ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี หรือปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ บริเวณชายฝั่งทะเลหาดหินงาม


[2025-07-23] พิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำและปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันเฉลิมพร.. [2025-07-21] โครงการคลินิคเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ.. [2025-07-02] ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินสมรรถนะ กำหนดวัน เวลา สถานที่ใ.. [2025-07-02] ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการ (กบอ.).. [2025-06-26] กิจกรรม BIG CLEANING DAY.. [2025-06-17] ประกาศกรมประมง เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไ.. [2025-06-12] กิจกรรมโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระบรมราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอ.. [2025-06-12] ประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมการรณรงค์บริโภคสินค้ากุ้ง ปี 2567 จังหวัด.. [2025-06-06] พิธีปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุท.. [2025-06-04] กิจกรรมเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนา เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป.. อ่านทั้งหมด 

ปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี หรือปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ บริเวณชายฝั่งทะเลหาดหินงาม  

 คลังความรู้  ข้อมูลเผยเเพร่  ข้อมูลเผยเเพร่ อื่นๆ

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

วันที่ 5 มกราคม 2567 ได้เกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี หรือปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ บริเวณชายฝั่งทะเลหาดหินงาม โดยน้ำทะเลเปลี่ยนเป็นสีเขียว ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำนครศรีธรรมราชได้เก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ พบว่าเป็นแพลงก์ตอนพืชสกุล Noctiluca spp. จึงขอแจ้งข่าวให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำงดสูบน้ำในช่วงเวลานี้ เกษตรกรที่เลี้ยงปลาหรือสัตว์น้ำอื่น ๆ ในกระชังที่ใกล้บริเวณที่เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี ควรเฝ้าดูแลระมัดระวังสัตว์น้ำที่เลี้ยงอย่างใกล้ชิด กลไกการเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี คือปรากฏการณ์ที่แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) เพิ่มจำนวนอย่างมากและรวดเร็ว (Plankton bloom หรือ Algae bloom) ซึ่งทำให้น้ำทะเลเปลี่ยนสีไปตามรงควัตถุของพวกแพลงก์ตอนพืชเหล่านั้น ภายหลังจากที่สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นตายลง จะเกิดกระบวนการย่อยสลายโดยแบคทีเรียซึ่งมีการใช้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ (Dissolved oxygen) จนทำให้ออกซิเจนละลายน้ำลดลงอย่างรวดเร็วจนถึงระดับที่สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ทำให้น้ำเน่าเสีย มีกลิ่นเหม็น และส่งผลต่อการใช้งานพื้นที่ชายฝั่งทะเล สาเหตุหลักของการเกิดปรากฏการณ์น้ำเปลี่ยนสี คือ ภาวะการเพิ่มขึ้นของปริมาณสารอาหาร (Nutrient) ของแพลงก์ตอนพืช เช่น ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา