สำนักงานประมงจังหวัดพิจิตร
บทความประชาสัมพันธ์การเตรียมรับสถานการณ์(ด้านประมง)
สำนักงานประมงจังหวัดพิจิตร
เรื่อง การป้องกันสัตว์น้ำจากอุทกภัย ปี 2565
-------------------------
ด้วยกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศฤดูฝนของประเทศไทยปีนี้ คาดว่าจะเริ่มประมาณกลางเดือน พฤษภาคม 2565 ซึ่งใกล้เคียงปกติและจะสิ้นสุดประมาณกลางเดือนตุลาคม 2565 โดยมีปริมาณฝนรวมของทั้งประเทศในช่วงฤดูฝนปีนี้จะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 3 แต่จะน้อยกว่าปีที่แล้ว โดยในช่วงครึ่งแรกของฤดูฝน (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ปริมาณฝนรวมประเทศไทยตอนบนจะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 แต่บริเวณภาคใต้ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 5 ส่วนช่วงครึ่งหลังฤดูฝน (สิงหาคม – ตุลาคม) ปริมาณฝนรวมจะมากกว่าค่าปกติประมาณร้อยละ 3 อนึ่งช่วงตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมจะเกิดฝนทิ้งช่วงส่งผลให้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย อาจขาดแคลนน้ำ ส่วนช่วงเดือนสิงหาคมและกันยายนเป็นช่วงที่ฝนตกชุกหนาแน่นที่สุด และมีโอกาสสูงที่จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนที่ผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ซึ่งส่งผลให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่และก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน และดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยกับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงจัดทำบทความประชาสัมพันธ์เตือนให้เกษตรกรประมงปฏิบัติ เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น ดังนี้
เฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำ
โรคสัตว์น้ำที่พบบ่อยได้ในฤดูฝน
ซึ่งในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงกะทันหัน เช่น อุณหภูมิ ออกซิเจน ความเป็นกรด – เบส ความขุ่น เป็นต้น ส่งผลให้สัตว์น้ำที่เกษตรกรเลี้ยงไว้ทั้งในบ่อดินและในกระชังปรับตัวไม่ทัน เกิดความเครียด อ่อนแอ ยอมรับการเกิดโรคได้ง่าย หรือตายอย่างฉับพลันได้ โรคที่มักเกิดในช่วงฤดูฝนมีหลายชนิด ได้แก่
โรคที่เกิดในปลา
สาเหตุ เกิดจากปรสิต ได้แก่ เห็บระฆัง ปลิงใส เห็บปลา หมัดปลา
อาการ ซึม ว่ายน้ำทุรนทุราย ลอยตัวที่ผิวน้ำ กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ กินอาหารน้อยลง ผอม ขับเมือกออกมามาก มีแผลเลือดออกที่ลำตัว
การรักษา การกำจัดปรสิตในปลาโดยใช้ฟอร์มาลีน 25 - 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ1 ตัน แช่ตลอด เปลี่ยนถ่ายน้ำและทำซ้ำ 2 - 3 ครั้ง หรือด่างทับทิม 1 - 2 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน
สาเหตุ เกิดจากแบคทีเรียกลุ่ม Aeromonas, Vibrio, Edwardeilla, Flavobacterium เป็นต้น
อาการ ไม่กินอาหาร ซึม มีแผลที่ลำตัว ตกเลือดที่ลำตัวและครีบ ตัวด่างขาวที่ลำตัว สีซีดหรือเข้มผิดปกติ ทยอยตาย ถ้าปลาขนาดเล็กอาจมีอัตรายการตายสูง
การรักษา ควรนำปลามาตรวจวินิจฉัยโรคเพื่อตรวจสอบชนิดของแบคทีเรีย และผลการทดสอบ ความไวต่อยาต้านจุลชีพที่จะให้เหมาะสมกับชนิดของแบคทีเรีย ก่อนนำยาที่มีทะเบียนไปใช้รักษา
สาเหตุ เกิดจากไวรัสชื่อ Tilapia Lake virus (TiLV)
อาการ สีตัวเข้มหรือซีดผิดปกติ มีแผลที่ลำตัว อัตราการตายสูง
การรักษา โรคไวรัสในปลายังไม่มีทางรักษา
สาเหตุ เกิดจากคุณภาพน้ำเกิดการเปลี่ยนอย่างกะทันหัน เช่น อุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็ว ออกซิเจนต่ำ ความเป็นกรด – เบลต่ำ เกิดจากฝนตกชะล้างความเป็นกรดจากดินลงสู่น้ำ ความขุ่นในน้ำมากขึ้นหรือตะกอนแขวนลอยในน้ำสูง
อาการ ปลาจะลอยหัว เปิด-ปิดกระพุ้งแก้มเร็ว ภาวะออกซิเจนหรือตะกอนในน้ำทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนของเหงือกลดลง อาจทำให้ปลาตายอย่างกะทันหันจำนวนมาก
การรักษา ไม่มมีทางรักษาแต่สามารถเฝ้าระวังและป้องกันความเสียหายได้
โรคที่เกิดในกุ้ง
ในฤดูฝนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมักจะเจอปัญหาเรื่องความเค็มและอุณหภูมิของน้ำที่ค่อนข้างจะแปรปวนแทบทุกพื้นที่ อาจทำให้เกิดโรคในกุ้ง เช่น ตัวแดงดวงขาว ทอร่า และโรคอื่นๆ ทำความเสียหายให้กับเกษตรกรอย่างมาก ที่ไม่รุนแรงอาจพบปัญหากุ้งโตค่อนข้างช้า บางท้องที่มีปัญหากุ้งน็อค กุ้งเหงือกดำ หรือกล้ามเนื้อขุ่น ปัญหามักเกิดกับผู้เลี้ยงกุ้ง ได้แก่
วิธีป้องกันและเฝ้าระวังโรคสัตว์น้ำ
อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมต่างๆ เช่น การกินอาหาร การว่ายน้ำ ลักษณะอาการภายนอก เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพของสัตว์น้ำที่เลี้ยงอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติให้หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้สัตว์น้ำอ่อนแอ ป่วยและตาย และให้รีบแก้ไขตามสาเหตุ หากไม่ทราบหรือไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ด้วยตนเอง ให้รีบปรึกษาผู้รู้ ผู้เชียวชาญ และมีประสบการณ์ด้านโรค และการจัดการด้านสุขภาพสัตว์น้ำ
อนึ่ง หากเกษตรกรประมงมีปัญหาในการปฏิบัติตามคำแนะนำ ขอให้เข้ารับการชี้แจงเพิ่มเติมจากสำนักงานประมงจังหวัดพิจิตร โทร 056-611126 และสำนักงานประมงอำเภอทุกแห่ง
ด้วยความปรารถนาดีจาก
สำนักงานประมงจังหวัดพิจิตร