คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) คืออะไร ???

 กลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล


คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) คืออะไร ??? 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

HOT คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) คืออะไร ???..คลิก

คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) เป็นองค์การจัดการประมงระดับภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ธรรมนูญขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรปลาทูน่า และชนิดพันธุ์คล้ายปลาทูน่า (Tuna-like species) ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจำนวน ๑๖ ชนิด ที่จับได้จากเครื่องมือทำการประมงจำนวน ๖ ประเภท ได้แก่ เบ็ดราวทูน่า อวนล้อมจับ อวนติดตา เบ็ดตวัด เบ็ดมือ และเบ็ดลาก ขอบเขตของ IOTC จะครอบคลุมพื้นที่มหาสมุทรอินเดียทั้งหมด ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ในทะเลอาณาเขต หรือในน่านน้ำภายในของรัฐ หรือในน่านน้ำหมู่เกาะของรัฐหมู่เกาะ อีกทั้ง IOTC ยังมีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทูน่า

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ ทำให้

ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำกิจกรรมประมงในเขตพื้นที่ IOTC บริหารจัดการ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบันไม่มีเรือประมงสัญชาติไทยเข้าไปทำการประมงแต่มีเรือที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีธงเป็นสัญชาติไทย ทั้งหมด ๖ ลำ ได้แก่

๑. เรือศิริชัย รีเฟอร์

๒. เรือซีเน็ตเวิร์ค รีเฟอร์

๓. เรือลีลาวดี รีเฟอร์

๔. เรือภัสสร รีเฟอร์

๕. เรืออาเซียน มารีน รีเฟอร์ ๑

๖. เรืออาเซียน มารีน รีเฟอร์ ๒

นอกจากนั้น มีเรือสำรวจไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมประมงในพื้นที่ IOTC เพื่อสำรวจวิจัยประมงทะเลสนับสนุน และร่วมในการสำรวจวิจัยทางด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมงทะเล จำนวน ๓ ลำ ได้แก่

๑. เรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ (กรมประมง)

๒. เรือสำรวจประมงมหิดล (กรมประมง)

๓. เรือสำรวจซีฟเดค (SEAFDEC)

ที่มา: https://iotc.org/

www4.fisheries.go.th/file_area/202002240831071_file.pdf

http://www.oic.go.th/.../GENERAL/DATA0000/00000509.PDF

เรียบเรียง: สุภัตตรา ไชยภักดี และพุทธิดา เชื้อทอง

คณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Tuna Commission: IOTC) เป็นองค์การจัดการประมงระดับภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ธรรมนูญขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) มีหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรปลาทูน่า และชนิดพันธุ์คล้ายปลาทูน่า (Tuna-like species) ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียจำนวน ๑๖ ชนิด ที่จับได้จากเครื่องมือทำการประมงจำนวน ๖ ประเภท ได้แก่ เบ็ดราวทูน่า อวนล้อมจับ อวนติดตา เบ็ดตวัด เบ็ดมือ และเบ็ดลาก ขอบเขตของ IOTC จะครอบคลุมพื้นที่มหาสมุทรอินเดียทั้งหมด ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ในทะเลอาณาเขต หรือในน่านน้ำภายในของรัฐ หรือในน่านน้ำหมู่เกาะของรัฐหมู่เกาะ อีกทั้ง IOTC ยังมีหน้าที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรทูน่า

ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกของคณะกรรมาธิการปลาทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดียตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๐ ทำให้

ประเทศไทยมีสิทธิเข้าไปทำกิจกรรมประมงในเขตพื้นที่ IOTC บริหารจัดการ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ จนถึงปัจจุบันไม่มีเรือประมงสัญชาติไทยเข้าไปทำการประมงแต่มีเรือที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สำหรับการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีธงเป็นสัญชาติไทย ทั้งหมด ๖ ลำ ได้แก่

๑. เรือศิริชัย รีเฟอร์

๒. เรือซีเน็ตเวิร์ค รีเฟอร์

๓. เรือลีลาวดี รีเฟอร์

๔. เรือภัสสร รีเฟอร์

๕. เรืออาเซียน มารีน รีเฟอร์ ๑

๖. เรืออาเซียน มารีน รีเฟอร์ ๒

นอกจากนั้น มีเรือสำรวจไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำกิจกรรมประมงในพื้นที่ IOTC เพื่อสำรวจวิจัยประมงทะเลสนับสนุน และร่วมในการสำรวจวิจัยทางด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมงทะเล จำนวน ๓ ลำ ได้แก่

๑. เรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ (กรมประมง)

๒. เรือสำรวจประมงมหิดล (กรมประมง)

๓. เรือสำรวจซีฟเดค (SEAFDEC)

ที่มา: https://iotc.org/

www4.fisheries.go.th/file_area/202002240831071_file.pdf

http://www.oic.go.th/.../GENERAL/DATA0000/00000509.PDF

เรียบเรียง: สุภัตตรา ไชยภักดี และพุทธิดา เชื้อทอง

 Tags

  •   Hits
  • งดให้ งดรับ  No Gift Policy งดให้ งดรับ No Gift Policy  จำนวนผู้อ่าน 114  กิจกรรม 5 ส. วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568 กิจกรรม 5 ส. วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568  จำนวนผู้อ่าน 104 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 3/2568 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 3/2568  จำนวนผู้อ่าน 96 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 2/2568  การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 2/2568   จำนวนผู้อ่าน 83 การรับมอบใบประกาศนียบัตรพนักงานราชการดีเด่นกรมประมงประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับชมเชย การรับมอบใบประกาศนียบัตรพนักงานราชการดีเด่นกรมประมงประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับชมเชย  จำนวนผู้อ่าน 40 การประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2568 การประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 31 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 5/2568 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 5/2568  จำนวนผู้อ่าน 27 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 4/2568 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 4/2568  จำนวนผู้อ่าน 22 การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ Fisheries acoustics บนเรือสำรวจ Dr. Fridtjof Nansen การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ Fisheries acoustics บนเรือสำรวจ Dr. Fridtjof Nans... จำนวนผู้อ่าน 15 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 6/2568  การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 6/2568   จำนวนผู้อ่าน 9 งดให้ งดรับ  No gift policy งดให้ งดรับ No gift policy  จำนวนผู้อ่าน 5 การประชุมทางวิชาการกองทัพเรือ ครั้งที่ 13 การประชุมทางวิชาการกองทัพเรือ ครั้งที่ 13  จำนวนผู้อ่าน 4


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล

    รายละเอียด ถนนศรีสมุทร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270  email  deepsea.dof@gmail.com  โทรศัพท์ 0 2395 0222  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6