กรมประมง...รวมพลเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น 459 ชุมชน จัดนัดกระชับมิตร เสวนา 23 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กว่า 12 ล้านตัว เพิ่มผลผลิตลงแหล่งน้ำชุมชน

[2022-08-22] รายงานการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2565.. [2021-10-08] ประชุมแนวทางการปฏิบัติราชการของสำนักงานประมงจังหวัด.. [2021-08-31] ประชุมแนวทางและบทบาทการบริหารจัดการด้านการประมงในระดับพื้นที่ภายใต้บทบ.. [2021-08-01] ผู้ตรวจราชการกรมประมงประชุมคณะกรรมการวิชาการด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาช.. [2021-07-09] ประชุมคณะกรรมการวิชาการด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพการประมง.. [2021-07-07] ประชุมตัวชี้วัดผู้บริหาร.. [2021-06-12] ประชุมพิจารณารายละเอียดตัวชี้วัดรอบ 2 ประจำปี 2564.. [2021-06-06] ชี้แจงรายละเอียดตัวชี้วัดรอบ 2 ประจำปี 2564.. [2021-05-18] ประวัติและผลงานเกษตรกร สถาบันเกษตรกร สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษ.. [2021-03-30] กรมประมงประกาศปิดทะเลอันดามัน 3 เดือน 1 เม.ย. - 30 มิ.ย. 64 คุ้มครองป.. อ่านทั้งหมด 

กรมประมง...รวมพลเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น 459 ชุมชน จัดนัดกระชับมิตร เสวนา 23 จังหวัดทั่วประเทศ พร้อมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กว่า 12 ล้านตัว เพิ่มผลผลิตลงแหล่งน้ำชุมชน 

ส่ง email ทวิต Tweeter ส่ง Line แชร์ Facebook

                กรมประมงจัดโครงการเสวนาสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นระดับจังหวัด ในพื้นที่ 23 จังหวัดชายทะเล จำนวน 459 ชุมชน  เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องชาวประมง เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน ระหว่างภาคประชาชนกับภาครัฐ ภายใต้บริบทและวิถีของชุมชน เกิดความมั่นคงในอาชีพประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นนโยบายที่ ดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้เน้นย้ำให้กรมประมงบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับคุณภาพชีวิตที่ดีของพี่น้องชาวประมง         

                นายมีศักดิ์  ภักดีคง  อธิบดีกรมประมง  เปิดเผยว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กรมประมงได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อที่จะพัฒนาอาชีพประมงให้กับชุมชนในท้องถิ่นทั้งห่วงโซ่การผลิตให้มีความเข้มแข็ง มีรายได้มั่นคง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ณ ปัจจุบันนี้ กรมประมงได้มีการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ประเภทประมงชายฝั่ง ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 25 ว่าด้วยเรื่องของการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ การบำรุงรักษา การอนุรักษ์ การฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรสัตว์น้ำภายในที่จับสัตว์น้ำในเขตประมงทะเลชายฝั่ง ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ กรมประมงได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านชายฝั่งไปแล้วกว่า 459 ชุมชน ประกอบด้วย โครงการพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพายุปลาบึก เมื่อปีงบประมาณ 2562 จำนวน 65 ชุมชน ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสงขลา  นครศรีธรรมราช  และปัตตานี  ต่อมาในปีงบประมาณ 2563 ได้ดำเนินโครงการสร้างความเข้มแข็งกลุ่มการผลิตด้านการเกษตร จำนวน 144 ชุมชน ซึ่งผลการดำเนินโครงการดังกล่าว ถือว่าประสบผลสำเร็จ สามารถฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมให้กลับมาดีขึ้น พัฒนาอาชีพประมงให้กับชุมชนในท้องถิ่นทั้งห่วงโซ่การผลิตให้มีความเข้มแข็ง มีรายได้มั่นคง มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และในปีงบประมาณ 2564 ที่กรมประมงกำลังดำเนินการ อีกจำนวน 250 ชุมชน โดยโครงการดังกล่าวนี้ มุ่งเน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนประมงท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ตั้งแต่กระบวนการในการร่วมกันคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมรับผลประโยชน์  โดยกิจกรรมที่สำคัญของชุมชน ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน การสร้างแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ ธนาคารสัตว์น้ำ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การปรับเปลี่ยนเครื่องมือทำการประมงให้ถูกกฎหมาย การจัดสร้างคานเรือชุมชน การสร้างมูลค่าเพิ่มของสัตว์น้ำโดยมีมาตรฐานการจับสัตว์น้ำและการแปรรูปสัตว์น้ำตามมาตรฐานความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การเพิ่มช่องทาง  การจำหน่ายสัตว์น้ำ รวมถึงการพัฒนาเป็นชุมชนประมงเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ Fisherman Village Resort ในอนาคต

ดั      ดังนั้น เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนประมงท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง กรมประมง จึงได้กำหนดจัดโครงการเสวนาสร้างเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นระดับจังหวัด ระหว่างเดือนมีนาคม - สิงหาคม 2564 ในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเลและพัทลุง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เครือข่ายองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์และบทเรียนจากการดำเนินงานพัฒนาอาชีพและเสริมสร้างความเข้มแข็งชองชุมชนประมงชายทะเล และแนวทางการขับเคลื่อนเสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน อีกทั้ง เป็นการกระชับความสัมพันธ์ความร่วมมือระหว่างชุมชนกับเจ้าหน้าที่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรชุมชน ในการจัดงานครั้งนี้ ยังมีการจัดนิทรรศการด้านการประมงของหน่วยงานราชการ การจัดนิทรรศการขององค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น และยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์แปรรูปของชุมชน  นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวนทั้งสิ้นกว่า 12 ล้านตัว เพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์ ชาวประมงพื้นบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรสัตว์น้ำได้อย่างทั่วถึง ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีคุณภาพที่ดีขึ้นจากการประกอบอาชีพประมง และชุมชนประมงเกิดความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้  โดยโครงการดังกล่าว จะเริ่มคิกออฟในวันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2564 ในพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ 1. หาดจันทร์สว่าง (หาดปลาไก่) ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา และ 2. อ่าวท่ายาง ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  

          กรมประมงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวจะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเข้มแข็งให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านทั้ง 23 จังหวัด เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรประมงของชุมชน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงของอาชีพประมง ภายใต้ความยั่งยืนของทรัพยากร...อธิบดี กล่าว