แผนการดำเนินงานของคณะทำงาน OFWG ประจำปี พ.ศ. 2565


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

แผนการดำเนินงานของคณะทำงาน OFWG ประจำปี พ.ศ. 2565 

 คลังความรู้  ความรู้ด้านการประมง

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

แผนการดำเนินงานของคณะทำงาน OFWG ประจำปี พ.ศ. 2565

(Ocean and Fisheries Working Group (OFWG) Work Plan 2022)

ประกอบด้วยขอบเขตการดำเนินงาน 10 ด้าน ได้แก่

1) การส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ทั้งในแง่การใช้ทรัพยากรประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และระบบนิเวศทางมหาสมุทรอย่างยั่งยืน รวมถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานโรดแมปการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (APEC Roadmap on Combatting Illegal, Unreported, and Unregulated (IUU) Fishing) และโรดแมปการจัดการขยะทะเล (APEC Roadmap on Marine Debris) ของสมาชิกเอเปคภายใต้คณะทำงาน OFWG

2) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านการทำประมงพื้นบ้านและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำขนาดเล็ก
ที่สนับสนุนปีแห่งการเฉลิมฉลองการทำประมงพื้นบ้านและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของ
FAO

3) การเสริมสร้างความเข้าใจด้านระบบนิเวศทางทะเลและการจัดการพื้นที่ทางทะเล (marine spatial planning) และส่งเสริมการดำเนินงานที่สนับสนุนเศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy)

4) การเสริมสร้างความเข้าใจต่อภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและการทำประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

5) การเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องภัยธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ห่วงโซ่อาหารในทะเล และส่งเสริมการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของภัยพิบัติที่มีต่อชุมชนชายฝั่ง

6) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนกับคณะทำงาน OFWG        

7) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างคณะทำงาน (cross fora collaboration) เช่น คณะทำงานหุ้นส่วนเชิงนโยบายด้านความมั่นคงทางอาหาร (Policy Partnership on Food Security: PPFS) คณะอนุกรรมการด้านพิธีการศุลกากรเอเปค (Sub - Committee on Customs Procedures: SCCP) และการสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและโรดแมปการส่งเสริมบทบาทสตรีในเอเปค (APEC La Serena Roadmap)

8) แผนการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูหลังการระบาดของโรคโควิด - 19 ที่สอดคล้องกับความยั่งยืนทางทะเล

9) การส่งเสริมความร่วมมือของคณะทำงาน OFWG และศูนย์เอเปค 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์การศึกษาและอบรมสิ่งแวดล้อมทางทะเล (APEC Marine Environmental Training and Education Center: AMTEC) ศูนย์การพัฒนาทางทะเลอย่างยั่งยืน (APEC Marine Sustainable Development Center: AMSDC) และศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางมหาสมุทรและประมง (APEC Ocean and Fisheries Information Center: AOFIC)

10) ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพบุคลากร
ในเอเปคทั้งในแบบที่ขอทุนสนับสนุนจากเอเปค (APEC Fund) และไม่ขอทุนสนับสนุนจากเอเปค (Self - Funded)


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา