สำนักงานประมงจังหวัดระยอง
ประเด็นปัญหาจากการบังคับใช้กฎหมายด้านการประมงและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดระยอง
ที่ |
พรก.การประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม |
สภาพปัญหา | บทกำหนดโทษ | ประกาศกระทรวง/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง | Downloads |
1 | มาตรา 10/1 | ผู้ประกอบการกิจการแปรรูปสัตว์น้ำบางส่วนไม่ทราบว่าจะต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานตามพ.ร.บ.โรงงานกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด หรือต้องแจ้งกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ หรือต้องแจ้งกับสำนักงานประมงจังหวัดตามมาตรา 10/1 | มาตรา ๑๒๓/๑ ผู้ใดประกอบกิจการโรงงานโดยไม่แจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบตามมาตรา ๑๐/๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท |
ประกาศกรมประมง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อนดำเนินการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. ๒๕๖๐ |
Downloads |
2 |
มาตรา 11 มาตรา 11/1 |
ผู้ประกอบการกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ บางส่วนไม่ทราบว่าการใช้แรงงานเด็ก หรือไม่มีใบอนุญาตทำงาน ตามมาตรา 11 และ 11/1 มีบทกำหนดโทษที่สูง | มาตรา ๑๒๔ ผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๑ วรรคหนึ่ง หรือ มาตรา ๑๑/๑ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่น้อยกว่าสี่แสนบาทแต่ไม่เกินแปดแสนบาทต่อลูกจ้างหรือคนงานที่มีการจ้างงานโดยผิดกฎหมายหนึ่งคน | พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 | |
3 | มาตรา 60 | ชาวประมงฝ่าฝืน มาตรา60 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้กระแสไฟฟ้าทำการประมง หรือใช้วัตถุระเบิดในที่จับสัตว์น้ำ | มาตรา 141 ผู้ใดฝ่าฝืนตามมาตรา 60 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาทหรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า | ||
4 | มาตรา 67 มาตรา 71 | เรืออวนลากแมงกะพรุน เข้ามาทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ส่งผลกระทบกับเรือประมงพื้นบ้าน |
มาตรา 147 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 67 (2) (3) หรือ (4) มาตรา 69 หรือมาตรา 71 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือปรับจำนวน 5 เท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงหกแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หกแสนบาทถึงหกล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไป ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หกล้านบาทถึงสามสิบล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า |
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดเครื่องมือทำการประมง วิธีทำการประมงและพื้นที่ทำการประมงที่ห้ามใช้ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำเขตทะเลชายฝั่ง | |
5 | มาตรา 68 | การใช้เครื่องมืออวนรุนเคยตามมาตรา 68 ต้องทำการประมงห่างฝั่ง 1,000 เมตร ทำให้ไม่สามารถทำการประมงเคยซึ่งจะอยู่บริเวณริมฝั่งได้ | มาตรา ๑๔๘ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖๘ ต้องระวางโทษปรับจำนวนสามเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรูปแบบของอวน ขนาดของเรือวิธีที่ใช้และบริเวณพื้นที่ในที่ทำการประมงที่ผู้ทำการประมง ด้วยเครื่องมืออวนรุนเคยที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงต้องปฏิบัติ พ.ศ. ๒๕๕๙ | |
6 | มาตรา 67 | - เรือประมงพื้นบ้านได้รับผลกระทบจากการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรา 71(1) เช่น ลอบปู เรือครอบหมึกขนาดเล็ก - เครื่องมือโพงพาง - เครื่องมือลอบพับได้หรือไอ้โง่ | |||
7 | มาตรา 69 | การห้ามใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร ทำการประมงในเวลากลางคืน |
มาตรา ๑๔๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖๗ (๒) (๓) หรือ (๔) มาตรา ๖๙ หรือมาตรา ๗๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้ เรือขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
เรือขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองแสบาทถึงหกแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หกแสนบาทถึงหกล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
เรือขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไปต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หกล้านบาทถึงสามสิบล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า
|
|
|
8 | มาตรา 70 | ชาวประมงที่ทำการประมงในอ่างเก็บน้ำฝ่าฝืน มาตรา 70 ห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงในพื้นที่และในระยะเวลาสัตว์น้ำมีไข่หรือวางไข่หรือระยะเวลาอื่นใดที่จำเป็นต่อการคุ้มครองสัตว์น้ำตามที่อธิบดีประกาศกำหนด เว้นแต่จะใช้เครื่องมือ วิธีการทำการประมงและปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นตามที่อธิบดีกำหนด | ประกาศกรมประมง เรื่อง กําหนดพื้นที่และระยะเวลาฤดูสัตว์น้ำจืดมีไข่ หรือวางไข่ เลี้ยงตัวอ่อน และกําหนดเครื่องมือวิธีการทําการประมง และเงื่อนไขในการทําการประมง พ.ศ. 2561 | Downloads | |
มาตรา 138 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 56 หรือมาตรา 70 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า | |||||
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงยี่สิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า | |||||
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับตั้งหนึ่งแสนบาทถึงห้าแสนบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า | |||||
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไป ต้องระวางโทษปรับตั้งห้าล้านบาทถึงสามสิบล้านบาท หรือปรับจำนวนห้าเท่าของมูลค่าสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า | |||||
9 | มาตรา 77 |
ห้ามประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนดให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น เลี้ยงหอยทะเล เลี้ยงปลาในกระชัง ในที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน พื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ป่าชายเลน ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติป่าไม้ และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่นพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระราชบัญญัติชลประทานหลวง หรือเป็นเขตพื้นที่ตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การดำเนินการประกาศพื้นที่ของกรมประมงค่อนข้างประสบปัญหาในการประกาศเขตพื้นที่ |
มาตรา ๑๔๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๗๗ หรือมาตรา ๗๙ หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๗๘(๑) (๕) (๖) หรือ (๗) ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท และปรับวันละหนึ่งหมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่มีการฝ่าฝืน รวมทั้งต้องดำเนินการฟื้นฟูหรือชำระค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูที่จับสัตว์น้ำ หรือสภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการให้กลับสู่สภาพตามธรรมชาติ
|
กฎกระทรวง กําหนดกิจการ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําให้เป็นกิจการการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ําควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 |
|
กฎกระทรวง กำหนดค่าอากรและค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประมง |
|
||||
ประกาศกรมประมง เรื่อง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบรับคำขอ ใบอนุญาต คำขอโอนใบอนุญาต และคำขอรับใบแทน ใบอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2560 |
|||||
กฎกระทรวง การขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในที่จับสัตว์น้ำซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 3พฤษภาคม 2559 | |||||
10 | มาตรา 81 (1) | เรือประมงพาณิชย์ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป จะต้องติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (VMS) ตามมาตรา 81 (๑) แม้ไม่ออกทำการประมงก็ต้องเปิดระบบตลอดเวลา และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน |
มาตรา 151 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 81 (1) หรือ (4) ต้องระวางโทษปรับสองหมื่นบาท ใช้เรือขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหกสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับสองแสนบาท
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึงหนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับหนึ่งล้านบาท
ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ใช้เรือขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไปต้องระวางโทษปรับสี่ล้านบาท
|
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง และดูแลรักษาระบบติดตามระบบเรือประมง (อุปกรณ์ระบุตำแหน่งเรือประมง) ของเรือประมงที่ทำการการนอกน่านน้ำไทยให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา พ.ศ. ๒๕๖๐ | |
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการติดตั้งระบบติดตามเรือประมงและดูแลรักษาระบบติดตามเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา (ฉบับที่ 11) | Downloads | ||||
ประกาศกรมประมง เรื่องกำหนดมาตรฐานสมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกำหนดเชิงหนเที่ของระบบติดตามเรือประมง (รุ่นที่ 2) เพิ่มเติม ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2560 | Downloads | ||||
11 | มาตรา 81 (3) | เรือประมงพาณิชย์ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป ทุกประเภท และเรืออวนลาก อวนล้อมจับ และอวนครอบปลากะตัก ขนาด 10 ตันกรอสขึ้นไป ต้องแจ้งเข้าออกทุกครั้ง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกตามมาตรา 81 (๓) บางครั้งในการแจ้งเข้าออกมีเหตุที่ไม่สามารถแจ้งได้ในเวลาที่กำหนด เช่น โทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ หลงลืมการแจ้งโดยไม่มีเจตนา |
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำโดยมิได้รายงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘๑ (๒) หรือ (๓) มาตรา ๘๒ หรือมาตรา ๘๘ (๒) (๓) หรือ (๔) หรือทำรายงานอันเป็นเท็จ หรือไม่นำเรือกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงตามมาตรา ๘๑ (๕) หรือมาตรา ๘๘ (๖) ต้องระวางโทษปรับหนึ่งหมื่นบาท
ใช้เรือขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึง
หกสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท
ใช้เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึง
หนึ่งร้อยห้าสิบตันรอส ต้องระวางโทษปรับห้าแสนบาท
ใช้เรือขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไป ต้องระวางโทษปรับสองล้านบาท
|
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแจ้งการเข้าออกท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ | |
12 | มาตรา 81 (5) | การนำเรือประมงกลับเข้าท่าเทียบเรือภายในระยะเวลาที่กำหนด 30 วัน ตามมาตรา 81 (๕) ชาวประมงนับเป็นเดือนทำให้จำนวนวันเกิน (28 กรกฎาคม ถึง 28 สิงหาคม) |
มาตรา ๑๕๒ ผู้ใดทำการประมงหรือขนถ่ายสัตว์น้ำโดยมิได้รายงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๘๑ (๒) หรือ (๓) มาตรา ๘๒ หรือมาตรา ๘๘ (๒) (๓) หรือ (๔) หรือทำรายงานอันเป็นเท็จ หรือไม่นำเรือกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงตามมาตรา ๘๑ (๕) หรือมาตรา ๘๘ (๖) ต้องระวางโทษปรับหนึ่งหมื่นบาท ใช้เรือขนาดตั้งแต่ยี่สิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึง
หกสิบตันกรอส ต้องระวางโทษปรับหนึ่งแสนบาท
ใช้เรือขนาดตั้งแต่หกสิบตันกรอสขึ้นไปแต่ไม่ถึง
หนึ่งร้อยห้าสิบตันรอส ต้องระวางโทษปรับห้าแสนบาท
ใช้เรือขนาดตั้งแต่หนึ่งร้อยห้าสิบตันกรอสขึ้นไป ต้องระวางโทษปรับสองล้านบาท
|
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงที่ออกไปทำการประมงพาณิชย์ในทะเลนอกชายฝั่ง พ.ศ.๒๕๖๐ (๕)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (๕)
ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และระยะเวลาการกลับเข้าท่าเทียบเรือประมงของเรือประมงพาณิชย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ |
|
13 | มาตรา 83 | หนังสือคนประจำเรือสำหรับแรงงงานต่างด้าว (seabook) เจ้าของเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงพื้นบ้านที่มีแรงงานต่างด้าวในเรือประมงต้องมีหนังสือคนประจำเรือ (มาตรา 83) | มาตรา ๑๕๓ เจ้าของเรือประมงผู้ใดใช้คนประจำเรือซึ่งไม่มีหนังสือคนประจำเรือหรือไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๘๓ หรือฝ่าฝืนมาตรา ๘๓/๑ ต้องระวางโทษปรับไม่น้อยกว่าสี่แสนบาทแต่ไม่เกินแปดแสนบาทต่อคนประจำเรือดังกล่าวหนึ่งคน และให้อธิบดีมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตทำการประมงของเจ้าของเรือประมง และให้อธิบดีกรมเจ้าท่ามีคำสั่งเพิกถอนประกาศนียบัตรนายเรือของผู้ควบคุมเรือตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยด้วย | ประกาศกรมประมง เรื่องกำหนดแบบหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าวพ.ศ. ๒๕๖๐ | |
14 | มาตรา 84 มาตรา 85 | ท่าเทียบเรือประมงทั้งท่าที่ขนถ่ายสัตว์น้ำและท่าสำหรับจอดเรือต้องจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงตามมาตรา 84 โดยต้องยื่นขอหนังสือรับรองมาตรฐานสุขอนามัยท่าเทียบเรือจากกองตรวจสอบคุณภาพสินค้าประมงก่อน แล้วจึงขอจดทะเบียนท่าเทียบเรือประมงต่อสำนักงานประมงจังหวัด และเจ้าของท่าเทียบเรือจะต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลเรือประมงทุกลำที่ผ่านท่าตามมาตรา 85 | มาตรา ๑๕๔ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๘๔ หรือมาตรา ๘๕ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท | ประกาศกรมประมง เรื่อง กำหนดรายการ และ วิธีการในการบันทึกข้อมูล เกี่ยวกับเรือประมงที่เข้าใช้บริการจอดเรือขนถ่ายสัตว์น้ำ หรือนำสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ขึ้นท่าเทียบเรือประมงของเจ้าของท่าเทียบเรือประมง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ |