สรุปจำนวนประมงอาสา รุ่นที่ 1-11 ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ลำดับ |
อำเภอเมือง |
อำเภอปาย |
อำเภอปางมะผ้า |
อำเภอขุนยวม |
อำเภอแม่ลาน้อย |
อำเภอแม่สะเรียง |
อำเภอสบเมย |
รวม |
6 | 3 | 5 | 5 | 4 | 4 | 3 | 30 | |
6 | 5 | 1 | 3 | 6 | 5 | 3 | 29 | |
2 | 10 | - | 5 | - | 7 | 2 | 26 | |
10 | 20 | - | 10 | 9 | 5 | 6 | 60 | |
5 | 6 | - | - | - | - | - | 11 | |
10 | 10 | - | - | 2 | 8 | - | 30 | |
9 | - | - | 10 | - | - | 8 | 27 | |
7 | 8 | - | 5 | 2 | 3 | 5 | 30 | |
4 | 7 | 3 | 5 | 5 | 4 | 2 | 30 | |
8 | 5 | 1 | 4 | 4 | 6 | 2 | 30 | |
10 | 4 | - | 6 | 3 | 4 | 3 | 30 | |
รวม | 77 | 78 | 10 | 53 | 35 | 46 | 34 | 333 |
*** ประมงอาสาที่ยังปฏิบัติงานอยู่ ***สามารถโหลดได้
ข้อมูล GPP ปี 2562
ข้อมูลบัญชีแหล่งน้ำ รายอำเภอในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ลำดับ | อำเภอ | แหล่งน้ำปิด (แห่ง) | เนื้อที่ (ไร่) | แหล่งน้ำธรรมชาติ (แห่ง) | เนื้อที่ (ไร่) | แหล่งน้ำรวม (แห่ง) | เนื้อที่รวม (ไร่) |
1 | อำเภอปาย | 33 | 237.00 | 9 | 33 | 42 | 270.00 |
2 | อำเภอปางมะผ้า | 8 | 33.00 | 12 | 78 | 20 | 111.00 |
3 | อำเภอเมือง | 62 | 1,579.91 | 13 | 462 | 75 | 2,041.91 |
4 | อำเภอขุนยวม | 37 | 380.00 | 11 | 33.00 | 48 | 413.00 |
5 | อำเภอแม่ลาน้อย | 12 | 16.00 | 3 | 17 | 15 | 33.00 |
6 | อำเภอแม่สะเรียง | 18 | 157.00 | 19 | 183 | 37 | 340.00 |
7 | อำเภอสบเมย | 23 | 219.00 | 6 | 26 | 29 | 245.00 |
รายงานคำขอ | |
สถานที่รับคำขอ | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง |
จังหวัดที่รับคำขอ | แม่ฮ่องสอน |
พื้นที่ทำการประมง | น้ำจืด |
จำนวน | 9 |
ลำดับ | สถานที่ | จังหวัด | พื้นที่ทำการประมง | พื้นที่ทำการประมงน้ำจืด | เครื่องมือทำการประมงนำ้จืด |
1 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | เบ็ดธง เบ็ดฝรั่ง แห |
2 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | เบ็ดธง เบ็ดฝรั่ง |
3 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | เบ็ดฝรั่ง เบ็ดทุ่น แห |
4 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | แหขยุ้ม เบ็ดทุ่น เบ็ดฝรั่ง |
5 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | แห เบ็ดธง เบ็ดฝรั่ง |
6 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | เบ็ดทุ่น เบ็ดทุ่น แห ข่ายขึง |
7 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | เบ็ดทุ่น เบ็ดธง ข่ายขึง แห |
8 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | แห เบ็ดธง เบ็ดทุ่น |
9 | สำนักงานประมงอำเภอแม่สะเรียง | แม่ฮ่องสอน | น้ำจืด | แม่ฮ่องสอน | แห เบ็ดธง เบ็ดทุ่น เบ็ดฝรั่ง |
1. โครงการสนับสนุนด้านการประมงตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 40 แห่ง ประกอบด้วย
โรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 16 แห่ง ดังนี้
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 แห่ง ดังนี้
โรงเรียนในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจำนวน 9 แห่ง ดังนี้
2. โครงการจัดตั้งหมู่บ้านชาวไทยภูเขา ตามพระราชเสาวนีย์ บ้านแม่ส่วยอู จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปีงบประมาณ 2563
3. โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน ปีงบประมาณ 2563
4. โครงการโรงเรียนเพียงหลวง ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประจำปีงบประมาณ 2563
โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (แปลงปี 2561)
อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อไทย : เขียดแลว
ชื่อสามัญ : Wild Mountain Frog
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rana blythii (Boulenger, 1920)
ความเป็นมา
เขียดแลว หรือ กบทูด เป็นกบภูเขาชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก พบตามบริเวณภูเขาสูงในประเทศไทยแถบภาคเหนือ ภาคกลาง จะพบเขียดแลว บริเวณลำธารภูเขาที่มีป่าชุ่มชื้น มีอากาศเย็น ความชื้นสัมพัทธ์สูง และมีหมอกมาก ส่วนภาคใต้จะพบตามแถบป่าสวนยางและป่าชุ่มชื้นที่มีแหล่งน้ำลำธาร ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ประกาศให้เขียดแลวเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (๒๕๓๗) ลงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๗ ตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕
กรมประมง ได้เริ่มดำเนินการศึกษาวิจัยเขียดแลวและประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน มาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ปัจจุบันสามารถผลิตลูกเขียดแลวได้ในปริมาณ ๕๐,๐๐๐ ตัวต่อปี และได้นำลูกเขียดแลวที่เพาะพันธุ์ได้ในแต่ละปีปล่อยลงในแหล่งธรรมชาติเพื่ออนุรักษ์พันธุ์และได้ขยายผลดังแนวทางตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานให้กรมประมง เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔ ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ คือ “ให้กรมประมงดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ปลาในแม่น้ำปาย และพันธุ์เขียดแลว เพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติและศึกษาทดลองเพื่อขยายผลไปสู่ราษฎรต่อไป” แนวทางในการอนุรักษ์พันธุ์เขียดแลวตามพระราชดำริ คือ การจัดการและจัดแนวเขตสงวนพันธุ์เขียดแลว โดยกำหนดจุดไม่ให้ราษฎรเข้าไปจับพ่อแม่พันธุ์เขียดแลว ห้ามการตัดไม้ทำลายป่าตลอดจนการเผาป่า เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยและการขยายพันธุ์ของเขียดแลวตามธรรมชาติ และรักษาความสมดุลย์ของแมลงที่จะเป็นอาหาร ตลอดจนศึกษาวิธีการเพาะพันธุ์เขียดแลวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๔ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์เกี่ยวกับการอนุรักษ์เขียดแลว กับคณะทำงานโครงการธนาคารอาหารชุมชน ตามพระราชดำริ ความว่า “ให้กรมประมง กรมชลประทาน และกรมป่าไม้ ร่วมกันดำเนินการเพาะและขยายพันธุ์เขียดแลว แล้วปล่อยคืนสู่ป่าให้มาก ซึ่งเขียดแลวนั้นสามารถเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ดีในสภาพธรรมชาติที่มีน้ำไหล จึงต้องอาศัยการบูรณาการของหน่วยงานทั้งสาม” กรมประมง จึงได้ดำเนินการตามพระราชเสาวนีย์ ร่วมกับกรมชลประทาน และกรมป่าไม้ จัดทำโครงการหุบเขาเขียดแลว ขึ้นที่ บ้านรวมไทย หมู่ที่ ๕ ตำบลนาป่าแปก อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจะขยายผลสู่พื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
การเพาะพันธุ์
โดยใช้พ่อแม่พันธุ์เขียดแลวขนาดน้ำหนักประมาณ ๓๕๐ กรัม จำนวน ๑๐๐ คู่ ที่ได้จากการรวบรวมในธรรมชาติบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน นำมาเลี้ยงในบ่อคอนกรีตขนาด ๕๐ ตารางเมตร ซึ่งภายในจัดทำสภาพภายในบ่อให้เหมือนกับธรรมชาติ โดยมีต้นไม้และลำธารที่มีน้ำไหลอยู่ตลอดเวลา และให้หนอนนก (mill worm) เป็นอาหารในปริมาณที่เกินพอวันละครั้งในตอนเย็น เขียดแลวจะทำการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม
การผสมพันธุ์
การวางไข่ของเขียดแลวจะเกิดขึ้นในช่วงกลางคืนจนถึงรุ่งเช้า จากการตรวจสอบหลุมไข่แต่ละหลุมจะพบว่ามีไข่ประมาณ ๑,๕๐๐-๓,๒๐๐ ฟอง เมื่อพบหลุมไข่จึงรวบรวมไข่ในตอนเช้า โดยใช้ผ้ามุ้งโอล่อนแก้วทำเป็นถุงล้อมบริเวณหลุมไข่ด้านล่าง ทำการดักการไหลของน้ำให้ผ่านหลุมไข่แล้วค่อย ๆ นำก้อนกรวดออกจากหลุมไข่ เพื่อให้ไข่ลอยกระจายขึ้นตามกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปยังถุงรองรับไข่แล้วย้ายไข่ลงอ่างกลมกระทำต่อจนไม่พบไข่
การฟักไข่
นำไข่ที่รวบรวมได้มาทำความสะอาดด้วยน้ำประมาณ ๓-๔ ครั้ง แล้วแช่ไข่ด้วยน้ำยาเมททิลีนบลู ความเข้มข้น ๐.๑ ppm. นาน ๕ นาที และทำการล้างไข่อีกครั้งหนึ่ง นำไข่ที่ทำความสะอาดเรียบร้อย ไปเพาะฟักในถาดฟักไข่ที่เตรียมไว้ในรางฟักไข่ที่เปิดให้น้ำไหลผ่านอย่างสม่ำเสมอ ใส่น้ำให้มีระดับความลึก ๑๐–๑๕ เซนติเมตร. โรยไข่ให้กระจายทั่ว พร้อมติดตั้งปั๊มอากาศและปรับระดับความแรงของลมให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการรวมเป็นกระจุกของไข่ ซึ่งจะทำให้เปอร์เซ็นต์การฟักต่ำ เปอร์เซ็นต์การฟักไข่ในการเพาะพันธุ์จะต่ำกว่าไข่ที่ผสมในธรรมชาติซึ่งเปอร์เซ็นต์การฟักไข่ออกเป็นตัวสูง เนื่องจากกระแสน้ำไหลผ่านตลอดเวลา แต่ส่วนมากตามธรรมชาติจะประสบปัญหาเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในลำธาร เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัวลูกอ๊อดเขียดแลวแล้ว จึงนำไปอนุบาลต่อไป
การอนุบาลลูกอ๊อดเขียดแลว
การอนุบาลลูกอ๊อดเขียดแลวหลังจากฟักออกเป็นตัวแล้ว นำไปอนุบาลในบ่อคอนกรีต โดยใส่น้ำ ๑๐–๑๕ เซนติเมตร ติดตั้งระบบลมและทำการถ่ายน้ำพร้อมดูดตะกอนทุกวัน ระยะเวลาอนุบาล ๕-๗ วัน เขียดแลวมีความยาวเฉลี่ย ๐.๘–๐.๙ เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย ๐.๐๑๔ กรัม โดยให้ไข่ตุ๋น ผักกาดขาวลวก ไรแดง และแพลงค์ตอนเทียม เป็นอาหาร
เมื่อลูกเขียดแลววัยอ่อนออกขาหน้าและหลังพร้อมที่จะขึ้นบกเป็นระยะที่อ่อนแอที่สุด ระยะนี้จะต้องหมั่นสังเกตอยู่ตลอดเวลา ใช้ก้อนกรวดโรยปูกับพื้นก้นบ่อตามแนวขอบบ่อทั้ง ๔ ด้าน และลดระดับน้ำลงพร้อมทำการพ่นน้ำให้เป็นละอองเพื่อให้ก้อนกรวดมีความเปียกชื้นตลอดเวลา โดยให้ก้อนกรวดสูงกว่าระดับน้ำเล็กน้อย เพื่อที่จะให้ลูกกบที่ขึ้นฝั่งมาหลบซ่อนอาศัยความชุ่มชื้นในการหล่อเลี้ยงตัวให้แข็งแรงประมาณ ๑-๒ วัน ก่อนที่จะขึ้นฝั่ง ถ้าหากไม่ทำที่หลบซ่อนให้ลูกกบในระยะนี้ ลูกกบจะแห้งตาย เมื่อเกาะตามขอบบ่อหรือจมน้ำตาย เนื่องจากเป็นระยะที่ลูกกบอ่อนแอที่สุด ลูกเขียดแลวที่ขึ้นฝั่งมีน้ำหนักเฉลี่ย ๐.๑๖๗-๐.๑๘๓ กรัม มีอัตรารอดตาย ๖๘.๐–๘๕.๐ เปอร์เซ็นต์ เมื่อนับระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของลูกอ๊อดเขียดแลวเป็นลูกเขียดแลวที่ขึ้นฝั่งจากการอนุบาลด้วยอาหารผง และอาหารกุ้งสำเร็จรูป พบว่าระยะเวลาที่เริ่มกลายเป็นลูกเขียดแลว ๓๓–๓๕ วัน และระยะเวลาสิ้นสุดในกลายเป็นลูกเขียดแลวโดยสมบูรณ์จนหมด ๔๓–๔๕ วัน
ในธรรมชาติศัตรูของลูกเขียดแลวที่ยังอาศัยอยู่ตามหลุมไข่ที่มีกรวดทับถมอยู่นั้น จะมีศัตรูจำพวกตัวอ่อนของลูกแมลงปอ มวนกรรเชียง ลูกปลา แมลงดาสวน จิงโจ้น้ำ ตลอดจนแมงมุมน้ำ จะจับลูกเขียดแลวกินเป็นอาหาร และศัตรูของเขียดแลวที่เป็นสัตว์บก เช่น แมงมุมป่า หนู, นก สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก เช่น งู เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ เป็นปัจจัยควบคุมที่ทำให้ปริมาณเขียดแลวในธรรมชาติลดจำนวนลง
การอนุบาลลูกเขียดแลว
นำลูกเขียดแลวที่แข็งแรงที่ขึ้นฝั่งมาอนุบาลในบ่อขนาด ๒ หรือ ๔ ตารางเมตร โดยโรยก้อนกรวด ทั่วทั้งบ่อและให้ก้อนกรวดมีความเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลาอย่าให้น้ำท่วมก้อนกรวด จะทำให้ลูกเขียดแลวจมน้ำตาย และทำกะบะให้อาหาร อาหารที่ให้จำพวกปลวก, หนอนนก, หนอนแมลงวัน, ไส้เดือนฝอย ผสมกับอาหารผงสำเร็จรูป อาหารที่ให้ลูกเขียดแลวในระยะแรกต้องมีขนาดเล็ก การอนุบาลในระยะนี้จะต้องหมั่นคัดให้ลูกเขียดแลวให้มีขนาดใกล้เคียงกันมากที่สุด มิเช่นนั้นลูกเขียดแลวจะกัดกินกันเอง โดยใช้เวลาอนุบาล ๓๐–๖๐ วัน ได้ขนาดโตและแข็งแรงพอที่จะนำไปปล่อย
การปล่อยเขียดแลวในแหล่งธรรมชาติ
ในแต่ละปี สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ปล่อยลูกเขียดแลวในแหล่งธรรมชาติในจังหวัดแม่ฮ่องสอน ปีละ ๕๐,๐๐๐ – ๑๐๐,๐๐๐ ตัว โดยประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ และราษฎรในพื้นที่ร่วมปล่อยและร่วมดูแลพื้นที่ ทั้งนี้ เมื่อติดตามผลการปล่อยเขียดแลว พบว่า ในแหล่งธรรมชาติที่มีสภาพเหมาะสม อาทิเช่น ลำห้วยปางตอง, ลำห้วยมะเขือส้ม สามารถพบการขุดหลุมวางไข่ของเขียดแลว นับเป็นคำตอบได้ว่า หากมีการกำหนดพื้นที่อาศัยของเขียดแลวที่เหมาะสม เขียดแลวจะสามารถเจริญเติบโตและแพร่ขยายพันธุ์ได้
อำเภอ | เลี้ยงแบบยังชีพ - ปลาน้ำจืด | เลี้ยงแบบยังชีพ - สัตว์น้ำอื่นๆ | เลี้ยงแบบพาณิชย์ - ปลาน้ำจืด | เลี้ยงแบบพาณิชย์ - สัตว์น้ำอื่นๆ | ||||||||
จำนวนเกษตรกร | จำนวนฟาร์ม | เนื้อที่เลี้ยง (ไร่) | จำนวนเกษตรกร | จำนวนฟาร์ม | เนื้อที่เลี้ยง (ไร่) | จำนวนเกษตรกร | จำนวนฟาร์ม | เนื้อที่เลี้ยง (ไร่) | จำนวนเกษตรกร | จำนวนฟาร์ม | เนื้อที่เลี้ยง (ไร่) | |
ปาย | 257 | 257 | 68.4930 | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
ปางมะผ้า | 97 | 97 | 13.5798 | 1 | 1 | 0.0090 | - | - | - | - | - | - |
เมืองแม่ฮ่องสอน | 415 | 415 | 121.3190 | 5 | 5 | 2.8680 | - | - | - | - | - | - |
ขุนยวม | 263 | 263 | 90.9522 | 2 | 2 | 0.5250 | 1 | 1 | 0.2500 | - | - | - |
แม่ลาน้อย | 162 | 162 | 40.9818 | - | - | - | 1 | 1 | 4.0000 | - | - | - |
แม่สะเรียง | 184 | 184 | 50.9141 | 2 | 2 | 0.2750 | 4 | 4 | 0.5425 | 2 | 2 | 0.2625 |
สบเมย | 143 | 143 | 39.3319 | - | - | - | - | - | - | - | - | - |
รวม | 1521 | 1521 | 425.5718 | 10 | 10 | 3.6770 | 6 | 6 | 4.7925 | 2 | 2 | 0.2625 |