ไทยกับวาระการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565


[2025-06-10] กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี.. [2025-05-23] เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2568 สถาบันวิจัย Stimson เผยแพร่ผลงานวิจัยใหม่.. [2025-02-28] ค่านิยมกรมประมง.. [2025-02-03] การหารือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้แทน USDA และคณะ ATM.. [2025-01-14] รายงานผลการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2566 - 2567.. [2024-11-26] ประกาศกองประมงต่างประเทศ.. [2024-09-12] เกียรติบัตรองค์กรคุณธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566.. [2024-03-25] สถานการณ์ด้านการประมงและอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย.. [2024-03-06] ผลกระทบของการเพาะเลี้ยงปลากัดเรืองแสง หรือ ปลากัด GMO ต่ออุตสาหกรรมปลา.. [2024-02-23] การฝึกอบรมหลักสูตรการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control a.. อ่านทั้งหมด 

ไทยกับวาระการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565 

 คลังความรู้  ข้อมูลเผยเเพร่  ข้อมูลเผยเเพร่ อื่นๆ

ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ไทยกับวาระการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565

                เอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) คือ กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ปัจจุบันประกอบด้วยสมาชิกรวม 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย เนการาบรูไนดารุสซาลาม แคนาดา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง จีนไทเป สหรัฐเม็กซิโก รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐเปรู สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสหพันธรัฐรัสเซีย เขตบริหารพิเศษฮ่องกง และจีนไทเป โดยคำว่า“เขตเศรษฐกิจ” นั้นถูกนำมาใช้เพื่อเรียกสมาชิกเอเปคเพราะเป็นความร่วมมือที่เน้นการให้ความสำคัญในประเด็นที่เกี่ยวข้องกันทางด้านการค้าและเศรษฐกิจต่อสมาชิกซึ่งใช้ชื่อเศรษฐกิจนำหน้า (กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ, 2553) ทั้งนี้ การดำเนินงานของเอเปคส่งเสริมให้เกิดการการอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้า บริการ การลงทุนและการข้ามพรมแดนระหว่างกัน รวมทั้งยังให้ความสำคัญในการแบ่งปันองค์ความรู้จากเขตเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วไปสู่เขตเศรษฐกิจสมาชิกที่กำลังพัฒนาอีกด้วย

ประเทศไทยเคยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2546 และได้เป็นเจ้าภาพอีกครั้งในปีนี้ (พ.ศ. 2565) โดยการที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพเอเปคนั้นมีข้อดีหรือมีโอกาสที่ไทยจะได้รับ 3 ประการ ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ต่อไทยและภูมิภาค 2) การกระตุ้นเศรษฐกิจและการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 และ 3) การแสดงศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย

การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ โดยการเป็นเจ้าภาพในแต่ละปีนั้น เขตเศรษฐกิจต้องจัดลำดับประเด็นสำคัญประจำปีของเอเปค (priority) ซึ่งเปรียบเสมือนแนวทางในการดำเนินงานประจำปีนั้น ๆ แต่ในบางปี เขตเศรษฐกิจก็อาจกำหนดหัวข้อหลัก (theme) ซึ่งเปรียบเสมือนแนวทางหลักใหญ่ในการดำเนินงาน ซึ่ง theme จะมีความสำคัญกว่าก่อนจะลงรายละเอียดมาสู่ priority โดย พ.ศ. 2565 ประเทศไทยได้กำหนดไว้ ดังนี้

1. Theme: Open. Connect. Balance

Open การเปิดประเทศซึ่งมีนัยยะถึงการเปิดประเทศภายหลังการระบาดของโรคโควิด-19

Connect การเชื่อมต่อ การเดินทางไปมาหาสู่ ภายหลังการเปิดประเทศ

Balance การสร้างสมดุลในทุกภาคส่วนทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

2. Priority ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่

1. การอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน (Open to all trade and investment opportunities) ได้แก่ เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Trade Platform) และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนให้กับผู้ประกอบการ MSMEs

2. การฟื้นฟูความเชื่อมโยง (Reconnect the region) ได้แก่ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการท่องเที่ยวสีเขียว

3. การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม (Inclusive and sustainable growth) ได้แก่ การส่งเสริม BCG Economic Model การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ การให้ความสำคัญกับผู้ประกอบการรายย่อย (Micro-entrepreneurs, Small and Medium-sized Enterprises: MSMEs) ส่งเสริมบทบาทของสตรีและกลุ่มคนที่มีศักยภาพ

สำหรับการผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจใหม่ของไทย BCG Economic Model ออกไปสู่ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ได้แก่ ประเด็นฐานเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เน้นเรื่องสิ่งมีชีวิต (คน พืช สัตว์) ประเด็นเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม และประเด็นเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เนื่องจากทรัพยากรประมงเป็นทรัพยากรชีวภาพที่เกิดใหม่ทดแทนได้ (Bio Economy)

กลุ่มความร่วมมือพหุภาคีและองค์การระหว่างประเทศ

กองประมงต่างประเทศ

กรมประมง

 

เอกสารอ้างอิง

  • กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ. 2553. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (เอเปค). แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/business/th/customize/16530-ภูมิหลัง-APEC.html. 6 เมษายน 2562.
  • Bui Ann. 2016. 21 APEC member economies. Available source: https://www.thinglink.com/scene/976321624254971906. 10 August 2019.
  • กระทรวงการต่างประเทศ.2564.การเป็นเจ้าภาพเอเปคปี 2565 ของไทย APEC 2022 THAILAND. Available source: https://image.mfa.go.th/mfa/0/mkKfL2iULZ/AL/Presentation_by_DDG_of_International_Economic_Affairs.pdf
  • Asia-Pacific Economic Cooperation  source: https://www.apec.org/about-us/about-apec


คุยกับน้องมัจฉา Add Friends คุยกับน้องมัจฉา