแคลนและราคาสูงของน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ชาวประมงมีต้นทุนในการประกอบอาชีพสูงขึ้นและขาดทุน จนบางรายต้องเลิกกิจการ ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำที่จับจากธรรมชาติในทะเลลดลงจนไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศ และปัญหาการว่างงาน รัฐบาลไทยได้ขอความร่วมมือจากธนาคารพัฒนาเอเชีย ในการจัดตั้งโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมี ดร. กิจจา ใจเย็นเป็นผู้จัดการโครงการ โดยได้มีการทำสัญญาเงินกู้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม 2522 ซึ่งศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลาเป็นส่วนหนึ่งในโครงการย่อยโครงการพัฒนาทะเลสาบสงขลา ภายใต้ชื่องานพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในคอกในทะเลสาบสงขลา ทำหน้าที่ในการผลิตพันธุ์กุ้งก้ามกรามปีละ 20 ล้านตัว ส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาทั้งตอนบนและตอนในนำไปเลี้ยงในคอก 
ในปี 2531 กรมประมงได้มอบหมายให้หน่วยงานทำหน้าที่ผลิตพันธุ์กุ้งกุลาดำตอบสนองความต้องการเพะเลี้ยงของเกษตรกร จึงได้ยกฐานะเป็นสถานีประมงน้ำกร่อยจังหวัดสงขลา สังกัดกองประมงน้ำกร่อย
ในปี 2534 ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา สังกัดกองเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ในปี 2546 ได้ยกฐานะเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลา สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ตามการปรับโครงสร้างหน่วยงานราชการของกรมประมง

 

ศพม.สงขลา

 

ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) เมื่อ พ.ศ. 2559

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา) หรือ ศพม.สงขลา ได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 1 ตุลาคม 2559 ตามการปรับโครงสร้างหน่วยงานกรมประมง ตามคำสั่งกรมประมงที่ 925/2559 โดยการผนวกรวม 2 หน่วยงานเข้าด้วยกัน คือ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งสงขลา และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง (สงขลา)  ศพม.สงขลา

 

ปัจจุบัน ==>> ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา 

ตามกฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 9 มิ.ย. พ.ศ. 2563 และคำสั่งกรมประมงที่ 825/2563 เรื่อง การกำหนดโครงสร้างการแบ่งงานภายใน และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงาน ตามกฏกระทรวงฯ ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ได้แยกงานด้านประมงทะเล ออกจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา" มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ 79/1 ถนนวิเชียรชม ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

พื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา

 Tags

  •  บทความหน้าหลัก Hits 10 อันดับ (6 เดือน)
  • ยังไม่มีการจัดลำดับบทความรอบ 6 เดือน!
  •  กิจกรรม Hits 10 อันดับ (6 เดือน)
  • เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยากรประมงจาก เรืออวนลากที่ขึ้นท่าในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และสงขลา ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยเก็บข้อมูลจากเรืออวนลาก เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลทรัพยาก... จำนวนผู้อ่าน 296  เมื่อวันที่ 20-24 มีนาคม พ.ศ. 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ให้บริการตรวจประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อออกหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (สร.3) ฉบับใหม่ ให้กับเรือประมงพาณิชย์ จำนวน 24 ลำ เมื่อวันที่ 20-24 มีนาคม พ.ศ. 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ใ... จำนวนผู้อ่าน 227 เมื่อวันที่ 29-30 พฤศจิกายน และ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ให้บริการตรวจประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ในเขตพื้นที่จังหวัดสงขลา เพื่อออกหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (สร.3) ฉบับใหม่ ให้กับเรือประมงพาณิชย์ จำนวน 13 ลำ ตามประกาศกรมประมง เรื่องมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมงและหลักเกณฑ์ในการออกหนังสือรับรอง พ.ศ. 2563 ให้เจ้าของเรือประมงพาณิชย์ยื่นคำขอรับหนังสือรับรองฉบับใหม่ และต้องนำเรือประมงเข้ามารับการตรวจประเมินฯ ก่อนหนังสือฉบับเดิมสิ้นอายุ เมื่อวันที่ 29-30 พฤศจิกายน และ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒน... จำนวนผู้อ่าน 127 รองอธิบดีกรมประมง เยี่ยมกลุ่มชาวเรือท่องเที่ยวตกปลา จังหวัดสงขลา รองอธิบดีกรมประมง เยี่ยมกลุ่มชาวเรือท่องเที่ยวตกปลา จังหวัดสงขลา  จำนวนผู้อ่าน 102 เมื่อวันที่ 9-13 มกราคม พ.ศ. 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ให้บริการตรวจประเมินมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง ในเขตพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อออกหนังสือรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัยในเรือประมง (สร.3) ฉบับใหม่ ให้กับเรือประมงพาณิชย์ จำนวน 27 ลำ เมื่อวันที่ 9-13 มกราคม พ.ศ. 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ให... จำนวนผู้อ่าน 95 วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา , ศูนย์วิจัยและตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงสงขลา และศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 8 (สงขลา)  ร่วมกิจกรรม Big Cleaning Day  วันอังคารที่ 10 มกราคม 2566 เจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดสงขลา ,... จำนวนผู้อ่าน 88     เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บข้อมูลทรัพยากรประมงจากเรืออวนล้อมจับที่ขึ้นท่าในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจำเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเรืออวนล้อมซั้ง จำนวน 3 ลำ      เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บข้อมูลทรัพยากรป... จำนวนผู้อ่าน 88  เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บข้อมูลทรัพยากรประมงจากเรืออวนครอบที่ขึ้นท่าในพื้นที่จังหวัดสงขลา และปัตตานี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเรืออวนครอบปลากะตัก   เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บข้อมูลทรัพยากรประม... จำนวนผู้อ่าน 70 แนวปฏิบัติสำหรับรับแจ้งการครอบครองตามประกาศกรมประมง เรื่อง ให้ผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งซากสัตว์น้ำ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสัตว์น้ำ ตามบัญชีท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) มาแจ้งการมีไว้ครอบครอง พ.ศ.2566 แนวปฏิบัติสำหรับรับแจ้งการครอบครองตามประกาศกรมประมง เรื่อง ให้ผู้มีไว้ในครอบครอง... จำนวนผู้อ่าน 69 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะการทำประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ณ ท่าขึ้นสัตว์น้ำในหมู่บ้านชาวประมง โดยได้เก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือประมงพื้นบ้าน จำนวนทั้งสิ้น 21 ลำ เป็นอวนลอยกุ้งสามชั้นทั้งหมด พบว่ามีอัตราการจับสัตว์น้ำ เท่ากับ 17.98 กิโลกรัม/ลำ จับได้ปลาโคกเป็นสัตว์น้ำหลัก โดยกุ้งแชบ๊วยที่จับได้มีความยาวเหยียดเฉลี่ย 16.45 (13.00-21.00) ซม. และองค์ประกอบชนิดสัตว์น้ำ 5 อันดับแรก คือ ปลาโคก ร้อยละ 24.99 รองลงมาคือ กุ้งแชบ๊วย ร้อยละ 19.58 ปลาข้างตะเภา ร้อยละ 5.98 ปลายอดม่วง ร้อยละ 4.45 และปลากระเบนนก ร้อยละ 4.37 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา ออกปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลสภาวะกา... จำนวนผู้อ่าน 67


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2566 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลสงขลา

    รายละเอียด 79/1 ถ.วิเชียรชม ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา 90000 Mail : smdec_dof@yahoo.com (สงขลา)  email  smdec_dof@yahoo.com  โทรศัพท์ 074-312595  FAX 074-312495  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6