15 มิ.ย.เป็นต้นไป กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก” ในพื้นที่ 8 จังหวัด ควบคุมการทำประมงในช่วงฤดูปลามีไข่ เผยปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 %

 ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต​ 7 (สุราษฎร์ธานี)​


15 มิ.ย.เป็นต้นไป กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก” ในพื้นที่ 8 จังหวัด ควบคุมการทำประมงในช่วงฤดูปลามีไข่ เผยปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 % 

ประชาสัมพันธ์

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

15 มิ.ย.เป็นต้นไป กรมประมง...ประกาศ “ปิดอ่าวไทยรูปตัว ก” ในพื้นที่ 8 จังหวัด ควบคุมการทำประมงในช่วงฤดูปลามีไข่ เผยปีที่ผ่านมา พบสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นมากกว่า 4 %..คลิก

กรมประมงประกาศใช้มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) ประจำปี 2568 ใน 2 ห้วงระยะเวลา คือ ช่วงที่ 1 : วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2568 และ ช่วงที่ 2 วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2568 ครอบคลุมพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี มั่นใจ มาตรการฯ บังคับใช้ที่ผ่านมา สามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นได้มากกว่า 8,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 4.1 (ปริมาณการจับสัตว์น้ำจากการทำประมงทะเลปี 256และปี 256เท่ากับ 194,502 และ 202,538 ตัน ตามลำดับ) ดังนั้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำในอ่าวไทย จึงขอความร่วมมือพี่น้องชาวประมงปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงของประเทศ
เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

 

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวไทยรูปตัว ก ประจำปี 2568 จำนวน 2 ช่วง ดังนี้

  • ช่วงที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน – 15 สิงหาคม 2568 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน

ฝั่งตะวันตก บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร โดยเริ่มจากอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสิ้นสุดที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,350 ตารางกิโลเมตร

  • ช่วงที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม – 30 กันยายน 2568 ในพื้นที่จับสัตว์น้ำอ่าวไทยตอนใน

ด้านเหนือบางส่วนของจังหวัดสมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และชลบุรี โดยเริ่มจากอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร และสิ้นสุดที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,650 ตารางกิโลเมตร

 

ทั้งนี้ อนุญาตให้ใช้เฉพาะเครื่องมือประมงบางชนิด ดังนี้

1. อวนลากแผ่นตะเฆ่ที่ใช้ประกอบกับเรือกลลำเดียว ขนาดต่ำกว่า 20 ตันกรอส ให้สามารถทำการประมงได้เฉพาะในเวลากลางคืนและบริเวณนอกเขตทะเลชายฝั่ง

2. อวนติดตาปลาที่ใช้ประกอบเรือกล ขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส และมีขนาดช่องตาอวนตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวอวนไม่เกิน 2,000 เมตร ต่อเรือประมง 1 ลำ ทั้งนี้ ห้ามทำการประมงโดยวิธีล้อมติด หรือวิธีอื่นใด
ที่คล้ายคลึงกัน

3. อวนติดตาชนิด อวนปู อวนกุ้ง อวนหมึก

4. อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกหมึก ที่ใช้ประกอบกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ) ให้ทำการประมง
นอกเขตทะเลชายฝั่ง

5. ลอบปูที่มีขนาดตาอวนโดยรอบตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป และใช้ทำการประมงไม่เกิน 300 ลูก ต่อเรือประมง
1 ลำ ให้ทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่งได้

6. ลอบปูที่มีขนาดช่องตาท้องลอบ ตั้งแต่ 2.5 นิ้วขึ้นไป ให้ทำการประมงนอกเขตทะเลชายฝั่ง

7. เครื่องมือลอบหมึกทุกชนิด

8. ซั้งทุกชนิดที่ใช้ประกอบการทำประมงพื้นบ้านในเขตทะเลชายฝั่ง

9. เครื่องมือคราดหอย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเครื่องมือทำการ

ประมง รูปแบบ และพื้นที่ทำการประมงของเครื่องมือประมงคราดหอย ที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำร่วมด้วย

10. เครื่องมืออวนรุนเคย โดยต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ฯ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนด

เงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือ วิธีที่ใช้ บริเวณพื้นที่ และระยะเวลาในการทำการประมงที่ผู้ทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนรุนเคยที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติร่วมด้วย

11. จั่น ยอ แร้ว สวิง แห เบ็ด สับปะนก ขอ ลอบ ฉมวก

12. เครื่องมืออื่นใดที่ไม่ใช้ประกอบเรือกลขณะทำการประมง

13. เรือประมงที่มีขนาดต่ำกว่า 10 ตันกรอส ประกอบกับเครื่องมือประมงที่ไม่ใช่เครื่องมือประมงประเภท
อวนล้อมจับ อวนลากคู่ อวนครอบ อวนช้อน หรืออวนยกปลากะตัก ที่ใช้ประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เครื่องปั่นไฟ)
เรือประกอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (เรือปั่นไฟ) และเครื่องมือทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงตามประกาศที่ออกตามความ
ในมาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนด การประมง พ.ศ. 2558

 

สำหรับการใช้เครื่องมือในข้อ 2 3 4 5 6 และ 7 จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฯ
ที่ออกตามมาตรา 71 (1) และเครื่องมือที่ใช้ทำการประมงต้องไม่ใช่เครื่องมือที่กำหนดห้ามใช้ทำการประมงตามมาตรา 67 มาตรา 69 หรือ มาตรา 71 (1) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

โดยหากผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษ ปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงสามสิบล้านบาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือประมง หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่าและต้องได้รับโทษทาง
ปกครองอีกด้วย

 

 

จากข้อมูลทางวิชาการ พบว่า ในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน หากพิจารณาจากอัตราการจับสัตว์น้ำจากเครื่องมือ
อวนล้อมจับก่อนและหลังมาตรการฯ พบว่า ในช่วงที่ 1 อัตราการจับสัตว์น้ำหลังมาตรการฯ เท่ากับ 6,845.89 กิโลกรัม/วัน สูงกว่าก่อนมาตรการฯ 2,152.47 กิโลกรัม/วัน เพิ่มขึ้น 2.18 เท่า ในช่วงที่ 2 อัตราการจับสัตว์น้ำหลังมาตรการฯ เท่ากับ 9,115.99 กิโลกรัม/วัน สูงกว่าก่อนมาตรการฯ 5,054.61 กิโลกรัม/วัน เพิ่มขึ้น 0.8 เท่า ซึ่งโดยภาพรวม การปิดอ่าวฯ
ส่งให้ผลการจับปลาเศรษฐกิจโดยรวมปรับตัวสูงขึ้นจากการเพิ่มของกลุ่มปลาผิวน้ำ เช่น ปลาสีกุนเขียว ปลาหลังเขียว และปลามงโกรย

ทั้งนี้ ลูกปลาทูที่เกิดใหม่ในพื้นที่อ่าวไทยตอนกลาง (ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี) จะเริ่มเดินทางเข้าหาฝั่ง ซึ่งกรมประมงประกาศปิดต่อเนื่องบริเวณเขตชายฝั่งทะเลของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน เพื่ออนุรักษ์ลูกปลาทูที่เกิดใหม่ รวมทั้งประกาศปิดเขตต่อเนื่องบริเวณปลายแหลมเขาตาม่องล่าย ถึงอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อรักษาปลาทูสาวให้หากินและเลี้ยงตัว จนมีขนาด 10 – 13 ซม. หลังจากนั้นจะเริ่มเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก)
ฝั่งตะวันตก ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมในช่วงเวลาดังกล่าวพบปลาทูที่มีขนาด 13 – 14 ซม. ซึ่งเรียกว่า ปลาทูสาว และอยู่หากินในพื้นที่ จนโตเต็มวัย และเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ก้นอ่าว หรือพื้นที่ปิดฝั่งเหนือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ในช่วงเวลาดังกล่าวพบปลาทูมีขนาด 15-17 ซม. ซึ่งเป็นขนาดพ่อแม่พันธุ์ ปลาทูกลุ่มนี้เลี้ยงตัวอยู่ในบริเวณอ่าวไทยตอนในจนถึงช่วงปลายปี เมื่อมีความพร้อมสืบพันธุ์ วางไข่ จึงเริ่มอพยพเคลื่อนตัวลงสู่แหล่งวางไข่ในอ่าวไทยตอนกลางอีกครั้ง ตามวงจรชีวิตปลาทู

ดังนั้น การดำเนินตามมาตรการจึงต้องมีต่อไป เพื่อคุ้มครองสัตว์น้ำ มิให้ถูกจับก่อนที่จะมีโอกาสได้ผสมพันธุ์และวางไข่ หรือถูกจับก่อนวัยอันควร ซึ่งเป็นการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุลภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ และจะเป็นหนทางในการนำปลาทูกลับฟื้นคืนความสมบูรณ์ โดยที่ผ่านมาเกิดจากความร่วมมือของพี่น้องชาวประมงส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติตามมาตรการฯ มาตลอด
เมื่อภาครัฐดำเนินการและภาคประชาชนขานรับให้การสนับสนุนจะนำไปสู่ความสำเร็จ การขับเคลื่อนการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรให้เกิดความสมดุลกับกำลังการผลิตของธรรมชาติ สัตว์น้ำ และเกิดความยั่งยืนของการประกอบอาชีพประมง ซึ่งกรมประมงต้องขอขอบคุณพี่น้องชาวประมงทุกคนมา ณ ที่นี้ และในห้วงระยะเวลาประกาศใช้มาตรการปิดอ่าวตัว ก ประจำปี 2568 จึงขอให้พี่น้องชาวประมงโปรดปฏิบัติตามกฎหมายและปฏิบัติตามคำแนะนำ
ของเจ้าหน้าที่ภาครัฐอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม และระมัดระวังการทำการประมง โดยให้ใช้เฉพาะเครื่องมือที่ประกาศให้สามารถทำการประมงได้เท่านั้น และขอฝากประชาสัมพันธ์มาตรการบริหารจัดการทรัพยากรในช่วงสัตว์น้ำมีไข่ วางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน พื้นที่อ่าวไทยตอนใน (อ่าวไทยรูปตัว ก) ประจำปี พ.ศ. 2568 นี้ เพื่อสร้างความรู้ให้แก่พี่น้องชาวประมงและประชาชนทั่วไปได้รับทราบ และเข้าใจถึงความสำคัญของทรัพยากรสัตว์น้ำ ตลอดจนช่วยสร้างจิตสำนึกในการหวงแหนอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน ทั้งนี้ เนื่องจากการกำหนดฤดูปิดอ่าวไทยรูปตัว ก นั้น เป็นหนึ่งในมาตรการที่ใช้ควบคุมการทำการประมงเพื่อลดการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำตามกฎหมายเท่านั้น การอนุรักษ์ทรัพยากรที่แท้จริงต้องเริ่มที่ประชาชนทุกคน ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ และการตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่รู้จักใช้ ร่วมกันดูแลและรักษาไว้ให้มีอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานของตนต่อไป...อธิบดีกรมประมง กล่าว

 Tags

  •   Hits
  • ระบบสมุดบันทึกการทำประมงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fishing System) ระบบสมุดบันทึกการทำประมงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fishing System)  จำนวนผู้อ่าน 424  โครงการประมงรวมใจ จ่ายระบบติดตามเรือประมงไทย (VMS) คนละครึ่ง โครงการประมงรวมใจ จ่ายระบบติดตามเรือประมงไทย (VMS) คนละครึ่ง  จำนวนผู้อ่าน 71 ประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้การยื่นคำขออนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 และการขยายอายุหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว (Seabook) ที่จะหมดอายุ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้การยื่นคำขออนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ... จำนวนผู้อ่าน 33 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวันที่ 30 มีนาคม 2568 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวั... จำนวนผู้อ่าน 27 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวันที่ 31 มีนาคม 2568 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวั... จำนวนผู้อ่าน 27 กิจกรรมสัปดาห์การให้บริการประชาชน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. 2568 กิจกรรมสัปดาห์การให้บริการประชาชน เนื่องในวันข้าราชการพลเรือน ประจำปี พ.ศ. 2568  จำนวนผู้อ่าน 27 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ... จำนวนผู้อ่าน 26 รายงานประจำปี 2567 ของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) รายงานประจำปี 2567 ของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี)  จำนวนผู้อ่าน 24 ประชาสัมพันธ์บทความเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ประชาสัมพันธ์บทความเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.... จำนวนผู้อ่าน 21 ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว พ.ศ. 2568 ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดแบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว พ.ศ. 2568  จำนวนผู้อ่าน 21 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติลาวและเวียดนามตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ... จำนวนผู้อ่าน 20 ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน ในที่จับสัตว์น้ำบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2568 ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงต... จำนวนผู้อ่าน 20 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวันที่ 23 มกราคม 2568 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวั... จำนวนผู้อ่าน 18 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวั... จำนวนผู้อ่าน 18 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568 รายงานการปฏิบัติงานของศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) ประจำวั... จำนวนผู้อ่าน 18


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต​ 7 (สุราษฎร์ธานี)​

    รายละเอียด  ศูนย์บริหารจัดการด่านตรวจประมงเขต 7 (สุราษฎร์ธานี) หมู่ 3 ซอยปากน้ำ 18 ถนนปากน้ำ ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000 โทรศัพท์ : tel:077922551 โทรสาร :   077922551 แผนที่ :     https://goo.gl/maps/uwsRhsH57Zm   สำนักงานจุดตรวจเรือประมงส่วนหน้า ดอนสัก (FIP Donsak) หมู่ 5 ซอย หน้าเมือง 2 ตำบลดอนสัก  อำเภอดอนสัก  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  84220 โทรศัพท์ : tel:077313407  โทรสาร :   077313607 แผนที่ :     https://goo.gl/maps/GxFPgoMUv8M2   สำนักงานจุดตรวจเรือประมงส่วนหน้า เกาะสมุย (FIP Koh Samui) หมู่ 3 ถนนชลวิถี ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84140 โทรศัพท์ : tel:077332431 โทรสาร :   077332431 แผนที่ :     https://goo.gl/maps/VMZhFtvzuKXRJHnMA   Facebook Fanpage : https://www.facebook.com/PiPoSuratthani/ Line@ ID : @sod6425x  หรือกดเพิ่มเพื่อนได้ที่นี่ >>   email  pipo-suratthani@fisheries.go.th  โทรศัพท์ 077922551  FAX 077922551  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6