ประกาศจังหวัดแพร่
เรื่อง นโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.)
ได้แจ้งผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity &
Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๔ ของจังหวัดแพร่
มีคะแนนเท่ากับ ๘๘.๘๔, ๘๙.๘๕ และ ๙๙.๑๕ คะแนน ตามลำดับ อยู่ในระดับ A สองปีซ้อน และระดับ AA
เป็นอันดับที่ ๒ ของประเทศในประเภทจังหวัด ประกอบกับเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์
และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งรัฐบาลผลักดันให้การป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตเป็นวาระแห่งชาติ โดยมีนโยบายรัฐบาล ข้อที่ ๑๒ การป้องกันและปราบปราม
การทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม และยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปราม
การทุจริต ระยะที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๖๔) มุ่งให้ "ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต
(Zero Tolerance and Clean Thailand)" ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ของจังหวัดแพร่บรรอุตามวัตถุประสงค์ข้างต้น จึงได้กำหนดนโยบายคุณธรรมและความโปร่งใสเพื่อเป็น
มาตรฐานแนวทางและค่านิยม นำไปปฏิบัติควบคู่กับกฎระเบียบและข้อบังคับอื่น 1 โดยมุ่งมั่นที่จะนำหน่วยงาน
ให้ดำเนินงานตามภารกิจ ด้วยความโปร่งใส บริหารงานด้วยความชื่อสัตย์สุจริตมีคุณธรรมปราศจากการทุจริต
โดยมีแนวทางการปฏิบัติงนให้กับข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการประจำจังหวัดแพร่
ได้รับทราบและยึดถือในการดำเนินงาน ดังนี้
๑. บริหารงานและปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชน
ด้วยการบริการที่สะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง เสมอภาค โปร่งใส และเป็นธรรม
. ห้ามมิให้บุคลากรนำทรัพย์สินไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวหรือผู้อื่น หากมีความจำเป็นต้องนำ
ทรัพย์สินของทางราชการไปใช้ในการปฏิบัติงานนอกสถานที่ราชการ ให้จัดทำแนวทางข้อปฏิบัติในการขอยืม
ทรัพย์สินของทางราชการให้ชัดเจน
๓. ปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติให้บุคลากรในสังกัด มีความรู้ความเข้าใจ ยืดหลักคุณธรรม
จริยธรรม นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติงานและการดำเนินชีวิต
เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
และให้ข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานของทางราชการ รวมทั้งแจ้งข้อมูลข่าวสาร เบาะแสการทุจริต ร้องเรียนร้องทุกข์
ผ่านช่องทางที่หลากหลายและสอดคล้องครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
๕. การจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนการตรวจรับ ควรมีกรรมการตรวจรับเป็นบุคลากร
จากภายนอกหน่วยงานร่วมด้วยเพื่อเสริมสร้างความโปร่งใส และต้องเข้มงวดในขั้นตอนการประมูลวัสดุอุปกรณ์
ที่เสื่อมสภาพแล้ว ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของทางราขการเพื่อมิให้เกิดการเอื้อประโยชนให้กับตนเอง
และพวกพ้อง
๖. ให้บุคลากรเน้นการปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบช้อกฎหมายที่กำหนดไว้เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดี
เกี่ยวกับการบริการแก่บุคคลภายนอกหรือภาคเอกขนในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีที่ไม่มุ่งหวังให้มีหรือรับการ
ตอบแทนในอนาคต ได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่น ๆ เช่น การยกเว้นค่าบริการหรือการอำนวย
ความสะดวกเป็นกรณีพิเศษ เป็นต้น
๗. บุคลากรควรยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชนเป็นสำคัญภายใต้
จรรยาบรรณในการประพฤติปฏิบัติงานที่ดีมากกว่ามุ่งหวังเกียรติยศศักดิ์ศรีและตำแหน่งหน้าที่ตามลำดับ
การบังคับบัญชา
๘. ให้ส่วนราชการกำหนดแนวทางารประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภายใน
ทุก ๓ เดือนแรกของรอบการประเมิน เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของบุคลากรก่อนรอบการประเมินจริง
(รอบ ๖ เดือนและ๑๒ เดือน)
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๓0 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๔