กรมประมงแถลงข่าวกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ


[2025-07-25] การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการปฏิบัติงานในระดับพื้นที.. [2025-07-24] การประชุมกองวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ครั้งที่ 4/2568 ณ จังหวัดขอนแก่น.. [2025-07-17] รองอธิบดีกรมประมงลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดพะเยาและติดตามความก้าวหน้าก.. [2025-07-16] การปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะเยา.. [2025-07-12] การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ภายใต้โครงการเ.. [2025-07-12] การประชุมหารือแนวทางการดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุหนองหาร จังหวัดส.. [2025-07-01] การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ หน.. [2025-06-26] กิจกรรมปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม ตามโครงการฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามในจังหวัดพะ.. [2025-06-24] เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ลงพื้นที่เพื่อติดตามประเมินผลการด.. [2025-06-24] การประชุมเพื่อติดตามประเมินผลโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรน้ำ ปร.. อ่านทั้งหมด 

กรมประมงแถลงข่าวกรณีการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำ 

 ข่าวประชาสัมพันธ์  หน่วยงาน  หน่วยงานส่วนกลาง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

"กรมประมง ตั้งโต๊ะตอบทุกคำถาม กรณีปลาหมอคางดำระบาดหนัก
อธิบดีบัญชาเปิดใจมาตรการระยะสั้น ระยะยาว เอาอยู่ใน 3 ปี
ธรรมนัสสั่งด่วนรับซื้อ 15 บาท/กิโลกรัม"
 

เมื่อวันพุธที่ 17 กรกฎาคม 2567 นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง พร้อมด้วย นายคงภพ อำพลศักดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรมสัตว์น้ำ และนางสาวทิวารัตน์ เถลิงเกียรติลีลา ผู้เชี่ยวชาญด้านความหลากหลายทางชีวภาพด้านการประมงน้ำจืด แถลงข่าวการแก้ไขปัญหาปลาหมอคางดำ โดยมี นายประพันธ์ ลีปายะคุณ รองอธิบดีกรมประมง คณะผู้บริหารกรมประมง สื่อมวลชน และเจ้าหน้าที่ที่กรมประมง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมอานนท์
โดยอธิบดีกรมประมงเปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำในประเทศไทยซึ่งพบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และมีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้างในพื้นที่ภาคกลาง เมื่อต้นปี 2567 ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี โดยร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เล็งเห็นความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวประมง และปัญหาเชิงระบบนิเวศที่กำลังจะตามมา จึงได้มีการกำหนดเป็นวาระเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของปลาหมอคางดำขึ้น และได้ออก 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1. การควบคุมและกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำทุกแห่งที่ พบการแพร่ระบาด 2) การปล่อยปลาผู้ล่า เช่น ปลากะพงขาว และปลาอีกงหรือปลาผู้ล่าชนิดอื่น เพื่อกำจัดปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ 3) การนำปลาหมอคางดำที่กำจัดออกจากระบบนิเวศไปใช้ประโยชน์ เช่น ทำปลาป่น แปรรูปเป็นหลายเมนู 4) การสำรวจและเฝ้าระวังการแพร่กระจายปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติตามพื้นที่กันชนต่าง ๆ และ 5) การประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักรู้ และการมีส่วนร่วม ในการกำจัดปลาหมอคางดำให้กับทุกภาคส่วน


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา