ประวัติของกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล

 กลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล


ประวัติของกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล 


ส่ง email แชร์ X ส่ง Line แชร์ Facebook
ฟังเสียงบรรยาย
ฟังเสียงบรรยาย

ประวัติของกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล

ประวัติของกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล

 

  • จุดเริ่มต้นการพัฒนาการประมงทะเลของไทย เริ่มขึ้นในปี 2493 มีการตั้ง สถานีประมงทะเลแห่งแรกของกรมประมง ขึ้นที่บ้านเพ จ.ระยอง ในปีนั้นเองมีการทดลอง ใช้เครื่องมือแบบใหม่ๆ เช่น อวนโป๊ะเชือก อวนลอยไนลอนมีการ ปรับปรุงเรือทำการประมง โดยติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซล
  • ในปี 2494 มีผู้นำเครื่องมืออวนลากหน้าดินแบบใช้เรือสองลำ (Two Boat Trawler) เข้ามาทดลองจับสัตว์น้ำหน้าดิน ปี 2496 มีการนำเครื่องมืออวนลากหน้าดิน แบบแผ่นตะเฆ่ (Otter Board Trawler) เข้ามาทำการประมงในอ่าวไทย แต่ในขณะนั้น เครื่องมืออวนตังเก กำลังได้รับความนิยมสูงมาก อีกทั้งคนไทยยังไม่คุ้นกับการบริโภค ปลาหน้าดิน สัตว์น้ำที่จับได้ จึงมีราคาถูกมาก การใช้เครื่องมืออวนลากหน้าดินทั้งสองแบบ จึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

  • ในปี 2504 ด้วยความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาลเยอรมัน ได้มีการนำเครื่องมืออวนลากหน้าดินแบบแผ่นตะเฆ่ (Otter Board Trawler) เข้ามาทำการประมงในอ่าวไทยอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เนื่องจากอาหารสัตว์น้ำทะเลเริ่มขาดแคลนประชาชนจึงมีความสนใจในปลาหน้าดินมากขึ้นประกอบกับกรมประมงได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ ปลายปี 2505 กรมประมงได้จัดตั้งหน่วยสำรวจแหล่งประมง (Exploratory Fishing Unit) ในสังกัดกองสำรวจและค้นคว้าขึ้น โดยให้มีหน้าที่และภารกิจที่สำคัญ คือ ทำการบุกเบิกและสำรวจ ค้นหาแหล่งทำการประมงใหม่ๆ ทั้งในอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดีย และกรมประมงได้ต่อเรือสำรวจประมง 1 (เรือกิตติขจร) จากประเทศญี่ปุ่น ด้วยเงินงบประมาณแผ่นดินราคาประมาณ 7,000,000 บาท พร้อมเครื่องมือและอุปกรณ์การสำรวจ นับเป็นเรือสำรวจประมงทะเลลำแรกของไทย เพื่อทำการสำรวจหาแหล่งประมงบริเวณห่างฝั่งไกลๆ ในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งปลาหน้าดินซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากชาวประมงไทยเป็นอันมากผลปรากฏว่า จำนวนเรือประมงอวนลากหน้าดินได้เพิ่มปริมาณขึ้น จาก 99 ลำ ในปี 2503 เป็น 2,360 ลำ ในปี 2507
  • ในปี 2507 กรมประมงได้ต่อเรือสำรวจประมง 2 (เรือธนะรัชต์) เพิ่มขึ้นอีก 1 ลำ ในราคาประมาณ 15 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นเรือสำรวจประมงทะเลที่ทันสมัยที่สุดในย่านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ให้มีหน้าที่ในการสำรวจหาแหล่งทรัพยากรใหม่ๆ ทั้งในน่านน้ำไทยและน่านน้ำสากลที่ห่างไกลจากประเทศไทย

  

  • ในเดือนเมษายน 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมประมง จัดซื้อเรือสำรวจประมง 3 ในวงเงิน ประมาณ 3,600 ล้านเยนในการนี้เพื่อเป็นศิริมงคลแก่เรือสำรวจ และเป็นมิ่งขวัญแก่กรมประมง จึงขอพระราชทานพระอนุญาตอัญเชิญพระนาม “จุฬาภรณ์” เป็นชื่อเรือสำรวจประมง 3 ของกรมประมง และทรงพระราชทานพระอนุญาต ตามหนังสือของสำนักราชเลขาธิการที่ รล. 0007/4888 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2529 ซึ่งเรือสำรวจประมงจุฬาภรณ์ เป็นเรือที่ติดตั้งเครื่องมือประมงหลายหลาย เพื่อใช้ในการสำรวจและวิจัยทรัพยากรประมงทะเลลึก และมีประสิทธิภาพในการเป็นเรือฝึกอบรมการทำการประมงทะเลลึกด้วย 

เรื่อสำรวจประมงจุฬาภรณ์

  • จากการพัฒนาอุตสาหกรรมปลาทูน่าในประเทศไทยอย่าง ต่อเนื่องทำให้ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง อันดับหนึ่งของโลกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาดังนั้น กรมประมงจึงได้ทำการสำรวจ ศึกษา ค้นคว้าและวิจัยแหล่งทรัพยากร ปลาทูน่าเพื่อหาแนวทางในการลดการสั่งนำเข้าวัตถุดิบ ดังนั้น รัฐบาลจึงได้จัดสรรงบประมาณปี พ.ศ. 2535 จำนวน 410 ล้านบาท ให้กับกรมประมงเพื่อทำการต่อเรือสำรวจวิจัยปลาทูน่าโดยได้ลงนามในสัญญาจ้างบริษัทต่อเรือ ฮายาชิกาเน  ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 30 มีนาคม  2537 โดยใช้เวลาในการต่อเรือทั้งสิ้น 276 วัน โดยเรือลำนี้เป็นเรืออวนล้อมทูน่าที่ทันสมัยของโลกอีกลำหนึ่งซึ่งกรมประมงจะใช้ในการสำรวจวิจัยแหล่งทำการประมงปลาทูน่าในบริเวณทะเลลึกทั้งจะใช้เป็นเรือต้นแบบเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ชาวประมงไทยหันมาทำการประมงปลาทูน่า และเป็นเจ้าของกองเรือประมงปลาทูน่าที่ทันสมัยกันมากขึ้น นอกเหนือจากภารกิจดังกล่าวแล้วเรือลำนี้ยังจะใช้ในภารกิจพิเศษ ดังเช่น การฝึกอบรมนิสิต นักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล การสำรวจร่วม ทั้งในน่านน้ำไทยและน่านน้ำต่างประเทศ และเพื่อความเป็นศิริมงคลกรมประมงจึงขอพระราชทานพระนาม "มหิดล" เป็นชื่อเรือสำรวจวิจัยประมงปลาทูน่าลำนี้ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม พระราชทานบรมราชานุญาตให้เชิญพระนาม "มหิดล" เป็นชื่อเรือเพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการของกรมประมง

  • กรมประมงได้เล็งเห็นความสำคัญของการทำประมงนอกน่านน้ำตลอดมา ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ที่ผ่านมากลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ได้พัฒนาทั้งการศึกษาวิจัยและชื่อเรียกขาน แม้ชื่อที่เรียกกันติดปากมาตลอดคือ กองประมงนอกน่านน้ำหรือสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเลลึก จนมาเป็นกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล โดยลำดับการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ดังนี้

              - ปี 2505 หน่วยสำรวจแหล่งประมง สังกัดกองสำรวจและค้นคว้า

              - ปี 2518 กองสำรวจแหล่งประมง

              - ปี 2532 กองประมงนอกน่านน้ำ

              - ปี 2537 กองประมงนอกน่านน้ำไทย

              - ปี 2545 สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเลลึก สำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล

              - ปี 2559 กลุ่มสำรวจและวิจัยทรัพยากรทะเลลึก กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล

              - ปี 2563 กลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล กองวิจัยและพัฒนาประมงทะเล

 Tags

  •   Hits
  • งดให้ งดรับ  No Gift Policy งดให้ งดรับ No Gift Policy  จำนวนผู้อ่าน 114  กิจกรรม 5 ส. วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568 กิจกรรม 5 ส. วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม 2568  จำนวนผู้อ่าน 104 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 3/2568 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 3/2568  จำนวนผู้อ่าน 95 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 2/2568  การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 2/2568   จำนวนผู้อ่าน 82 การรับมอบใบประกาศนียบัตรพนักงานราชการดีเด่นกรมประมงประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับชมเชย การรับมอบใบประกาศนียบัตรพนักงานราชการดีเด่นกรมประมงประจำปี พ.ศ. 2567 ระดับชมเชย  จำนวนผู้อ่าน 40 การประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2568 การประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2568  จำนวนผู้อ่าน 31 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 5/2568 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 5/2568  จำนวนผู้อ่าน 27 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 4/2568 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 4/2568  จำนวนผู้อ่าน 22 การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ Fisheries acoustics บนเรือสำรวจ Dr. Fridtjof Nansen การอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ Fisheries acoustics บนเรือสำรวจ Dr. Fridtjof Nans... จำนวนผู้อ่าน 15 การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 6/2568  การประชุมกลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล ครั้งที่ 6/2568   จำนวนผู้อ่าน 9 งดให้ งดรับ  No gift policy งดให้ งดรับ No gift policy  จำนวนผู้อ่าน 5 การประชุมทางวิชาการกองทัพเรือ ครั้งที่ 13 การประชุมทางวิชาการกองทัพเรือ ครั้งที่ 13  จำนวนผู้อ่าน 4


    สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2568 กลุ่มสำรวจและประเมินแหล่งประมงทะเล

    รายละเอียด ถนนศรีสมุทร ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270  email  deepsea.dof@gmail.com  โทรศัพท์ 0 2395 0222  แฟนเพจ แฟนเพจ
    CreativeCommons Valid CSS! Explanation of WCAG 2.1 Level Triple-AA Conformance SSL Labs ipv6