การส่งออกกุ้งกุลาดำมีชีวิตไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน


การส่งออกกุ้งกุลาดำมีชีวิตไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน 

 บริการประชาชน  ข้ั้นตอนการนำเข้าส่งออกสัตว์น้ำ

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย


 

                             ในปี 2554 สำนักงานควบคุมคุณภาพ ตรวจสอบ และกักกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (The General Administration of  Quality Supervision, Inspection and Quarantine : AQSIQ) ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงการศุลกากร สาธารณรัฐประชาชนจีน (The General Adminisation of Customs People's Republic of China: GACC) ตรวจพบเชื้อ Infectious hypodermal and haematopoietic necrosis virus (IHHNV) ในกุ้งกุลาดำมีชีวิตที่นำเข้าจากประเทศไทย ส่งผลให้มีความเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้ากุ้งกุลาดำมีชีวิตจากประเทศไทย โดยมีข้อกำหนดให้กุ้งกุลาดำมีชีวิตจากประเทศไทยที่ส่งออกเพื่อการบริโภคต้องมาจากฟาร์มที่กรมประมงขึ้นทะเบียนรับรองโดยต้องระบุผลการตรวจเชื้อ IHHNV ในใบรับรองสุขอนามัยทุกรุ่น

                         จากข้อแนะนำของ GACC กรมประมงได้นำนโยบายการบริหารจัดการกุ้งทะเลแบบคลัสเตอร์ (Cluster) ที่เชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยได้นำมาปรับใช้เป็นโครงการคลัสเตอร์กุ้งกุลาดำมีชีวิตเพื่อการบริโภคส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของโรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาล ฟาร์มเลี้ยง และสถานบรรจุสัตว์น้ำ โดยเกษตรกรทั้ง 3 กลุ่ม ต้องมาแจ้งความประสงค์กับกรมประมงในการเข้าร่วมโครงการคลัสเตอร์กุ้งกุลาดำฯ

 

                     

 เอกสารขอขึ้นทะเบียนโรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาล/ฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำ       

                1. ใบสมัครขอเข้าร่วมคลัสเตอร์การส่งออกกุ้งกุลาดำมีชีวิตเพื่อการบริโภคไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน

                2. แสดงทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) 

                3. แสดงหนังสือรับรองการแจ้งประกอบกิจการผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.)

                4. แสดงใบรับรองมาตรฐาน

                5. สำเนาใบรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง (Test report) ที่ปลอดเชื้อก่อโรคตามที่กรมประมงประกาศกำหนด จากหน่วยงานของกรมประมง หรือหน่วยงานที่กรมประมงประกาศรับรอง

                6. สำเนาใบรายงานผลการตรวจสุขอนามัยโรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาล (กรณีโรงเพาะฟักและอนุบาล)

                7. สำเนาหนังสือกำกับการซื้อขายลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (AFPD) (กรณีฟาร์มเลี้ยง)

                8. กรณีเป็นนิติบุคคลให้แนบเอกสารดังนี้

                    8.1 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนซึ่งมีอายุไม่เกิน 90 วันนับแต่วันที่ออกหนังสือรับรอง

                    8.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ของหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล

                9. กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นแทน ให้แนบเอกสารดังนี้

                     9.1 หนังสือมอบอำนาจ

                     9.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ

 

 

คุณสมบัติโรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาล และฟาร์มเลี้ยงกุ้งกุลาดำ

คุณสมบัติ

โรงเพาะฟักและอนุบาลหรือโรงอนุบาล

ฟาร์มเลี้ยง

 1.โรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาล/ฟาร์ม แจ้งความประสงค์เข้าร่วมคลัสเตอร์กุ้งกุลาดำฯ ณ ศูนย์ฯ/สถานีฯ ในพื้นที่

ü

ü

 2.โรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาล/ฟาร์มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP/CoC/GAP มกษ./BAP/ASC

ü

ü

 3.ฟาร์มต้องซื้อลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาลที่ปลอดเชื้อก่อโรค และเข้าร่วมคลัสเตอร์กุ้งกุลาดำฯ เท่านั้น   ü

 4.โรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาลต้องได้รับการตรวจสุขอนามัยฟาร์มทุก 6 เดือน

ü

 

 5.โรงเพาะฟักและอนุบาล หรือโรงอนุบาล และฟาร์ม ต้องได้รับการตรวจเชื้อก่อโรคกุ้งทะเลตามที่กรมประมงประกาศกำหนดทุก  6 เดือน

ü

ü

 6.มีการบันทึก และรายงานข้อมูลด้านการผลิตกุ้ง ข้อมูลด้านโรค และการตายของกุ้งที่กรมประมงสามารถตรวจสอบได้

ü

ü

 7.มีหนังสือกำกับการซื้อขายลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (AFPD) และมีใบรับรองสุขภาพลูกกุ้งทุกครั้งที่จำหน่าย 

ü

 

 8.มีหนังกำกับการซื้อขายลูกพันธุ์สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (AFPD) และหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง (APPD) เพื่อสามารถตรวจสอบย้อนกลับทุกครั้งที่ผลิต 

  ü

 

 

 

 

 

 

 

 

 ประชาสัมพันธ์เอกสารดาวน์โหลด 

 

 

แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการสมัครขอเข้าร่วมกิจกรรมการส่งออกกุ้งทะเลมีชีวิตเพื่อการบริโภคไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน (คลัสเตอร์กุ้งกุลาดำ) เริ่มใช้เอกสาร: 1 พฤศจิกายน 2565

 


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา