กรมประมงจัด Kick Off “ประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้านจากโขงสู่กว๊านพะเยา” ประจำปี 2567


[2025-07-25] การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานในระดับพื้นที.. [2025-07-24] การประชุมกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ครั้งที่ 4/2568 ณ จังหวัดขอนแก่น.. [2025-07-17] รองอธิบดีกรมประมงลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพะเยาและติดตามความก้าวหน้าก.. [2025-07-16] การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะเยา.. [2025-07-12] การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ภายใต้โครงการเ.. [2025-07-12] การประชุมหารือแนวทางการดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุหนองหาร จังหวัดส.. [2025-07-01] การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หน.. [2025-06-26] กิจกรรมปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะ.. [2025-06-24] เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลการด.. [2025-06-24] การประชุมเพื่อติดตามประเมินผลโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ปร.. อ่านทั้งหมด 

กรมประมงจัด Kick Off “ประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้านจากโขงสู่กว๊านพะเยา” ประจำปี 2567 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  ข่าวผู้บริหารกรมประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วันพุธที่ 7 สิงหาคม 2567 เวลา 09.00 น. ณ กว๊านพะเยา หน้าโรงแรมภูกลอง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด “โครงการฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรประมงแหล่งน้ำสำคัญ “กว๊านพะเยา” จังหวัดพะเยา ประจำปีงบประมาณ 2567 (ประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้าน) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมประมง ผู้นำชุมชน ข้าราชการ นักเรียนและประชาชนในพื้นที่ จำนวนกว่า 300 คน ร่วมปล่อยลูกพันธุ์ปลาตามโครงการประมงอาสาพาปลากลับบ้านจากโขงสู่กว๊านพะเยา ที่เพาะด้วยชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ (Mobile hatchery) จำนวน 10 ล้านตัว พร้อมมอบพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ตัวแทนชุมชนและเกษตรกร รวม 12,100,000 ตัว ตลอดจน เยี่ยมชมนิทรรศการต่าง ๆ อาทิ ชุดเพาะพันธุ์ปลาเคลื่อนที่ (Mobile hatchery) นิทรรศการแสดงชนิดพันธุ์ปลาที่เพาะได้ จากชุดเพาะฟักเคลื่อนที่ เครื่องมือประมงพื้นบ้าน นิทรรศการภาพรวมการดำเนินโครงการ และชนิดพันธุ์ปลาในกว๊านพะเยา ซึ่งเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมาได้มีพิธีเปิดโครงการประมงร่วมอาสาพาปลากลับบ้านจากโขงสู่กว๊านพะเยา ณ บ้านปากอิงใต้ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีการปล่อยลูกพันธุ์ปลา จำนวน 10 ล้านตัว พร้อมมอบพันธุ์สัตว์น้ำให้แก่ชุมชน จำนวน 18 ชุมชน ตามแผนปล่อยพันธุ์ลูกปลาตามโครงการฯ ในปี 2567 ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น 40 ล้านตัว


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา